ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการแบ่งแยก หรือ โอนสิทธิในที่ดินของผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
การแบ่งแยกหรือโอนสิทธิ ดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายการแปลงเอกสารสิทธิส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดของรัฐบาล เพื่อให้เกษตรกรมีสภาพคล่องและเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้
เกณฑ์ทายาทที่ได้สิทธิรับมรดกที่ดิน ส.ป.ก.
ผู้รับสิทธิที่ดินจาก ส.ป.ก. เมื่อเสียชีวิต หรือศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้สิทธิดังกล่าวตกเป็นมรดกของทายาทโดยธรรมตามลำดับญาติดังนี้
- กรณีไม่มีทายาทโดยธรรม หรือมีทายาทโดยธรรม แต่ทายาทโดยธรรมทุกคนไม่ประสงค์จะรับสิทธิในที่ดิน ให้สิทธิดังกล่าวตกเป็นของ ส.ป.ก.
- กรณีมีทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียว ให้สิทธิในที่ดินตกทั้งหมดตกเป็นของทายาทโดยธรรมคนดังกล่าว
- กรณีมีทายาทโดยธรรมหลายคน ให้แบ่งสิทธิในที่ดินแก่ทายาทโดยธรรมทุกคนตามสิทธิที่พึงมีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยกเว้นทายาททุกคนจะตกลงแบ่งกันเอง
นอกจากนี้คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ให้ถือเป็นทายาทโดยธรรมด้วย
สำหรับทายาทที่ได้รับที่ดินมรดก ส.ป.ก. จะต้องแจ้งให้ ส.ป.ก.จังหวัดท้องที่ทราบ เพื่อให้มีหนังสือรับรองการโอนสิทธิในที่ดินไว้เป็นหลักฐาน โดยที่ดินมรดกที่ทายาทได้รับมานั้น จะต้องนำไปใช้ทำเกษตรกรรม และหากใช้ที่ดินโดยฝ่าฝืน ให้ ส.ป.ก.แจ้งเตือนเป็นหนังสือก่อน เพื่อดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่หากพ้นกำหนดเวลาแล้วยังไม่มีการแก้ไข ส.ป.ก.มีอำนาจที่จะสั่งให้คืนสิทธิที่ดินดังกล่าวกลับไปเป็นของ ส.ป.ก.
แบ่งแยก/โอนสิทธิที่ดินชดใช้หนี้สถาบันเกษตกร
การแบ่งแยกหรือโอนสิทธิที่ดินให้กับสถาบันเกษตรกร ผู้ได้รับสิทธิสามารถกระทำได้ เพื่อชำระหนี้ให้กับสถาบันเกษตรกรตามที่ตกลงกัน โดยจะต้องแจ้ง ส.ป.ก.จังหวัดท้องที่ทราบ เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นการชำระหนี้จริง และจะออกหนังสือรับรองการโอนสิทธิในที่ดินไว้เป็นหลักฐาน
โดยสถาบันการเงินจะต้องนำที่ดินดังกล่าวไปใช้เพื่อเกษตรกรรม จะแบ่งแยกหรือโอนให้กับบุคคลอื่นไม่ได้ ยกเว้นเจ้าของเดิมหรือทายาทของเจ้าของเดิมซื้อคืนเพื่อทำเกษตรกรรมตามที่ตกลงกัน นอกจากนี้สถาบันเกษตรกรสามารถปล่อยเช่นที่ดินดังกล่าวได้ เฉพาะทายาทเจ้าของเดิม หรือเกษตรกรรายอื่น เพื่อทำเกษตรกรรม
หากสถาบันการเงินใช้ที่ดินโดยฝ่าฝืน ให้ ส.ป.ก.แจ้งเตือนป็นหนังสือก่อน เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง แต่หากยังไม่มีการแก้ไขตามเวลาที่กำหนด ให้ ส.ป.ก.มีอำนาจสั่งคืนที่ดินดังกล่าวคืนให้กับ ส.ป.ก.
คืนที่ดินให้ ส.ป.ก. แบบรับตอบแทน
ผู้ได้รับสิทธิที่ดิน ส.ป.ก. สามารถแบ่ง หรือโอนสิทธิในที่ดินบางส่วน หรือทั้งหมดคืนให้กับ ส.ป.ก.ได้ แม้จะรับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ซึ่งจะต้องแจ้ง ส.ป.ก.จังหวัดท้องที่ทราบ พร้อมกับแนบสำเนาหนังสือแสดงสิทธิ หรือแผนที่ตั้งที่ดินโดยสังเขป
กรณีขอรับค่าตอบแทน ให้ ส.ป.ก.จ่ายเฉพาะค่าที่ดิน โดยจะคิดตามราคาประเมินที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ หากที่ดินนั้นมีภาระผูกพันเหนือที่ดิน หรือหนี้ที่เกิดกับสถาบันการเงิน ให้หักค่าภาระผูกพันและหนี้ดังกล่าวออกจากค่าที่ดิน แต่หากหนี้มีมูลค่าสูงกว่าค่าที่ดิน ให้ ส.ป.ก.รับผิดชอบแต่เฉพาะส่วนที่ไม่เกินค่าที่ดิน
สำหรับทรัพย์สินที่ติดอยู่กับที่ดิน ให้ผู้ได้รับสิทธิ ส.ป.ก. ดำเนินการรื้อถอนภายในเวลาที่เลขาธิการกำหนด หากไม่รื้อถอนหรือสละสิทธิ ให้ ส.ป.ก.มีอำนาจรื้อถอน หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นได้ และนำเงินที่ได้มาหักค่าใช้จ่ายการเก็บรักษา และการรื้อถอน ก่อนแจ้งให้ผู้ได้รับสิทธิมารับเงินดังกล่าวคืน
กรณีผู้ได้สิทธิประสงค์จะโอนคืนที่ดินให้กับ ส.ป.ก. และขอรับค่าตอบแทน แต่ที่ดินดังกล่าวมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ดินทำเกษตรกรรม ให้ผู้ได้สิทธิชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับที่ดินก่อน และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ส.ป.ก.จะไม่สามารถคิดค่าเสียหายเกินค่าตอบแทนที่คิดตามราคาประเมินที่ดินได้
เปิดบันทึก 4 ข้อตกลง แก้ข้อพิพาทที่ดิน”ส.ป.ก.-อุทยานฯ”