สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีกลไกการคุ้มครองสิทธิ การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลและผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
การช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการ (มาตรา 41) ตามข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริกำรได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทองที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการทายาท หรือผู้อุปการะ หรือหน่วยบริการที่ให้บริการ มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ให้แก่ผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหาย จากการรักษาพยาบาล เป็นมาตรการที่ดำเนินการตามบทบัญญัติของมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ให้คณะกรรมการกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่ง ของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการ ไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ให้กับผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดมิได้หรือหาผู้กระทำผิดได้ แต่ยังไม่ได้รับความเสียหาย ภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ คณะกรรมการกำหนด”
ดังนั้นตามมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กันเงินจำนวนหนึ่งไม่เกิน 1% ของเงินที่จ่ายให้กับหน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการในกรณีที่ได้รับความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด
ในช่วงแรก สปสช. กำหนดประเภทความเสียหายและอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเป็น 3 กรณี คือ
- กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 200,000 บาท
- กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการ จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 120,000 บาท
- กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 50,000 บาท
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2555 ได้มีการปรับเพิ่มจำนวนการจ่ายเงินช่วยเหลือ
- กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร เป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท
- กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการ เป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือตั้งแต่ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 240,000 บาท
- กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง เป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 100,000 บาท
ทำให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น แบ่งเป็น 3 ประเภทและมีอัตราการช่วยเหลือ ดังนี้
- ประเภทที่ 1 เสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร ช่วยเหลือตั้งแต่ 240,000-400,000 บาท
- ประเภทที่ 2 พิการหรือสูญเสียอวัยวะ ช่วยเหลือตั้งแต่ 100,000-240,000 บาท
- ประเภทที่ 3 บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง ช่วยเหลือไม่เกิน 100,000 บาท
ทั้งนี้ เงินช่วยเหลือเบื้องต้นมีเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดความขัดแย้ง และไม่พิสูจน์ถูกผิด โดยไม่ใช่ “เงินชดเชย”
ใครยื่นคำร้องได้บ้าง ผู้ที่ได้รับความเสียหาย หรือทายาท หรือผู้อุปการะ หรือหน่วยบริการที่ให้บริหาร
ระยะเวลา ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบว่าได้รับความเสียหาย
การเขียนคำร้องต้องมีสาระสำคัญ ดังนี้
- ชื่อ-นามสกุล ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย
- ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล
- ชื่อของหน่วยบริการที่ให้การรักษาพยาบาล
- วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล และวันที่ทราบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น
- สถานที่ที่สามารถติดต่อผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายได้โดยสะดวก
- ระบุภาระที่ผู้รับบริการจะต้องรับผิดชอบเศรษฐานะ
หลักฐานประกอบคำร้องของผู้ได้รับความเสียหาย ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือสูติบัตร หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมีการมอบอำนาจ) เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงรายละเอียดข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ประกอบการพิจารณา
สถานที่ยื่นคำร้อง
- หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ในจังหวัดที่เกิดเหตุ) หรือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-13
- “ศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทอง” หรือหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50(5)
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ชั้น 2 อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- สายด่วน สปสช. 1330
- ช่องทางออนไลน์
- ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6
- Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand