ThaiPBS Logo

เลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

การเลือกวุฒิสมาชิก (สว.) ในปี 2567 เป็นการเลือกภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญก่อนหน้านั้น แม้ว่าจะมีเจตนารมย์เพื่อให้มีวุฒิสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างมากในเรื่องของกฏกติกาในการเลือกตั้ง เพราะเป็นการเลือกตั้งโดยผู้สมัคร

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ตามรัฐธรรมนูญ 2560

ดำเนินงาน

กกต.ประกาศรับรองเลือกตั้งสว. เมื่อวันนที่ 10 ก.ค. 2567 จำนวน 200 คน และสำรอง 99 คน

ประเมินผล

ประชุมวุฒิสภานักแรก เมื่อวันที่ 23 ก.ค. โดยเป็นการเลือกประธานวุฒิสภาและรองประธาน

อ่านเพิ่มเติม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนเหมือนกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่มีข้อแตกต่างกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ในเรื่องของจำนวนสว. ที่มา และการสังกัดพรรคการเมือง

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กําหนดวุฒิสภามี 2 ช่วง คือ

ช่วงที่ 1 เป็นไปตามบทเฉพาะกาลที่กําหนดให้วุฒิสภามีจํานวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถวายคําแนะนํา โดยมาจากการดําเนินการจัดให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภาของคณะกรรมการการเลือกตั้งจํานวน 50 คน และมาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาจํานวน 194 คน รวมกับผู้ดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการ ทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ โดยดำรงตำแหน่ง 5 ปี

ช่วงที่ 2  หลังจากพ้นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกในช่วงแรก กำหนดให้มีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิก 200 คน

แต่แทนที่จะมีการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง เปลี่ยนเป็นมาจากการเลือกกันเองของบุคคล ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์อาชีพ โดยแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มอาชีพ และขั้นตอนการเลือกตั้งมีหลายระดับ จากระดับอำเภอ สู่ระดับจังหวัดและระดับประเทศ ซึ่งจะได้สว. จำนวน 200 คน

คุณสมบัติผู้สมัคร

ผู้ที่สนใจและประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เตรียมความพร้อมตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามในการสมัคร โดยผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีในวันสมัครรับเลือก

(3) มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่า 10 ปี (ไม่ใช้บังคับแก่สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มอัตลักษณ์อื่น ซึ่งสมัครในกลุ่มตามมาตรา 11 (14) และ (15))

(4) ผู้สมัครต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย

  • เป็นบุคคลซึ่งเกิดในอำเภอที่สมัครรับเลือก
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
  • ทำงานอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
  • เคยทำงานหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือก แล้วแต่กรณีเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
  • เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา

ผู้สมัครจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561

หากผู้ใดฝ่าฝืน รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกไม่ว่าเพราะเหตุใด ได้สมัครรับเลือกต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี นอกจากนี้ ผู้ใดรับรองหรือเป็นพยานซึ่งลงลายมือชื่อรับรองเอกสารหรือหลักฐานที่ใช้ประกอบการสมัครเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 5 ปี

ลักษณะต้องห้าม

ลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา 3 ประเด็น ดังนี้

  • กรณีเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ออกจากการเป็นสมาชิกกี่วัน
  • กรณีบุคคลดำรงตำแหน่งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือไม่
  • กรณีบุคคลดำรงตำแหน่งคณะกรรมการชุมชน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการชุมชน พ.ศ. 2565 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่สอง พ.ศ.2566 ข้อ 16 และ ข้อ 18 วรรคสอง ถือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ ถ้าไม่ ต้องลาออกในวันรับสมัครหรือไม่ และกี่วัน

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาแล้ว มีความเห็นดังนี้

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 14 (21) กำหนดว่า ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ดังนั้น หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในวันสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา บุคคลซึ่งสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ย่อมถือว่าบุคคลนั้นไม่มีลักษณะต้องห้ามในการสมัครตามมาตรา 14 (21) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 4 กำหนดคำนิยามคำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ซึ่งหมายความว่า (1) นายกรัฐมนตรี (2) รัฐมนตรี (3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (4) สมาชิกวุฒิสภา (5) ข้าราชการการเมืองอื่นนอกจาก (1) และ (2) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง (6) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา กรณีตามข้อหารือเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงเทียบเคียงจากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยมีคำวินิจฉัยที่ 5/2543 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543สรุปลักษณะของ “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ไว้ โดยเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมายรวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจำโดยอยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลของรัฐและมีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามกฎหมาย

ดังนั้น บุคคลใดจะมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือไม่ ต้องพิจารณาตามแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งนี้ ควรหารือไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อวินิจฉัยว่าตำแหน่งคณะกรรมการชุมชนอยู่ในความหมายของคำว่า “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ตามแนวคำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญข้างต้นหรือไม่

การแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

ด้วยปรากฏว่ามีบุคคล กลุ่มบุคคล ได้ดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการแนะนำตัวของผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่าง ๆ รวมถึงการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของบุคคลที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ก่อนที่ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 มีผลใช้บังคับ

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอเรียนว่า ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 เมษายน 2567 และระเบียบดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ดังนั้น เพื่อให้การแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด จึงขอให้ผู้ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาศึกษาและทำความเข้าใจระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 และพึงระมัดระวังในการดำเนินการแนะนำตัวให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกำหนดด้วย

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เก็บรวบรวมข้อมูลของบุคคล กลุ่มบุคคล ที่ดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการแนะนำตัวของผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่าง ๆ รวมถึงการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของบุคคลที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาไว้ด้วยแล้ว และหากพบว่ามีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นความผิด จักดำเนินการตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนดต่อไป

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • การประชุมกมธ.สามัญประจำวุฒิสภา 21 คณะ นัดแรกเพื่อเลือกตำแหน่งต่าง ๆ ในกรรมาธิการ โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าการเลือกตำแหน่งประธาน กมธ.มีสว.สายสีน้ำเงินได้ตำแหน่งถึง 20 คณะ   ดูเพิ่มเติม ›

    25 ก.ย. 2567

  • ที่ประชุมสภามีมติเลือกให้ "มงคล สุระสัจจะ" ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียง 159 คะแนน ขณะที่ รศ.นันทนา นันทวโรภาส ได้ 19 คะแนน นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ ได้ 13 คะแนน โดยมีงดออกเสียง 4 และบัตรเสีย 5  ดูเพิ่มเติม ›

    23 ก.ค. 2567

  • กกต. ประกาศรับรอง สว. ชุดใหม่ 200 คน  ดูเพิ่มเติม ›

    10 ก.ค. 2567

  • กกต. ยังไม่มีการรับรองรายงานผลการเลือก สว. แม้จะอยู่ในระเบียบวาระการประชุม

    9 ก.ค. 2567

  • เลือก สว. ระดับประเทศ  ดูเพิ่มเติม ›

    26 มิ.ย. 2567

  • ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติมติเอกฉันท์ คัดเลือก สว.ชุดใหม่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107  ดูเพิ่มเติม ›

    18 มิ.ย. 2567

  • สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง รายงานการเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับจังหวัด ที่จัดขึ้นในวันที่ 16 มิ.ย. สรุปจำนวนผู้ได้รับเลือกระดับจังหวัดไประดับประเทศ จำนวน 3,000 ราย เป็นชาย 2,164 คน และเป็นหญิง 836 คน  ดูเพิ่มเติม ›

    16 มิ.ย. 2567

  • สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) สรุปจำนวนผู้มีสิทธิเข้ากระบวนการเลือก สว.ระดับอำเภอ 23,645 คน  ดูเพิ่มเติม ›

    10 มิ.ย. 2567

  • เลือก สว. ระดับอำเภอ มีจำนวนผู้มารายงานตัวรอบแรก 43,818 คน โดยชาย 25,459 คน และหญิง 18,359 คน

    9 มิ.ย. 2567

  • รับสมัครผู้ประสงค์อยากเป็น สว.  ดูเพิ่มเติม ›

    20 - 24 พ.ค. 2567

  • กกต. ชี้แจงสื่อกรณีการคัดเลือก สว. ยืนยันได้ครบ 200 คนตามไทม์ไลน์ เผยปรับแก้ระเบียบให้ผู้สมัครแนะนำตัวผ่านโซเชียลได้ แจงแนวทางการปฏิบัติตัวของสื่อยังทำหน้าที่ได้ตามปกติ  ดูเพิ่มเติม ›

    14 พ.ค. 2567

  • กกต. ประกาศวันกำหนดและวันที่รับสมัคร สว.  ดูเพิ่มเติม ›

    13 พ.ค. 2567

  • ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พ.ร.ก. ให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567

    11 พ.ค. 2567

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 12 ตามวาระ 5 ปี

    10 พ.ค. 2567

  • สว. ชุดที่ 12 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2560 จากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามที่ คสช. ถวายคำแนะนำ จำนวน 250 คน มีวาระ 5 ปี

    11 พ.ค. 2562 - 11 พ.ค. 2567

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 11 จากประกาศ คสช. 30/2557 เรื่อง ให้วุฒิสภาสิ้นสุดลง

    24 พ.ค. 2557

  • คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก่อรัฐประหาร

    22 พ.ค. 2557

  • สว. ชุดที่ 11 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2550 จากการเลือกตั้ง (77 คน - จังหวัดละ 1 คน และมีการตั้ง จ.บึงกาฬ เพิ่มขึ้นมา) และสรรหา (73 คน) จำนวน 150 คน มีวาระ 6 ปี

    มี.ค. 2557- 24 พ.ค. 2557

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 10 ตามวาระ 6 ปี

    มี.ค. 2557

  • สว. ชุดที่ 10 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2550 จากการเลือกตั้ง (76 คน - จังหวัดละ 1 คน) และสรรหา (74 คน) จำนวน 150 คน มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    มี.ค. 2551 - มี.ค. 2557

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 9 จากการที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ก่อรัฐประหาร

    19 ก.ย. 2549

  • สว. ชุดที่ 9 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2540 จากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน จำนวน 200 คน มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    9 พ.ค. 2549 - 19 ก.ย. 2549

  • เลือกตั้ง สว. ครั้งที่สอง (วุฒิสภาชุดที่ 9)

    19 เม.ย. 2549

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 8 ตามวาระ 6 ปี

    22 มี.ค. 2549

  • สว. ชุดที่ 8 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2540 จากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน จำนวน 200 คน มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    22 มี.ค. 2543 - 22 มี.ค. 2549

  • เลือกตั้ง สว. ครั้งแรก (วุฒิสภาชุดที่ 8)

    4 มี.ค. 2543

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 7 ตามวาระ 4 ปี

    22 มี.ค. 2543

  • สว. ชุดที่ 7 กำหนดในรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2538 จากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ จำนวน 260 คน (2/3 ของจำนวนสส.) มีวาระ 4 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    22 มี.ค. 2539 - 22 มี.ค. 2543

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 6 ตามวาระ 6 ปี

    22 มี.ค. 2539

  • สว. ชุดที่ 6 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2534 จากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ จำนวน 270 คน มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    22 มี.ค. 2535 - 22 มี.ค. 2539

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 5 จากการที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ก่อรัฐประหาร

    23 ก.พ. 2534

  • สว. ชุดที่ 5 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2521 จากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ จำนวน 225 คน (ไม่เกิน 3/4 ของจำนวนสส.) มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    22 เม.ย. 2522 - 23 ก.พ. 2534

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 4 จากเหตุุการณ์ 6 ต.ค. 2519 และ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ก่อรัฐประหาร

    6 ต.ค. 2519

  • สว. ชุดที่ 4 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2517 จากการเลือกและแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ จำนวน 100 คน มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    26 ม.ค. 2518 - 6 ต.ค 2519

  • เหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516

    14 ต.ค. 2516

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 3 จากการที่ จอมพลถนอม กิตติขจร รัฐประหารตัวเอง

    17 พ.ย. 2514

  • สว. ชุดที่ 3 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2511 จากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ จำนวน 120 คน (3 ใน 4 ของจำนวน สส.) มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    4 ก.ค. 2511 - 17 พ.ย. 2514

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 2 จากการที่ จอมพลป. พิบูลสงคราม รัฐประหารตัวเอง

    29 พ.ย. 2494

  • สว. ชุดที่ 2 กำหนดในรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2490 จากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ จำนวน 100 คน (เท่าจำนวน สส.) มีวาระ 6 ปั  ดูเพิ่มเติม ›

    16 พ.ย. 2490 - 29 พ.ย. 2494

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 1 จากการที่ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ก่อรัฐประหาร

    8 พ.ย. 2490

  • สว. ชุดที่ 1 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2489 จากการเลือกตั้งโดยทางอ้อมและลับ จำนวน 80 คน มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    24 พ.ค. 2489 - 8 พ.ย. 2490

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

การเลือกสว.
เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 2560 แต่เป็นการเลือกกันเองระหว่างผู้สมัคร

เชิงกระบวนการ

การเลือกสว.ระดับอำเภอ
การเลือกรอบที่ 1 เลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกัน ผู้ได้คะแนนสูงสุด 1-5 จะเข้าไปเลือกรอบที่ 2 โดยเลือกในกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน โดยผู้ได้รับ 3 อันดับแรกจะเป็นผู้ได้รับเลือกระดับอำเภอ
การเลือกสว.ระดับจังหวัด
การเลือกรอบที่ 1 โดยเลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกัน โดยได้ผู้มีคะแนนสูงสุด 1-5 อันดับแรกเหมือนระดับอำเภอ แต่เลือกรอบที่ 2 ผู้ได้รับเลือกสูงสุด 2 อันดับแรก
การเลือกสว.ระดับประเทศ
การเลือกรอบที่ 1 เลือกบุคคลในกลุ่ม 1-40 อันดับแรก และในรอบที่ 2 เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นสายเดียวกัน 1-10 เป็นสว.

เชิงการเมือง

การมีส่วนร่วม
ผู้สมัครเลือกตั้งเลือกกันเอง ตามกฏกติกาใหม่ โดยไม่ได้เป็นการเลือกตั้งทั่วไปเหมือนในอดีต

อินโฟกราฟิก

Image 0Image 1Image 2

บทความ

ดูทั้งหมด
“อย่าทำให้ผิดหวัง” เมื่อประชาชนส่งเสียงถึงสว.

“อย่าทำให้ผิดหวัง” เมื่อประชาชนส่งเสียงถึงสว.

“ไม่ได้เลือก แต่ขอร่วม” ภาคประชาชน นักวิชาการ และคนรุ่นใหม่ จับตากระบวนการเลือก สว.ชุดใหม่ ฝากข้อเสนอและความคาดหวังในการสร้างจุดเปลี่ยนทางการเมือง ปูทางสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

คนไทยมอง สว. อย่างไร

คนไทยมอง สว. อย่างไร

กติกาใหม่ที่กำหนดให้ สว. มาจากการเลือกกันเอง 20 กลุ่มอาชีพ นำมาสู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งในประเด็นความสลับซับซ้อนในขั้นตอนการเลือกที่ประชาชนจำนวนมากยังไม่เข้าใจ และยังมีประเด็นเรื่องขาดการยึดโยงกับประชาชน จนไม่อาจสะท้อนการเป็นตัวแทนของประชาชนเข้าไปทำหน้าที่ในสภาสูง

จับตางานร้อน สว. ชุดใหม่

จับตางานร้อน สว. ชุดใหม่

โค้งสุดท้ายกระบวนการคัดเลือกวุฒิสภา ที่ตรียมเลือกระดับประเทศกันในวันที่ 26 มิ.ย. นี้ และจะได้สว. 200 คน เข้าไปทำหน้าที่สภาสูง ซึ่งมีภารกิจสำคัญต่าง ๆ มากมายรออยู่ข้างหน้า