การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อออมยามเกษียณ หรือเรียกว่า หวยเกษียณ เป็นสลากดิจิทัลผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจำกัดสลากการซื้อต่อคนสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งจะได้รับเงินทั้งหมดในรูปแบบบำเหน็จ จากจำนวนเงินที่ซื้อสลากจะเก็บถูกเป็นเงินสะสมเฉพาะบุคคล โดยจะได้รับเงินคืนทั้งหมดเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
โครงการดังกล่าวเนื่องจากสังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย รัฐบาลต้องใช้เงินดูแลผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก และโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการออมให้ประชาชน รัฐบาลต้องการสร้างแรงจูงใจในรูปแบบเงินรางวัลทำให้รัฐสามารถลดงบประมาณในการดูแลกลุ่มเปราะบาง
โครงการหวยเกษียณ จะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อมีการแก้ไข พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 เพื่อขยายให้ครอบคลุมผู้ประกันตนมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถเป็นกลไกการออมสำหรับแรงงานนอกระบบในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้น กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จึงจะมีอำนาจไปดำเนินโครงการต่อได้
รูปแบบโครงการหวยเกษียณ
1. ออกสลากเริ่มต้นประมาณ 5 ล้านใบต่องวด (ต่อสัปดาห์) หรือ 260 ล้านใบต่อปี โดยกำหนดออกรางวัลทุกวันศุกร์ (รวม 52 งวดต่อปี) ในราคาขายใบละ 50 บาท คิดเป็นเงิน 250 ล้านบาทต่องวด หรือ 13,000 ล้านบาทต่อปี
2. กำหนดรูปแบบสลากเป็นสลากดิจิทัล (สลากขูดดิจิทัล) โดยผู้ซื้อลงทะเบียนการซื้อและซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ในลักษณะแอปพลิเคชันที่ผูกกับบัญชีธนาคาร ทั้งนี้ จำกัดการซื้อสลากต่อคนได้สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน หรือคนละไม่เกิน 60 ใบต่องวด
3. จำนวนเงินที่ซื้อสลากจะถูกเก็บเป็นเงินสะสมเฉพาะบุคคล โดยจะได้รับเงินที่ซื้อสลากคืนทั้งหมดในรูปแบบเงินบำเหน็จเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ รัฐบาลจะไม่สมทบเงินให้กับผู้ซื้อสลาก และไม่รับประกันผลตอบแทนจากการซื้อสลาก
4. เมื่อสมาชิกประเภท ข. (ใน กอช.) อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ กอช. จะจ่ายเงินบำเหน็จผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือจ่ายเงินบำเหน็จให้กับผู้รับผลประโยชน์ผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีสมาชิกประเภท ข. เสียชีวิต)
เงินรางวัลสูงสุด 1 ล้านบาท
1. เงินรางวัลกรณีถูกรางวัลจะได้รับเมื่อประกาศผลตามวันเวลาที่คณะกรรมการ กอช. กำหนด
2. กำหนดรูปแบบรางวัลต่องวด (1 สัปดาห์) รวมเงินรางวัล 780 ล้านบาทต่อปี ดังนี้
- รางวัลที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท จำนวน 5 รางวัล รวมเงินรางวัล 5 ล้านบาท
- รางวัลที่ 2 จำนวน 1,000 บาท จำนวน 10,000 รางวัล รวมเงินรางวัล 10 ล้านบาท
3. การออกรางวัลจะดำเนินการโดย กอช. ร่วมกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
4. การรับเงินรางวัล กอช. จะจ่ายเงินรางวัลให้กับผู้ถูกรางวัลผ่านบัญชีพร้อมเพย์หมายเลขบัตรประชาชนไม่เกินวันถัดไป
งบประมาณที่ใช้ในโครงการ
1. โครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ ในปีแรกใช้งบประมาณ 830 ล้านบาท ประกอบด้วย
- เงินรางวัลจำนวน 780 ล้านบาทต่อปี
- การพัฒนาระบบเทคโนโลยี แอปพลิเคชัน ระบบ Clearing และระบบงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 20 ล้านบาท
- โครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 30 ล้านบาท
2. ขอรับการสนับสนุนเงินรางวัลจากรัฐบาล งวดละ 15 ล้านบาท รวม 780 ล้านบาทต่อปี (คิดเป็นร้อยละ 6 ของเงินซื้อสลากที่สะสมเข้ากองทุนประมาณปีละ 13,000 ล้านบาท) หรือในจำนวนที่มีความเหมาะสมกับปริมาณการออกสลาก และความต้องการของสมาชิกเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายหวยเกษียณ
1. ขยายโอกาสให้ผู้ประกันตนตามพระราชบัญญติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 40 และกลุ่มแรงงานนอกระบบมีทางเลือกในการออมแบบสมัครใจเพิ่มมากขึ้น
2. กระตุ้นและเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่ระบบการออมเพื่อให้เกิดความมั่นคงทงการเงินในวัยเกษียณ
3. ลดภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบางที่อาจจะกลายเป็นคนยากจนในวัยเกษียณอายุ
4. ลดภาระทางการคลังในระยะยาวสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งสามารถลดการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
แนวทางในการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกเพื่อรองรับการเกษียณ ผ่านโครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ ดังกล่าว เป้นแนวทางเบื้องต้น ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ เห็นควรมอบหมายให้ กอช. จัดทำประมาณการความเสี่ยงของภาระทางการคลังที่จะเพิ่มขึ้นในกรณีต่างๆ เพื่อกำหนดแนวทางรองรับไว้ล่วงหน้า และให้เร่งศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทางเลือกของรูปแบบการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการออมด้วยเงินรางวัล (prize – linked savings) ทั้งจากกรณีในประเทศและต่างประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นพฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายของแรงงานนอกระบบ ผลตอบแทนที่สมาชิกจะได้รับตลอดระยะเวลาการออมของโครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ สภาวะการแข่งขันจากผลิตภัณฑ์คู่แข่ง และแนวทางการบริหารเงินลงทุนของโครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดแนวทาง ซึ่งจะทำให้โครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ สามารถสร้างรายได้เพื่อใช้เป็นต้นทุนของเงินรางวัล และครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ กอช. ได้อย่างมั่นคง รวมทั้งช่วยลดภาระทางการคลังและความเสี่ยงทางการเงินของโครงการดังกล่าวได้ด้วย
เหตุผลโครงการ
1. สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์1 (Completely Aged Society) และในปี 2576 คาดว่าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด2 (Super – Aged Society) ซึ่งแนวโน้มของผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นมีผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างมีนัยสำคัญและเป็นการเพิ่มภาระงบประมาณในการดูแลด้านหลักประกันรายได้ของผู้สูงอายุด้วย
แม้ว่าปัจจุบันระบบบำนาญและระบบสนับสนุนการออมเพื่อสร้างหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุจะครอบคลุมประชากรวัยทำงานทุกกลุ่มทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ แต่ความท้าทายหลักยังเป็นเรื่องของความไม่ยั่งยืนทางการเงินจากแนวโน้มภาวะเงินเฟ้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต และความไม่เพียงพอของรายได้ที่จะได้รับจากระบบการออมต่าง ๆ ในวัยสูงอายุ
ดังนั้น เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด โดยเฉพาะการดูแลประชาชนกลุ่มแรงงานนอกระบบ4 ไม่ให้อยู่ในภาวะยากจนในวัยชรา ลดภาวะพึ่งพิงของประชาชน และลดภาระงบประมาณของรัฐในการดูแลผู้สูงอายุ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนากลไกการออมเพื่อรองรับการเกษียณสำหรับแรงงานนอกระบบและสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มแรงงานนอกระบบมีการสะสมเงินออมได้อย่างเพียงพอและต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อใช้จ่ายในวัยสูงอายุ
ปัจจุบันสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. คาดการณ์ ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2566 และเข้าสู่สังคมสูงวัย ระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือ ปี 2576 โดยประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 28 หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด
แนวโน้มของผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นมีผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นการเพิ่มภาระงบประมาณในการดูแลด้านหลักประกันรายได้ของผู้สูงอายุด้วย แม้ว่าปัจจุบันระบบบำนาญและระบบสนับสนุนการออมเพื่อสร้างหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุจะครอบคลุมประชากรวัยทำงานทุกกลุ่มทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ แต่ความท้าทายหลักยังเป็นเรื่องของความไม่ยั่งยืนทางการเงินจากแนวโน้มภาวะเงินเฟ้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต และความไม่เพียงพอของรายได้ที่จะได้รับจากระบบการออมต่างๆ ในวัยสูงอายุ
ดังนั้น เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด โดยเฉพาะการดูแลประชาชนกลุ่มแรงงานนอกระบบไม่ให้อยู่ในภาวะยากจนในวัยชรา ลดภาวะพึ่งพิงของประชาชน และลดภาระงบประมาณของรัฐมรการดูแลผุ้สูงอายุ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนากลไกการออมเพื่อรองรับการเกษียณสำหรับแรงงานนอกระบบ และสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มแรงงานนอกระบบมีการสะสมเงินออมได้อย่างเพียงพอและต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อใช้จ่ายในวัยสูงอายุ
2. นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ กระทรวงการคลังศึกษาแนวทางส่งเสริมการออมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเพิ่มแรงจูงใจให้กลุ่มแรงงานนอกระบบที่ยังไม่มีการออมให้เกิดความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณ โดยให้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาในโอกาสแรก
ประกอบกับพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 มีบทบัญญัติที่ยังไม่ครอบคลุมการส่งเสริมการออมสำหรับแรงงานนอกระบบทั้งหมดจึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวเพื่อขยายให้ครอบคลุมผู้ประกันตนมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถเป็นกลไกการออมสำหรับแรงงานนอกระบบในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. คณะกรรมการ กอช. ในการประชุมวาระพิเศษเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 มีมติเห็นชอบแนวทางในการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก กอช. เพื่อรองรับการเกษียณแก่ประชาชน รวมทั้งสอดคล้องกับสถานการณ์ผู้สูงอายุและโครงสร้างประชากรในประเทศโดยใช้วิธีดำเนินโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ
การดำเนินการดังกล่าว กอช. จะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายได้เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับหลักการโครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ
รายละเอียดโครงการ
- ขยายโอกาสให้ผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 40 และกลุ่มแรงงานนอกระบบมีทางเลือกในการออมแบบสมัครใจเพิ่มมากขึ้น
- กระตุ้นและเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่ระบบการออมเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณ
- ลดภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบางที่อาจจะกลายเป็นคนยากจนในวัยเกษียณอายุ
- ลดภาระทางการคลังในระยะยาวสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งสามารถลดการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ผู้มีสิทธิซื้อสลาก
สมาชิก กอช. ปัจจุบัน ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และแรงงานนอกระบบที่มีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
เป้าหมายของโครงการ
การมีจำนวนสมาชิกประเภท ช. ไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ภายในระยะเวลา 3 ปี (คาดว่าจะมีสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 0.36 – 21 ล้านคนต่อปี)
รูปแบบการดำเนินโครงการ
1. ออกสลากเริ่มต้นประมาณ 5 ล้านใบต่องวด (ต่อสัปดาห์) หรือ 260 ล้านใบ ต่อปี โดยกำหนดออกรางวัลทุกวันศุกร์ (รวม 52 งวดต่อปี) ในราคาขายใบละ 50 บาท คิดเป็นเงิน 250 ล้านบาทต่องวด หรือ 13,000 ล้านบาทต่อปี
2. กำหนดรูปแบบสลากเป็นสลากดิจิทัล (สลากขูดดิจิทัล) โดยผู้ซื้อลงทะเบียนการซื้อและซื้อผ่านช่องทางอ่อนไลน์ในลักษณะแอปพลิเคชันที่ผูกกับบัญชีธนาคาร
ทั้งนี้ จำกัดการซื้อสลากต่อคนได้สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน หรือคนละไม่เกิน 60 ใบต่องวด
3. จำนวนเงินที่ซื้อสลากจะถูกเก็บเป็นเงินสะสมเฉพาะบุคคล โดยจะได้รับเงินที่ซื้อสลากคืนทั้งหมดในรูปแบบเงินบำเหน็จเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ รัฐบาลจะไม่สมทบเงินให้กับผู้ซื้อสลากและไม่รับประกันผลตอบแทนจากการซื้อสลาก
4. กอช. ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียน (ด้านการรับเงินซื้อสลากและเก็บเป็นเงินสะสมให้กับสมาชิกเป็นรายบุคคล) รวมทั้งบริหารจัดการและดูแลข้อมูลสมาชิกประเภท ข. เช่น การจ่ายเงินรางวัล การคืนเงินให้สมาชิกประเภท ข. และการจ่ายเงินให้กับผู้รับผลประโยชน์กรณีสมาชิกประเภท ข. เสียชีวิตก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
5. คณะอนุกรรมการด้านการลงทุน (แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ กอช.) ทำหน้าที่กำกับดูแลและบริหารเงินสะสมที่สมาชิกประเภท ช. ซื้อสลาก โดยจะบริหารเงินลงทุนภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง รวมทั้งมุ่งเน้นการลดความผันผวนของมูลค่าเงินลงทุน ทั้งนี้ กอช. จะหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน (Operating fee) ตามมติคณะกรรมการ กอช.
6. เมื่อสมาชิกประเภท ข. อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ กอช. จะจ่ายเงินบำเหน็จผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือจ่ายเงินบำเหน็จให้กับผู้รับผลประโยชน์ผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีสมาชิกประเภท ข. เสียชีวิต)
งบประมาณ
(1) โครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ ในปีแรกใช้งบประมาณ 830 ล้านบาท ประกอบด้วย
- เงินรางวัลจำนวน 780 ล้านบาทต่อปี
- การพัฒนาระบบเทคโนโลยี แอปพลิเคชัน ระบบ Clearing และระบบงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 20 ล้านบาท
- โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบทะเบียนสมาชิก บุคลากร ระบบงานเพิ่มเติม จำนวน 30 ล้านบาท
(2) ขอรับการสนับสนุนเงินรางวัลจากรัฐบาล งวดละ 15 ล้านบาท รวม 780 ล้านบาทต่อปี (คิดเป็นร้อยละ 6 ของเงินซื้อสลากที่สะสมเข้ากองทุนประมาณปีละ 13,000 ล้านบาท) หรือในจำนวนที่มีความเหมาะสมกับปริมาณการออกสลาก และความต้องการของสมาชิกเป้าหมาย
กอช. พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ จะช่วยให้แรงงานทั้งในและนอกระบบเข้าเป็นสมาชิกมากขึ้น และมีเงินจำนวนหนึ่งไว้ใช้ยามเกษียณอายุเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลที่สูญเปล่าเมื่อไม่ถูกรางวัล รวมทั้งสามารถช่วยลดภาระทางการคลังของรัฐบาลได้ในระยะยาวและยั่งยืน โดยเฉพาะในการดูแลด้านหลักประกันรายได้ของผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า (เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ)
การดำเนินโครงการดังกล่าวจะเป็นกลไกที่สามารถสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงานเข้าสู่ระบบการออมเงินอันเป็นการเพิ่มทางเลือกในการออมเงินเพื่อรองรับการเกษียณ และเมื่อประชาชนกลุ่มนี้เกษียณอายุหรือพ้นวัยทำงานแล้วจะมีแหล่งเงินรายได้เพิ่มเติมที่จะสามารถนำไปใช้จ่ายในการดำรงชีพได้นอกเหนือจากช่องทางการออมเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน
กอช. จะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการดำเนินโครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ ได้ เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 ในส่วนที่เกี่ยวข้องเสียก่อน อาทิ การจำแนกคำนิยาม ประเภทสมาชิก กอช. แบบปัจจุบันและแบบซื้อสลากสะสมทรัพย์ การกำหนดวัตถุประสงค์ของ กอช. ในการส่งเสริมการออมโดยการขายสลากสะสมทรัพย์เพื่อจูงใจให้มีการซื้อสลากเพื่อเป็นการสะสมเงินอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นต้น
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:
- ระเบิดเวลาประชากร: เกิดน้อย แก่มาก
- ไทยต้องขึ้นภาษี เลี่ยงวิกฤตการคลัง
- อัตราบำนาญพื้นฐานที่เหมาะสม และข้อพิจารณาทางเศรษฐกิจของประเทศ
ที่มา: มติคณะรัฐมนตรี 16 ก.ค. 2567