ThaiPBS Logo

เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า

อายุ 0-3 ปี เป็นช่วงที่สำคัญในการพัฒนาการที่สำคัญของมนุษย์ แต่ปัจจุบันเด็กเล็กเกือบ 50% อยู่ในครอบครัวที่ไม่มีความพร้อม ขณะที่เกณฑ์จำแนกผู้ที่ควรได้รับสวัสดิการจากฐานรายได้ก็มีความไม่แน่นอนจากระบบฐานข้อมูล การส่งเสริมสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้าจึงเป็นแนวทางที่ควรผลักดัน

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

เริ่มต้นนำเสนอนโยบาย

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

ขั้นตอนดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศไว้

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

Policy Analysis Canvas

นโยบาย

เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า

เจ้าภาพขับเคลื่อน

คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า

รายละเอียดนโยบาย/ กิจกรรม

- เงินอุดหนุนเด็กเล็ก 600 บาท/เดือน ถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์แบบถ้วนหน้า - เงินให้คนตั้งครรภ์อายุครรภ์ตั้งแต่ 5 เดือนขึ้นไป 3,000 บาทต่อเดือน จนถึงคลอดแบบถ้วนหน้า 

เครื่องมือที่ใช้ เช่น กฎหมาย งบฯ ข้อมูล

- งบประมาณประจำปี - ฐานข้อมูลคนตั้งครรภ์ และเด็กแรกเกิด

ประชาชนได้อะไรจากนโยบายนี้

- เด็กเล็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในสังคม - ผู้หญิงตั้งครรภ์และบุตรมีสุขภาพแข็งแรง

ประชาชนเสียอะไรจากนโยบายนี้

งบประมาณที่จะนำไปทำนโยบายอื่นลดลง

ประชาชนมีส่วนร่วมในนโยบายนี้ได้อย่างไร เช่น เวทีนโยบายสาธารณะ สมัชชาสุขภาพ ประชาพิจารณ์

- จัดเวทีระดมความคิดเห็นประโยชน์ที่จะได้รับ - ร่วมจัดทำข้อเสนอสู่การปฏิบัติ

กลุ่มเป้าหมายของนโยบาย เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ

- เด็กอายุ 0-6 ปี - คนตั้งครรภ์

ที่มานโยบาย

ข้อเสนอจากคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า

ใช้เงินหรือทรัพยากรจากที่ไหน

งบประมาณรายจ่ายประจำปี

รายละเอียด

ในฐานะ ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า สุนี ไชยรส กล่าวว่า เหตุผลที่ควรส่งเสริมสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า คือ ในทุกช่วงอายุมีสวัสดิการพื้นฐานรองรับ เช่น เรียนฟรี บัตรทอง คนพิการ ผู้สูงอายุ เป็นต้น และเด็กเล็กที่เป็นกลุ่มเปราะบางก็สมควรได้รับสวัสดิการเช่นเดียวกัน เพราะในระหว่างช่วงอายุ 0-3 ปี เป็นช่วงที่สำคัญในพัฒนาการของช่วงอายุคน แต่สังคมปัจจุบันเด็กเล็กเกือบ 50% อยู่ในครอบครัวที่ไม่มีความพร้อม และเกณฑ์ในการจำแนกผู้ที่ควรได้รับสวัสดิการจากฐานรายได้ก็มีความไม่แน่นอน เนื่องจากประเทศไทยไม่มีระบบฐานข้อมูล โดยปัญหาหลักในเรื่องสวัสดิการเกิดจากการที่ต้องพิสูจน์ความจนและหาคนมารับรองรายได้จึงทำให้เกิดการตกหล่น ฉะนั้น ระบบถ้วนหน้าคือหัวใจของหลักสิทธิ

 

ทำไมต้องสนับสนุนเงินอุดหนุน

ในคณะทำงานมีการหารือกับองค์กรกว่า 450 องค์กร และผลสรุปจากวิจัยเผยว่าเส้นความยากจนของประเทศไทยอยู่ประมาณ 3,000 บาท และจากการที่ลงพื้นที่ทั่วประเทศ คนทุกกลุ่มเสนอคล้าย ๆ กันว่าในการเลี้ยงดูแลเด็กมีค่าใช้จ่ายสูงซึ่งเงินจำนวนนี้จะสามารถประคับประคองความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชน และในแง่ของการกระตุ้นเศรษฐกิจเงินที่รัฐอุดหนุนเหล่านี้สุดท้ายก็จะถูกใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพราะความจำเป็นทางด้านความเป็นอยู่มีค่าใช้จ่ายหลายทาง เงินเหล่านี้จะย้อนคืนสู่รัฐไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องกับนโยบาย เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า 

ทพญ.ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ ตัวแทนฝ่ายการเมืองจากพรรคเพื่อไทย

พรรคเพื่อไทยเห็นด้วยกับนโยบายนี้ เพราะมีความเป็นไปได้ในเชิงการจัดการงบประมาณ อีกทั้งพรรคเพื่อไทยยังมีนโยบายเสริมด้านสุขภาพ ที่จะเป็นการลดภาระด้านรายจ่ายให้กับแม่และเด็ก เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ ที่ครอบคลุมถึงการตรวจครรภ์หรือการตรวจสุขภาพ และครอบคลุมไปถึงวัคซีนเด็กแรกเกิด และการรับยาสามารถรับได้ที่ใกล้บ้าน

 

ผศ.ธร ปีติดล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจุบันประเทศไทยไม่สามารถใช้ทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการละเลยการจัดสวัสดิการให้กับเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อเด็กเกิดมาในครอบครัวที่ไม่มีความพร้อมก็ยิ่งมีความเสี่ยงของการตกออกจากระบบ เนื่องจากไม่สามารถนำใช้ศักยภาพตนเองได้อย่างเต็มที่ ส่วนในเรื่องของเศรษฐกิจอาจจะไม่ได้มีความคุ้มค่าให้เห็นเป็นเชิงตัวเลขในระยะแรกเริ่ม แต่มีความเห็นว่าจะช่วยให้ดึงศักยภาพของคนไทยได้ในระยะยาว

 

รศ.ประภาส ปิ่นตบแต่ง 

สะท้อนถึงความล่าช้าของการเกิดสวัสดิการเด็กเล็ก เพราะส่วนหนึ่งอาจเกิดจากเด็กไม่สามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ จึงไม่ได้อยู่ในความสนใจที่จะผลักดันและไม่เกิดความคุ้มค่าในการได้รับคะแนนนิยมของนักการเมือง อย่างไรก็ตาม รศ.ประภาส ได้ตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ทางนโยบาย และความคุ้มค่าทางงบประมาณ ซึ่ง สุนี ไชยรส ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับงบประมาณว่าเป็นสิ่งที่ตั้งคำถามกลับไปยังรัฐบาลที่จะจัดสรรงบฯ เหล่านี้มาจัดทำนโยบาย ซึ่งการใช้งบฯ ในส่วนนี้เป็นเพียงส่วนน้อยในงบประมาณทั้งหมด ซึ่งยืนยันว่าทำได้เพียงแค่รอผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินเรื่องซึ่งมีมติแล้วเหลือเพียงแค่เข้า ครม. แต่เพียงขอให้รีบเร่งดำเนินการเพราะเด็กโตขึ้นทุกวันไม่สามารถรอได้

 

สรุปข้อเสนอนโยบาย 

  1. ทำระบบถ้วนหน้าเพื่อลดขั้นตอนการพิสูจน์ความจน และนำข้อมูลเข้าในระบบเพื่อใช้ในการเป็นฐานข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์และใช้เป็นแนวทางในการสำรวจความต้องการและกำหนดนโยบาย
  2. เงินอุดหนุนเด็กเล็ก 600 บาทต่อเดือน ตลอดจนถึงอายุ 6 ปี บริบูรณ์แบบถ้วนหน้า
  3. สนับสนุนเงินให้คนที่ตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 5 เดือนขึ้นไปเป็นจำนวนเงิน 3,000 บาทต่อเดือน จนถึงคลอดแบบถ้วนหน้า   

 

 

ลำดับเหตุการณ์

  • ผู้ประกันตน มาตรา 33-39 รับเงินสงเคราะห์บุตรเพิ่มจากเดือนละ 800 เป็น 1,000 บาท รับได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึง 6 ปี ครั้งละไม่เกิน 3 คน

    1 ม.ค. 2568

  • รองนายกฯ กำหนดภายใน 1 ต.ค. 67 สวัสดิการเด็กเล็กจะได้รับในรูปแบบถ้วนหน้า 600 บาท พร้อมทั้งรับข้อเสนอสวัสดิการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์เดือนที่ 5-9 เป็นเงิน 3,000 บาท

    2567

  • มีมติคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติว่าต้องได้ถ้วนหน้า 600 บาทในวันที่ 1 ตุลาคม 2563 แต่ว่ายังไม่ได้นำเข้าใน ครม. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563

    2563

  • ครม. มีมติ จัดสวัสดิการ 0-1 ปี 400 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ที่มีรายได้ 36,000 บาทต่อปี ต่อมาขยายเป็น 0-3 ปี 600 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ที่มีรายได้ 36,000 บาทต่อปี

    2558

  • สวัสดิการเด็กเล็กได้รับการปรับอีกครั้ง เป็นตั้งแต่แรกเกิด - 6 ปี 600 บาท สำหรับผู้ที่มีรายได้ 100,000 บาทต่อปี

    26 มี.ค. 2562


Policy Forum

_