ประเมิน กนง.ไม่รีบลดดอกเบี้ย แต่จะเก็บกระสุนไว้ใช้ครึ่งหลังปี 68 รับผลกระทบเศรษฐกิจไทย หลังสหรัฐฯเลื่อนขึ้นภาษีไทย 90 วัน จับผลเจรจาระหว่างไทย-สหรัฐฯ
ประธานทีดีอาร์ไอ เสนอนโยบายแก้ปัญหาการค้าไทยกับสหรัฐฯระยะยาว แนะเลิกระบบโควตานำเข้าข้าวโพด-ถั่วเหลืองแบบยืดหยุ่น เข้มงวดคัดกรองบริษัทต่างชาติสวมสิทธิสินค้าไทยหวังเลี่ยงภาษีสหรัฐฯ รวมถึงลดอุปสรรคการค้าและการลงทุนตามรายงานของสหรัฐฯ
ธปท.คาดนโยบายภาษีทรัมป์ เปลี่ยนการค้าโลกครั้งใหญ่ ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้โตต่ำกว่า 2.5% แต่อาจไม่รุนแรงเท่าวิกฤตโควิด-19 โดยกระทบหนักธุรกิจกลุ่มส่งออกไปสหรัฐฯ แนะไทยเร่งปรับตัวควบคู่กับการเจรจา พร้อมเสนอมาตรการรับมือระยะสั้น-ระยะยาว
ประธานาธิบดีทรัมป์ ประกาศเลื่อนภาษีตอบโต้ เปิดโต๊ะเจรา 90 วัน SCB EIC ประเมินลดผลกระทบไทยแค่ระยะสั้น แต่ไม่ช่วยรอดพ้นวิกฤตจากระบบการค้าโลกยุคใหม่ที่กำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความปั่นป่วน คาดกระทบส่งออกไทย 8.1 แสนล้านบาท หากถูกตั้งภาษี 36%
นโยบายภาษีทรัมป์ (Trump tariffs) ที่ประกาศเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา กลายมาเป็นความท้าทายใหม่ของเศรษฐกิจไทย ที่ผลกระทบอาจแผ่เป็นวงกว้างและลากยาว และอาจทำให้พัฒนาการของเศรษฐกิจไทยถดถอย บทความนี้พาไปดูว่าทำไมทุกภาคส่วนถึงต้องจับตานโยบายภาษีทรัมป์เป็นพิเศษ
เงินบาทไทยเคลื่อนไหวแปลก ๆ แข็งค่าสวนทางปัจจัยเศรษฐกิจ และต่างไปจากในอดีต แข็งค่ามากสุดในภูมิภาค สวนทางปัจจัยพื้นฐานอย่างมาก แม้ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง ดอกเบี้ยสหรัฐฯขยับขึ้นและเงินไหลออก จับตาเงินไหลเข้าตรวจสอบไม่ได้
ยังไม่มีความชัดเจนว่าสงครามการค้าที่รุนแรงสุดในประวัติศาสตร์ครั้งนี้จะไปจบลงที่ตรงไหน หลังสหรัฐฯและจีนขึ้นภาษีตอบโต้กันไม่หยุด นักเศรษฐศาสตร์เชื่อเจ็บทั้งคู่ แนะไทยเตรียมรับมือสินค้าจากจีนทะลักเข้าประเทศ
สงครามการค้า "รอบใหม่" เริ่มแล้ว หลังสหรัฐฯประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากทั่วโลก แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ยังมีความไม่แน่นอนสูง มีความเป็นไปได้อาจจะประกาศเพื่อหวังต่อรองการค้า หรือ อาจเพิ่มระดับความเข้มข้นมากขึ้น นักเศรษฐศาสตร์แนะไทยเร่งเจรจา เป็นทางออกทางเดียวที่มี
เศรษฐกิจโลกและไทยยังไม่แน่นอนสูง หลังสหรัฐประกาศขึ้นภาษีครั้งประวัติศาสตร์ จุดพลุ "สงครามการค้ารอบใหม่" ภาคเอกชนจี้รัฐบาลเร่งเจรจาด่วน ประเมินผลกระทบ 8-9 แสนล้านบาท ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกร คาดกระทบจีดีพี 1% ปี 68 อาจขยาตัวแค่ 1.4% แต่ขึ้นกับผลการเจราจา
ไทยอาจเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกสหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า 25% ตามนโยบายทรัมป์ 2.0 นักวิเคราะห์ประเมินจะกระทบการส่งออกไทยอย่างหนัก และฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศในปีนี้
นักท่องเที่ยวต่างชาติ ก.พ. ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน จากนักท่องเที่ยวจีนลดลง กังวลความปลอดภัยในไทยและเศรษฐกิจภายในซบเซา ขณะที่แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ฉุดความเชื่อมั่น นักท่องเที่ยวต่างชาติกังวล แห่ยกเลิกตั๋วเครื่องบินและที่พัก
สงครามการค้าเริ่มขึ้นแล้ว เมื่อสหรัฐประกาศขึ้นภาษีแคนาดา-เม็กซิโก-จีน พร้อมเตรียมขยับขึ้นกับหลายประเทศเดือนเม.ย.นี้ ขณะที่จีนตอบโต้ทันที โดยนักวิเคราะห์คาดว่าจะส่งผลกระทบมากกว่าครั้งก่อนและเป็นสงครามการค้าครั้งประวัติศาสตร์
การเมืองไทยในยุคหลัง ๆ มักจะมีการอ้างเหตุผลแปลก ๆ หลายเรื่อง เมื่อต้องการจะดำเนินนโยบายอะไรสักอย่าง โดยเหตุผลที่มักจะอ้างกันเป็นเหมือนยาสามัญประจำบ้าน คือ มาตรการ หรือนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ แต่เมื่อออกนโยบายมาแล้วก็แทบจะไม่มีการประเมินผลเลยว่ากระตุ้นเศรษฐกิจตามเป้าหมายหรือไม่
สงครามการค้ารอบแรก หลังสหรัฐประกาศมาตรการภาษีไปหลายประเทศ พร้อมเปิดให้มีการเจรจา กนง.ประเมินยังมีความเสี่ยงต่ำจากผลกระทบจากนโยบายทรัมป์ 2.0 แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง นักวิเคราะห์ประเมินไทยกับอินเดียเสี่ยงสูงเจอมาตรการภาษี
สำนักวิจัยแบงก์คาดว่าในการประชุมกนง.ครั้งหน้า 30 เม.ย. จะคงดอกเบี้ย แต่มีโอกาสลดดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจไทยเผชิญกับแรงกดดันจากสงครามการค้า ยังมีความไม่นอนสูง
เดือนแรกของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มเดินหน้านโยบายที่ประกาศไว้ โดยเฉพาะการขึ้นภาษีกับประเทศที่สหรัฐฯเห็นว่าเอาเปรียบตนเอง โดยเฉพาะประเทศยักษ์ในเอเซียอย่างจีน ที่สหรัฐฯประกาศขึ้นภาษี 10% รวมทั้งมีการปรับขึ้นภาษีเหล็กและอะลูมีเนียม ซึ่งจากมาตรการทางภาษีดังกล่าวกระทบต่อไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ความกังวลสงครามการค้าจากนโยบายทรัมป์ 2.0 จะลดลง หลังจากสหรัฐฯประกาศขึ้นภาษีเม็กซิโก-แคนนาดา แต่ขึ้นภาษีจีน 10% แต่การเตรียมการของสหรัฐฯชี้ให้เห็นว่าความไม่แน่นอนการค้าทั่วโลกยังสูง แม้ว่าไทยจะได้ประโยชน์ในระยะสั้น
คนไทยกระทบหนัก ทั้งผู้ประกอบการไทยและผู้บริโภค เมื่อสินค้าจีนราคาถูกทะลัก เจ้าพ่ออีคอมเมิร์ซไทย ระบุต้นเหตุจากภาครัฐตามไม่ทัน ปล่อยปะละเลย ควรยกระดับบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวด
แม้ว่ารัฐบาลยังรอดูความชัดเจนของนโยบายทรัมป์ 2.0 แต่หากติดตามใกล้ชิด ไทยอาจได้รับผลกระทบมากกว่าที่คิด เพราะไทยติดอันดับสองของอาเซียนที่สหรัฐฯ เพ่งเล็งภายใต้นโยบาย Trump 2.0 ซึ่งอาจถูกกดดันให้เปิดตลาดนำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่มเติมแลกกับการผ่อนคลายเงื่อนไขกีดกันทางการค้ารอบใหม่
นโยบายขึ้นภาษีสินค้าของทรัมป์ กำลังจะสร้างสงครามการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯกับจีน และทั่วโลก แบงก์ชาติมองจะส่งผลกระทบเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยในหลายด้าน เนื่องจากไทยมีความเชื่อมโยงกับจีนอยู่มาก
ภาคส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย จะเจอความเสี่ยงอย่างหนักในปี 68 หลังสหรัฐฯเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าเปิดสงความการค้ารอบใหม่
ไทยตอบรับคำเชิญเข้าเป็นประเทศหุ้นส่วนของกลุ่ม BRICS ตามมติของที่ประชุมผู้นำ BRIC เมื่อ 23 ต.ค. 67 ปูทางสู่การเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบ แม้จะมีความเสี่ยงหลังจากว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ระบุว่าจะออกมาตรการทางภาษีกลุ่ม BRICS
หลายฝ่ายคาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบหนักจากนโยบายขึ้นภาษีของทรัมป์ 2.0 ทั้งการส่งออกและการแข่งขัน SCB EIC แนะรัฐบาลเปิดโต๊ะเจรจากับสหรัฐฯยื่นข้อเสนอทางการค้าเป็นการแลกเปลี่ยน พร้อมกับหาวิธีดึงดูดนักลงทุนเข้าประเทศให้มากขึ้น
กสิกรไทย คาดกำแพงภาษีสหรัฐฯกระทบไทยหนักทั้งทางตรงและทางอ้อม ฉุด GDP 0.6% ในปี 68 ชี้ธุรกิจ SMEs เสี่ยงสูง อาจแย่ลงเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน จากการแข่งขันกับสินค้าจีนทั้งในประเทศและนอกประเทศ
จับตา "Trump Effect" หลังทรัมป์สาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง 20 ม.ค. 68 ทั้งนโยบายการค้าแบบกลับด้าน จากสงครามการค้ารอบใหม่ และนโยบายความมั่นคงท่ามกลางสถานการณ์สงครามและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลก
สภาพัฒน์ประเมิน 4 แนวทางที่ 'ทรัมป์' ประธานนาธิบดีคนใหม่สหรัฐฯ ใช้เป็นช่องทางขึ้นภาษีสินค้าจีน คาดเริ่มมีผลใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เผยในอดีตสงครามการค้าหนุนสหรัฐฯนำเข้าสินค้าไทยมากขึ้น แต่ไทยก็นำเข้าสินค้าจีนมากขึ้นเช่นกัน
ผลกระทบจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ มีการวิเคราะห์ในหลายด้าน แต่ล่าสุด EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ประเมินผลกระทบทั้งเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอย่างรอบด้าน ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวกว่าที่ประเมินไว้ หากสหรัฐฯเปิดสงครามการค้าอย่างดุเดือด ซึ่งคนไทยเคยเจอมาแล้วในสงครามการค้าครั้งก่อน
ไทยต้องเผชิญกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ขึ้นกับความรุนแรงของการกีดกันการค้าหลังเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังขยายตัวภายใต้ความไม่แน่นอนด้านนโยบาย แต่ทั่วโลกจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้น 5 พ.ย. 67 เป็นตัวแปรที่กำหนดทิศทางนโยบายของสหรัฐฯ ในอีก 4 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงเศรษฐกิจโลก
จับตาบทบาทกลุ่ม BRICS หลังปฏิญญาคาซาน (Kazan Declaration) ที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก รวม 22 ประเทศ มีประชากรเกินครึ่งของประชากรโลก ขนาดเศรษฐกิจใหญ่ไล่จี้กลุ่ม G7
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯกำลังถูกจับตา เพราะนโยบายทั้งพรรคพับลิกันและพรรคเดโมแครตมีแนวโน้มกีดกันการค้ามากขึ้น ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ แต่นโยบาย 'ทรัมป์' จะมีระดับความแรงมากกว่าคู่แข่ง โดยเฉพาะการขึ้นภาษีสินค้าจีน 60% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนของไทยอย่างมีนัยสำคัญ
เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 5 พ.ย.นี้ จะกระทบอาเซียนและไทยอย่างไร เมื่อนโยบายของทรัมป์อาจดันให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ด้านนโยบายของแฮร์ริสกลับเน้นเป้าหมายชัดเจนกว่า แต่ไม่ว่าใครจะชนะ ก็ต้องเผชิญกับปัญหาหนี้สินเรื้อรังของสหรัฐฯ
การเลือกตั้งสหรัฐฯที่จะกำลังจะเกิดขึ้นในเดือน พ.ย.นี้ จะเป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจการเมืองโลกอีกครั้ง เมื่อ "โดนัลด์ ทรัมป์" กลับมาชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เพราะหากเขาชนะเลือกตั้งก็เชื่อว่านโยบายสหรัฐฯจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในหลายเรื่อง และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเมืองโลก รวมถึงไทย
ปัจจัยพื้นฐานในประเทศที่เปราะบางกว่าในอดีต เตรียมรับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนสูง ทั้งการเมืองในประเทศ เศรษฐกิจโลกและความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ ประเมินแนวโน้มค่าเงินบาทถึงสิ้นปี 2567 ผันผวนมากขึ้น หลังครึ่งปีแรกอ่อนค่าสุดในเอเชีย
สหรัฐ-จีน เปิดสงครามการค้ารอบใหม่ ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกยังรุนแรง คาดหากสหรัฐลดการนำเข้าจากจีน อาเซียนจะได้ประโยชน์ แต่ไทยได้ประโยชน์น้อยสุดในอาเซียน