ThaiPBS Logo

แก้ไขรัฐธรรมนูญ

รัฐบาลแถลงนโยบายว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 โดยจะมีการจัดทำประชามติ ตามแนวทางของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้วินิจฉัยมาโดยจะยึดถือเป็นหลัก

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ครม.เห็นชอบตามที่คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ

ตัดสินใจ

อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ความเคลื่อนไหวล่าสุด 

14. ก.พ. 68 การประชุมร่วมรัฐสภาวันที่สอง เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 หลังผ่านไปชั่วโมงกว่า เมื่อมีการนับองค์ประชุม พบว่ามีสมาชิกแสดงตนเข้าร่วมเพียง 175 คน จากยอดเข้าประชุม 620 คน ซึ่งถือไม่ครบองค์ประชุม วันมูหะมัดนอร์ ประธานสภา จึงสั่งปิดการประชุมทันที

สุทิน คลังแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ยกคณะแถลงกล่าวว่า​ พรรคเพื่อไทย​ พยายามรักษาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไว้​ ให้อยู่ในระเบียบวาระได้มากที่สุด ไม่ให้ถูกตีตก จึงไม่ขอร่วมเป็นองค์ประชุม จากนี้จะพยายามนำเรื่องสู่ศาลรัฐธรรมนูญ​ให้พิจารณาตีความเรื่องประชามติให้ได้ ซึ่งหากเดินหน้าจนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไป ก็ต้องเป็นสมัยประชุมหน้าที่จะยื่นแก้ไขได้

ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย ระบุว่า พรรคเพื่อไทยจะรวบรวมรายชื่อให้ได้เกิน 40 คน เสนอญัตติใหม่ให้ประธานสภาพิจารณาภายในสัปดาห์หน้า เพื่อยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าจะต้องทำประชามติกี่ครั้ง

13 ก.พ. 68 การประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ ยุติลงในช่วงเช้า เนื่องจากสส.ของพรรคภูมิใจไทย (ภท.) และสมาชิกวุฒิสภา(สว.) กลุ่ม “สีน้ำเงิน” ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ได้ออกจากห้องประชุม โดยให้เหตุผลว่าการประชุมที่มิชอบด้วยกฎหมาย

18 ธ.ค. 67 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ลงมติไม่เห็นชอบกับร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว ด้วยคะแนน 326 ต่อ 61 งดออกเสียง 1 ไม่ลงคะแนน 1 เสียง ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา137 (3) และมาตรา138(2) กำหนดว่าร่างกฎหมายที่ถูกยับยั้งจะพิจารณาใหม่เมื่อพ้น 180 วันนับแต่ที่สภาฯไม่เห็นชอบ โดยผู้ลงคะแนน 61 เสียงที่ไม่เห็นด้วย เป็นเสียงของส.ส. พรรคภูมิใจไทยทั้งหมด

คำแถลงนโยบายระบุว่า “สิ่งที่สำคัญคือรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ข้อแรกคือ จะไม่ไปแตะหมวด 1 และหมวด 2 และพระราชอำนาจที่อยู่ในมาตราต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องหลัก และตั้งใจจะให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้จบภายใน 4 ปี ตามวาระรัฐบาล”

รัฐบาลตั้งเป้าหมายจะให้เสร็จสิ้นพร้อมมีกฎหมายลูกประกอบ เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่สามารถทำได้เลย และตั้งมั่นที่จะให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่าน เพื่อนำมาใช้ให้ได้ ซึ่งก็ต้องพยายามรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นประชาธิปไตยให้ได้มากที่สุด สามารถที่จะลดความขัดแย้ง ไม่อยากให้การสร้างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นการสร้างความขัดแย้งใหม่ให้เกิดขึ้นและไม่ให้มีข้อถกเถียงที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ และคิดว่าการทำรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย จำเป็นต้องมีวิวัฒนาการและเป็นจุดเริ่มต้นของการเลือกตั้งที่ดี

ข้อแตกต่างระหว่างสองพรรคการเมืองใหญ่ เพื่อไทย-ก้าวไกล

พรรคเพื่อไทย มีนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีเป้าหมายผลักดันให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ขจัดการสืบทอดอำนาจเผด็จการ สร้างความเป็นธรรมให้ประชาชน

  • • จัดทำ “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” โดยคงรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและผ่านขั้นตอนการออกเสียงลงประชามติโดยประชาชน
  • • “ปฏิรูประบบราชการทั้งระบบ” ให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และมีความโปร่งใส
  • • ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เพื่อความโปร่งใส คำนึงถึงหลักนิติธรรม “สร้างกระบวนการยุติธรรมที่ซื้อไม่ได้”
  • • ปรับปรุงยกเลิกกฎหมายทั้งหมดตามความจำเป็นลดกฎหมาย ลดขั้นตอน ลดการใช้ดุลยพินิจ
  • • กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับองค์กรอิสระต้องมีความเป็นอิสระ มีการคานอำนาจและมีความโปร่งใส
  • • ปฏิรูปกองทัพเป็นทหารมืออาชีพ ป้องกันการก้าวก่ายแทรกแซงทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน ให้มีความเป็นทหารอาชีพ และแก้ไขกฎหมายยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ให้เข้ารับราชการทหารโดยสมัครใจ
  • • เสนอกฎหมายป้องกันต่อต้านการรัฐประหาร
  • • กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น จัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดนำร่อง

ส่วนพรรคก้าวไกล ระบุถึงเหตุผลในการแก้ไขรัฐบาลว่ารัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 เป็นต้นตอของปัญหาการเมืองไทย เพราะมีที่มา กระบวนการ และเนื้อหา ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หากแต่ออกแบบมาเพื่อสืบทอดอำนาจคณะรัฐประหารและระบอบประยุทธ์ อีกทั้งยังถูกเขียนโดยคนไม่กี่คนที่ คสช. แต่งตั้งอันเป็นผลให้เนื้อหาของรัฐธรรมนูญ 2560 มีการขยายอำนาจของสถาบันทางการเมืองที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แต่ยึดโยงกับ คสช. และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ

นอกจากนั้นแล้วกระบวนการประชามติในปี 2559 ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานประชาธิปไตย เพราะไม่ได้เปิดให้ทั้งสองฝ่ายรณรงค์ได้อย่างเท่าเทียมกัน มีคำถามพ่วงที่กำกวมและชี้นำ และเกิดขึ้นในสภาวะที่ประชาชนถูกบีบว่าหากไม่รับร่าง คณะรัฐประหารจะอยู่ในอำนาจต่อและจะไม่มีการเลือกตั้ง

ข้อเสนอ

  • ร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยมีเนื้อหาที่ครอบคลุมอย่างน้อย 3 ด้าน
  • ปิดช่องรัฐประหาร เพื่อไม่ให้รัฐธรรมนูญถูกฉีกได้ง่าย
  • เพิ่มสิทธิของประชาชนในการต่อต้านรัฐประหาร และ กำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะรัฐประหาร
  • ห้ามศาลทั้งปวงรับรองรัฐประหาร และกำหนดให้ทุกสถาบันทางการเมืองมีหน้าที่ร่วมกันในการปกป้องประชาธิปไตย
  • ห้ามนิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร และ เปิดช่องให้ประชาชนดำเนินคดีกับผู้ก่อรัฐประหารในความผิดฐานกบฎได้
  • ปกป้องเสียงของประชาชน ผ่านการรื้อกลไกที่ถูกใช้ในการสืบทอดอำนาจ
  • ยกเลิกวุฒิสภาของ คสช. ทำให้รัฐสภาเป็นของประชาชน อำนาจ-ที่มามีความชอบธรรม
  • ยกเครื่องศาลรัฐธรรมนูญ-องค์กรอิสระ ทำให้เป็นกลาง มีระบบตรวจสอบที่ยึดโยงกับประชาชน
  • ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้นโยบายเท่าทันโลก และกำจัดข้ออ้างในการไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
  • ปลดล็อกท้องถิ่น เพื่อให้อำนาจในการกำหนดอนาคตของทุกพื้นที่ทุกจังหวัด อยู่ในมือของประชาชนผู้เกิด-ผู้อาศัย-ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่ ไม่ใช่ส่วนกลาง

เมื่นที่ 25 ธ.ค. 2566 ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 แถลงผลประชุมฯ ว่า

  • จะถามคำถามเดียวว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ที่จะมีการจัดทำ รธน. ฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์”
  • ทำประชามติ 3 รอบ
    • 1. การทำประชามติถามประชาชนว่าเห็นด้วยกับการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ (ก่อนแก้ไข)
    • 2. การทำประชามติตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256
    • 3. การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (หลังยกร่างฉบับใหม่ ก่อนทูลเกล้าฯ ถวาย)
  • คณะกรรมการจะนำข้อสรุปที่ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือน ม.ค. 2567 หรือภายในไตรมาศแรกของปี 2567 ต่อไป
  • ที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) การออกแบบที่มาของสสร. ขึ้นอยู่กับกระบวนการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในรัฐสภา
  • งบประมาณ คาดว่าการทำประชามติแต่ละครั้งใช้งบประมาณ 3,000 ล้านบาท

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • รัฐสภามีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และจำนวนครั้งประชามติ เห็นชอบ 303 เสียง ไม่เห็นด้วย 151 เสียง งดออกเสียง 120 เสียง และไม่ลงคะแนน 1 เสียง

    17 มี.ค. 2568

  • วันที่สองการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 มีสมาชิกเข้าร่วม 175 คน ไม่ครบองค์ประชุม วันมูหะมัดนอร์ ประธานสภา สั่งปิดการประชุมทันที  ดูเพิ่มเติม ›

    14 ก.พ. 2568

  • วันแรกการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 เพื่อเปิดทางร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ขณะที่พรรคภูมิใจไทยและส.ว. วอล์กเอาท์ อ้างขัดคำวินิจฉัยศาล ต้องยุติการประชุม

    13 ก.พ. 2568

  • วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ได้บรรจุระเบียบวาระประชุมรัฐสภาวันที่ 13 และ 14 ก.พ. พิจารณาแก้ไข ม.256 ตั้ง สสร. และตัดเงื่อนไขเสียง สว. เพื่อเปิดทางยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  ดูเพิ่มเติม ›

    6 ก.พ. 2568

  • ที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย มีมติเลื่อนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมไปอีก 1 เดือนจากกำหนดเดิม 14-15 ม.ค. เป็น 13-14 ก.พ.นี้

    8 ม.ค. 2568

  • ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ลงมติไม่เห็นชอบกับร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว ด้วยคะแนน 326 ต่อ 61 งดออกเสียง 1 ไม่ลงคะแนน 1 เสียง

    18 ธ.ค. 2567

  • สมาชิกวุฒิสภา (สว.) มีมติเห็นชอบ 153 ต่อ 24 กับ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ด้วยการใช้เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่ง 2 ชั้น   ดูเพิ่มเติม ›

    17 ธ.ค. 2567

  • วันมูหะหมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่าธ.ค.นี้สภาฯถกแก้รธน. บรรจุร่างครบ 14 ฉบับ  ดูเพิ่มเติม ›

    29 พ.ย. 2567

  • ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า แม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับภายในรัฐบาลชุดนี้อาจไม่ทัน แต่พรรคก็จะผลักดันให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)  ดูเพิ่มเติม ›

    25 พ.ย. 2567

  • นายนิกร จำนง ประธานกรรมการยุทธศาสตร์พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) คาดแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ทันการเลือกตั้งครั้งหน้า เหตุกระบวนการล่าช้า

    31 ต.ค. 2567

  • วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เผยรัฐสภาร่วมถกแก้รัฐธรรมนูญสมัยประชุมหน้า ต้น ธ.ค.67 ยันการแก้ไข ม.256 - องค์อิสระตามรัฐธรรมนูญ ต้องทำประชามติก่อน  ดูเพิ่มเติม ›

    28 ต.ค. 2567

  • นิกร จำนง กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่าการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ทันในช่วงเดียวกันกับเลือกท้องถิ่นในก.พ.68

    22 ต.ค. 2567

  • สภาผู้แทนราษฎร ลงมติไม่เห็นด้วยที่วุฒิสภา ใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ทำประชามติ  ดูเพิ่มเติม ›

    9 ต.ค. 2567

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่าต้องมีการพูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งจะมีการพูดคุยกันนอกรอบ เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  ดูเพิ่มเติม ›

    1 ต.ค. 2567

  • พริษฐ์ วัชรสินธุ ระบุว่าพรรคประชาชนขอพักการผลักดันร่างรัฐธรรมนูญเรื่องมาตรฐานจริยธรรมไว้ก่อน จนกว่าจะทำงานเชิงความคิดกับพรรคร่วมรัฐบาลได้มากขึ้น แต่จะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญและแก้มาตราในประเด็นอื่น

    26 ก.ย. 2567

  • ไชยชนก ชิดชอบ สส.บุรีรัมย์ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย เตรียมผลักดันแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 นำไปสู่การตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ยกร่างทั้งฉบับ ยกเว้นหมวด 1-2

    24 ก.ย. 2567

  • ที่ประชุมส.ส.พรรคเพื่อไทยระบุจะไม่ผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นจริยธรรม เพราะเป็นข้อเสนอของพรรคการเมืองใหญ่ในรัฐบาลเสนอมา

    24 ก.ย. 2567

  • วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ระบุว่า จะมีการประชุมวิป 3 ฝ่าย คือ วิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้าน วิปวุฒิสภา เพื่อพิจารณากรอบการประชุมแก้รัฐธรรมนูญ หลังจากที่ประธานรัฐสภาได้บรรจุระเบียบวาระไปแล้ว เพื่อที่จะ  ดูเพิ่มเติม ›

    23 ก.ย. 2567

  • วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เลื่อนพิจารณาวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปจากวันที่ 25 ก.ย. เหตุมีการเสนอขอแก้เข้ามาเพิ่มเติม คาดไม่เกินกลางเดือนต.ค.

    19 ก.ย. 2567

  • พรรคเพื่อไทยยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมรายมาตรา ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและการใช้อำนาจขององค์กรอิสระ  ดูเพิ่มเติม ›

    19 ก.ย. 2567

  • พรรคประชาชนยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมรายมาตรา ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและการใช้อำนาจขององค์กรอิสระ  ดูเพิ่มเติม ›

    17 ก.ย. 2567

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่าการแก้รัฐธรรมนูญรายมาตราเกี่ยวกับจริยธรรมนักการเมือง เป็นเรื่องพูดคุยกันในรัฐสภา

    17 ก.ย. 2567

  • นายกฯ แพทองธาร แถลงนโยบายของ ครม. ต่อรัฐสภาว่า “รัฐบาลจะเร่งจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยเร็วที่สุด โดยยึดโยงกับประชาชนและหลักการของประชาธิปไตย   ดูเพิ่มเติม ›

    12 ก.ย. 2567

  • ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ทั้ง 4 ฉบับ ด้วยคะแนนเห็นด้วย 450 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง   ดูเพิ่มเติม ›

    18 มิ.ย. 2567

  • ครม.อนุมัติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....และกฎหมายลำดับรองประกอบ  ดูเพิ่มเติม ›

    28 พ.ค. 2567

  • ครม. พิจารณารายงานผลการดำเนินงานของ คกก. เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560  ดูเพิ่มเติม ›

    23 เม.ย. 2567

  • ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง กรณีที่ประชุมรัฐสภาส่งเรื่องขอให้วินิจฉัยเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567

    17 เม.ย. 2567

  • ที่ประชุมรัฐสภามีมติส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐสภาสามารถลงมติพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญได้เลยหรือต้องทำประชามติก่อน

    29 มี.ค. 2567

  • พรรคก้าวไกลยื่นญัตติ ศึกษาขอบเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ

    6 มี.ค. 2567

  • ส.ส. พรรคเพื่อไทย ลงชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ม.256 ลดการทำประชามติรัฐธรรมนูญเหลือเพียง 2 ครั้ง  ดูเพิ่มเติม ›

    22 ม.ค. 2567

  • วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ระบุสถานการณ์การเมืองปี 2567 เรื่องแก้รัฐธรรมนูญจะเป็นประเด็นใหญ่

    27 ธ.ค. 2566

  • คกก.ประชามติ ได้ข้อสรุปว่า จะถามคำถามประชามติคำถามเดียวใจความว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ให้มีการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่แก้ไข หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์” และจะเสนอครม. ช่วงไตรมาศแรกของปี 2567

    25 ธ.ค. 2566

  • รัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยรับฟังความเห็นจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 ภาคเสร็จสิ้นแล้ว

    10 ธ.ค. 2566

  • คกก.ประชามติหารือกับประชาชน 15 กลุ่ม

    15 พ.ย. 2566

  • คกก.ประชามติหารือกับพรรคก้าวไกล

    14 พ.ย. 2566

  • คกก.ประชามติหารือกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ทำเนียบรัฐบาล ทั้งนักเรียน นักศึกษาที่มีอายุเกิน 18 ปี

    8 พ.ย. 2566

  • คกก.ประชามติหารือกับกรรมาธิการพัฒนาการเมือง สภาผู้แทนรษฎร

    2 พ.ย. 2566

  • คกก.ประชามติหารือกับกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา

    30 ต.ค. 2566

  • นายกฯ แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติฯ

    3 ต.ค. 2566

  • สมัชชาคนจน เผยแพร่ (ร่าง) รัฐธรรมนูญคนจน  ดูเพิ่มเติม ›

    22 ต.ค. 2565

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
รัฐธรรมนูญใหม่ประกาศใช้ตามกำหนดเวลาใน 4 ปี ตามวาระของรัฐบาล

เชิงกระบวนการ

เปิดรับฟังความคิดเห็น
คณะกรรมการฯเดินสายรับฟังความคิดเห็นของคนกลุ่มต่าง ๆ คาดว่าจะสามารถรวบรวมความคิดเห็นได้ภายในปีนี้

เชิงการเมือง

ลดความขัดแย้งทางการเมือง
การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย คาดว่าจะทำให้เกิดความชอบธรรมในการแก้ไขและลดปัญหาความขัดแย้งอันเนื่องจากรัฐธรรมนูญได้

บทความ

ดูทั้งหมด
แก้รัฐธรรมนูญล่ม สังคมโทษใคร?

แก้รัฐธรรมนูญล่ม สังคมโทษใคร?

'พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง' ชวนสำรวจประสบการณ์ทางการเมืองในประเทศต่าง ๆ ที่พยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบอุปสรรคภายใต้เงื่อนไขของรัฐบาลผสม ตลอดจนวิเคราะห์ผลกระทบต่อความนิยมในพรรคร่วมรัฐบาลพรรคต่าง ๆ

เปิดไทม์ไลน์เขียน รธน. ใหม่ เทียบแก้ ม.256 ฉบับ พท. - ปชน.

เปิดไทม์ไลน์เขียน รธน. ใหม่ เทียบแก้ ม.256 ฉบับ พท. - ปชน.

ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชน มีจุดประสงค์เพื่อแก้ ม.256 และเพิ่มหมวด 15/1 ทำให้สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตได้ง่ายขึ้น แต่ยังมีรายละเอียดที่แตกต่างกันในหลายประเด็น

ประชามติรัฐธรรมนูญในโลกนี้ ต้องทำหลายครั้งหรือไม่?

ประชามติรัฐธรรมนูญในโลกนี้ ต้องทำหลายครั้งหรือไม่?

กว่า 4 ปี หลังจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงโดยเฉพาะจำนวนครั้งที่ต้องทำประชามติ เมื่อฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรมีประชามติ 2 ครั้งก็เพียงพอแล้ว ขณะที่อีกฝ่ายมองว่าควรทำประชามติ 3 ครั้งเพื่อความปลอดภัย

เขียนรัฐธรรมนูญใหม่กี่โมง? : สำรวจโจทย์ทั้งเก่าและใหม่เพื่อจะพบว่าไทยยังไม่ได้แก้อะไรเลย

เขียนรัฐธรรมนูญใหม่กี่โมง? : สำรวจโจทย์ทั้งเก่าและใหม่เพื่อจะพบว่าไทยยังไม่ได้แก้อะไรเลย

แม้ว่าการจัดทำ 'รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน' จะเป็นคำสัญญาของหลายพรรคการเมือง รวมไปถึงพรรครัฐบาลอย่างพรรคเพื่อไทย ดังที่ปรากฏในคำแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร แต่ทุกฝ่ายยังจำเป็นต้องจับตามองการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ในการประชุมร่วมของทั้งสองสภาที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้

อิมพีชเมนต์ : ผ่านเลนส์ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐธรรมนูญและการเมืองภาคประชาชน

อิมพีชเมนต์ : ผ่านเลนส์ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐธรรมนูญและการเมืองภาคประชาชน

ท่ามกลางเสียงพูดคุยหนาหูถึงความเป็นไปได้ในการกลับประเทศไทยของอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากการรักษาการตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2557 ประกอบกับข่าวการประกาศกฎอัยการศึกสายฟ้าแลบของ นายยุน ซอก-ยอล ซึ่งตามมาด้วยการลงมติถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยสภานิติบัญญัติ

การเมืองเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ: ภายใต้ระเบียบโลกใหม่

การเมืองเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ: ภายใต้ระเบียบโลกใหม่

บทความนี้ชวนผู้อ่านมองอุปสรรคในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ในไทยจากมุมมองที่กว้างขึ้น กล่าวคือ จากมุมการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก ซึ่งเสรีนิยมประชาธิปไตยไม่ได้เป็นบรรทัดฐานทางการเมืองอีกต่อไป ในขณะเดียวกัน ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสิ่งใดจะมาแทนที่