ThaiPBS Logo

ระบบหลักประกันสุขภาพ

รัฐบาลประกาศนโยบาย 30 บาทพลัส เป็นนโยบายที่ยกระดับมาจากบัตรทอง 30 บาท ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อเนื่องของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ดำเนินการมาครบรอบ 20 ปีเมื่อปี 2566

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

สธ.รายงานครม.ถึงความคืบหน้ายกระดับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ระยะ 100 วัน

ดำเนินงาน

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวบริการ เพิ่มเป็น 46 จังหวัด รวมกทม.

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

อัฟเดตล่าสุด 19 พ.ย. 67

19 พ.ย.67 “วันนสถาปนาสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ตรงกับวันที่ 19 พฤศจิกายนของทุกปี โดยปีนี้เป็นการครบรอบปีที่ 22 ก้าวสู่ปีที่ 23 ซึ่งที่ผ่านมาดำเนินการผ่านแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการเพื่อขับเคลื่อน 5 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 (ปี 2546-2550) สร้างความครอบคลุมด้านหลักประกันสุขภาพให้กับคนไทย
  • ระยะที่ 2 (2551–2554) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
  • ระยะที่ 3 (ปี 2555–2559) ความยั่งยืนระบบฯ ครอบคลุมทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย
  • ระยะที่ 4 (ปี 2560-2565) ประชาชนเข้าถึงบริการ การเงินการคลังมั่นคง ดำรงธรรมาภิบาล
  • ระยะที่ 5 (ปี 2566-2570) มุ่งขับเคลื่อนให้ ทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย ได้รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้าด้วยความมั่นใจ

การบริหารจัดการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของ สปสช. ตลอด 22 ปี มีประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยล่าสุดปีงบประมาณ 2567 ได้ให้การดูแลผู้มีสิทธิบัตรทองจำนวน 46,921,134 คน โดยร่วมกับหน่วยบริการทุกระดับทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 22,277 แห่ง มีผู้ได้รับบริการผู้ป่วยนอกจำนวน 166.660 ล้านครั้ง และบริการผู้ป่วยใน จำนวน 6.223 ล้านครั้ง

27 ก.ย. 2567 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า กรุงเทพมหานคร” ระบุว่า “ขอให้มั่นใจได้ว่าภายในปี 2567 นี้ รัฐบาลจะสามารถขยาย “30 บาทรักษาทุกที่” ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทุกตารางนิ้วทั่วประเทศไทย เพื่อทำให้คนไทยเข้าถึงการรักษาพยาบาล ได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้น โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแล และขอย้ำอีกครั้ง สำหรับคนกรุงเทพฯ อย่าลืมมองหาสัญลักษณ์ 30 บาทรักษาทุกที่ นั่นคือเป็นหน่วยบริการที่ทุกท่านเข้าไปใช้บริการได้”

22 ส.ค. 2567 สปสช. เปิดตัว “30 บาทรักษาทุกที่” เป็นทางเลือกใหม่ สำหรับอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย สะดวก ไม่ต้องรอคิว ลดความแออัดในโรงพยาบาล หมอได้ตามเวลาที่สะดวก ได้ที่ร้านยา-และคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมกับ สปสช. ใช้บัตรประชาชนเข้ารับบริการ ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว

3 ก.ค. 2567  สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช) เป็นประธานการประชุม บอร์ด สปสช. ครั้งที่ 7/2567โดยสปสช. ได้รับจัดสรรงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) ปีงบประมาณ 2568 จากรัฐบาลจำนวน 235,842.80 ล้านบาท หรืออัตราเหมาจ่ายจำนวน 3,844.55 บาทต่อประชากร ในจำนวนนี้เป็นเงินเดือนบุคลากรภาครัฐจำนวน 68,089.63 ล้านบาท และเป็นงบประมาณที่ สปสช. นำมาบริหารจัดการจำนวน 167,753.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2567 จำนวน 15,014.93 ล้านบาท

18 มิ.ย. 2567 ราชกิจจานุเบกษา ลงประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว เพิ่มเป็น 42 จังหวัด รวมกรุงเทพมหานคร

การดำเนินนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ฯ ในระยะที่ 1 (4 จังหวัดแรก) และระยะที่ 2 (8 จังหวัด) ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 5 มี.ค. 2567) มีหน่วยบริการเข้าร่วมให้บริการภายใต้นโยบายแล้ว 1,070 แห่ง มีจำนวนผู้มารับบริการ 286,467 คน โดยคิดเป็นจำนวนบริการทั้งหมด 481,224 ครั้ง และใช้งบประมาณไปแล้ว 130 ล้านบาท

 

สาระสำคัญของนโยบายยกระดับ 30 บาทพลัส คือการมุ่งส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษา ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ โดยขับเคลื่อนใน 5 ประเด็นหลักในช่วงแรก ได้แก่ 

  • บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่
  • มะเร็งครบวงจร
  • การก่อตั้งสถานชีวาภิบาล
  • การบริการเขตเมืองกรุงเทพมหานคร
  • บริการสุขภาพจิตและยาเสพติด

หากนโยบายนี้ถูกประกาศใช้ทั่วประเทศ ประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กว่า 40 ล้านคนจะสามารถแสดงบัตรประจำตัวประชาชนในการเข้ารับบริการกับสถานพยาบาลได้ทุกแห่ง ไม่จำกัดว่าจะต้องอยู่ในพื้นที่เขตรักษาตามบัตรประชาชน โดยข้อมูลผู้ป่วยจะเชื่อมโยงกับทุกสถานพยาบาลผ่านระบบออนไลน์ โดยที่ไม่ต้องทำใบส่งตัวเหมือนในอดีต

บัตรประชาชนใบเดียวทั่วประเทศ ภายในปี 2567

ในระยะเริ่มต้นได้วางแผนดำเนินการใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ไว้ 3 ระยะ คือ

  • เฟส 1 นำร่อง 4 จังหวัด คือ แพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี และนราธิวาส
  • เฟส 2 ช่วงเดือน ม.ค. 2567 ขยายพื้นที่ 8 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สิงห์บุรี พังงา หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ นครราชสีมา และสระแก้ว โดยจะเชื่อมระบบทั้งหมด สามารถรักษาได้ทุกเครือข่ายทั้งรัฐ เอกชน
  • เฟส 3 ช่วงเดือน เม.ย.2567 ขยายไปสู่ 4 เขตสุขภาพ คือ เขตสุขภาพที่ 1 เขตสุขภาพที่ 4 เขตสุขภาพที่ 9 และเขตสุขภาพที่ 12 ซึ่งเป็นการรักษาเฉพาะในเครือข่ายของกระทรวงสาธารณสุข รวม 27 จังหวัด ดังนี้
    • เขตสุขภาพที่ 1 ครอบคลุม 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา ลำปางลำพูน และแม่ฮ่องสอน
    • เขตสุขภาพที่ 4 ครอบคลุม 8 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี นนทบุรี ลพบุรี อ่างทอง นครนายก สิงห์บุรีพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี 
    • เขตสุขภาพที่ 9 ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา  ชุยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ 
    • เขตสุขภาพที่ 12 ครอบคลุม 7 จังหวัด ได้แก่ พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

30 บาทพลัส ยกระดับใน 13 เรื่อง

  1. โครงการพระราชดำริทางด้านสาธารณสุข
  2. เพิ่มการเข้าถึงบริการในเขตเมือง รพ. กทม. 50 เขต 50 รพ. และปริมณฑล ทั้งการบริหารเตียง ใช้ทรัพยากรร่วมกันทุกภาคส่วน ใช้รูปแบบรัฐร่วมเอกชน จัดตั้ง รพ.แห่งใหม่เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการในเขตเมือง เป็นต้น
  3. สุขภาพจิต/ยาเสพติด มีแผนกจิตเวช มีหอผู้ป่วยจิตเวชที่พร้อมให้บริการ มีศูนย์ธัญญารักษ์ทุกจังหวัด ให้บริการปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านทางระบบเทเลเมดิซีน
  4. มะเร็งครบวงจร คัดกรองรักษาอย่างรวดเร็ว ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในเพศหญิง และมะเร็งท่อน้ำดี ตับ ปอดในเพศชาย ลดภาระค่าใช้จ่ายด้วยการจัดตั้งกองทุนมะเร็ง และจัดตั้งทีมเชิงรุก CA Warrior เพื่อลดป่วยลดตาย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
  5. สร้างขวัญกำลังใจบุคลากร ถือเป็นภารกิจสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงของระบบสุขภาพ โดยสนับสนุนบุคลากรทุกคนทุกระดับ ให้มีความก้าวหน้า มั่นคง อยู่ในสังคมอย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนด้วยความสุข ที่สำคัญคือ การสื่อสารรูปแบบใหม่กับผู้ป่วย ญาติ คนใกล้ชิด เพื่อความเข้าใจของผู้รับบริการ
  6. การแพทย์ปฐมภูมิ เพิ่มความครอบคลุมการดูแลที่บ้านและชุมชน พัฒนาระบบนัดหมายพบแพทย์ ตรวจเลือด รับยาในหน่วยบริการใกล้บ้าน เสริมสร้างอนามัยโรงเรียนให้เข้มแข็ง และพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกล
  7. สาธารณสุขชายแดน พื้นที่เฉพาะ และกลุ่มเปราะบาง จะเพิ่มการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ทั้ง 3 จังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่ชายแดนชายขอบ พื้นที่เฉพาะ รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ มอร์แกน กลุ่มไร้รัฐ และกลุ่มเปราะบาง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะเป็นคนไทยเหมือนกัน
  8. สถานชีวาภิบาล พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยระยะสุดท้าย ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Ward) จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต รองรับสังคมผู้สูงอายุและลดภาระบุตรหลาน
  9. พัฒนา รพ.ชุมชนแม่ข่าย มีระบบส่งต่อแบบไร้รอยต่อ เพิ่มศักยภาพการตรวจวินิจฉัยและรักษาทั้ง CT Scan/ICU จัดให้มี Mobile Stroke Unit เพื่อลดการส่งต่อ
  10. ดิจิทัลสุขภาพ ใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ และพัฒนาเป็น รพ.อัจฉริยะ One ID Card Smart Hospital ให้บริการสุขภาพยุคใหม่ ตรงความต้องการของประชาชน เข้าถึงได้ง่าย
  11. ส่งเสริมการมีบุตร โดยผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ เพิ่มอัตราการเกิดของเด็กที่มีคุณภาพ สร้างความเข้าใจการมีบุตรเมื่อพร้อม สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม “มีลูก มีแต่ได้”
  12. เศรษฐกิจสุขภาพ สร้างต้นแบบพื้นที่อายุยืน (Blue Zone) “หนึ่งเขตสุขภาพ หนึ่งพื้นที่อายุยืน” ในทุกจังหวัด พัฒนาสู่ศูนย์กลางการแพทย์มูลค่าสูง ดูแลสุขภาพครบวงจร ต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
  13. นักท่องเที่ยวปลอดภัย ยกระดับความปลอดภัยด้านอาหาร สถานที่ ผู้ให้บริการ ระบบเฝ้าระวังและควบคุมโรคให้ทันสมัย ทันเวลา และง่ายต่อการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีเกิดโรคระบาด เพิ่มบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับดูแลผู้ป่วยวิกฤตอย่างครอบคลุม เป็นหลักประกันความปลอดภัย ให้ประชาชนคนไทยและนักท่องเที่ยว

Quick Win 100 วัน เร่งรัดทำใน 5 เรื่อง

  1. โครงการพระราชดำริ คัดกรองมะเร็งในผู้ต้องขัง พัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ เป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะต้นแบบ และสุขศาลาพระราชทานผ่านการรับรองคุณภาพทุกแห่ง รวมทั้งขับเคลื่อนโครงการเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไตรมาส 2 ทั้งแว่นตาผู้สุงอายุ 72,000 อัน ผ่าตัดต้อกระจก 7,200 ดวง ฟันเทียม 72,000 คน ออกหน่วยพื้นที่ห่างไกล 720 อำเภอ ดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ 72,000 รูป และอาคารผู้ป่วยนอกเขตเมืองเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา 72 แห่ง
  2. ดิจิทัลสุขภาพ บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ นำร่อง 4 เขตสุขภาพ
  3. สร้างขวัญและกำลังใจบุคลากร โดยมี Care D+ Team ในหน่วยบริการทุกระดับ
  4. เพิ่มจำนวนโรงพยาบาล 50 เขต 50 โรงพยาบาลและปริมณฑล โดยจัดตั้งโรงพยาบาล 120 เตียงในเขตดอนเมือง
  5. ก่อตั้งสถานชีวาภิบาล จังหวัดละ 1 แห่ง Hospital at Home จังหวัดละ 1 แห่ง และคลินิกผู้สูงอายุทุก โรงพยาบาล

30 บาทพลัส กับเป้าหมายสำคัญ 4 เรื่อง

  • ลดความเหลื่อมล้ำ ที่เน้นให้มีหน่วยบริการมากขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน รวมทั้งจัดบริการให้อยู่ใกล้บ้านมากขึ้น เช่น รับยาได้ที่ร้านยาใกล้บ้าน รถทันตกรรมเคลื่อนที่ไปถึงโรงเรียน
  • ลดความแออัดในโรงพยาบาล
  • การเข้าถึงบริการสะดวกมากขึ้น
  • เพิ่มคุณภาพบริการให้มากขึ้น

แหล่งอ้างอิง

 

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • สปสช. จัดงานครบรอบ “วันสถาปนาสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ตรงกับวันที่ 19 พฤศจิกายนของทุกปี โดยปีนี้เป็นการครบรอบปีที่ 22 ก้าวสู่ปีที่ 23  ดูเพิ่มเติม ›

    19 พ.ย. 2567

  • สปสช.เพิ่มสิทธิประโยชน์ตรวจคัดกรองในกทม. ผู้มีอายุ 35 ปีขึ้นไป 4 รายการ คือ การตรวจการทำงานของไต การตรวจการทำงานของตับ การตรวจเอกซเรย์ปอด และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพิ่มเติมจาก 7 รายการ เป็น 11 รายการ  ดูเพิ่มเติม ›

    5 พ.ย. 2567

  • นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสปสช.ระบุว่าได้ตั้งคณะทำงานเพื่อหารือร่วมกับ รพ.มงกุฎวัฒนะ ในการหาข้อยุติของปัญหาต่างๆ ร่วมกันแล้วกรณีค่าเบิกจ่ายค่าบริการบัตรทอง  ดูเพิ่มเติม ›

    28 ต.ค. 2567

  • นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสปสช. ระบุว่าหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท)ในปีงบประมาณ 2568 จะเน้นเพิ่มประสิทธิภาพนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่และปรับปรุงกลไกเบิกจ่ายงบสปสช.

    27 ต.ค. 2567

  • นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงเลขาธิการ สปสช. ลงวันที่ 26 ต.ค. 6 เรื่อง รพ.มงกุฎวัฒนะขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถรับส่งต่อจากหน่วยบริการปฐมภูมิตั้งแต่ 1 พ.ย. 67

    26 ต.ค. 2567

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดงาน "30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า กรุงเทพมหานคร" พร้อมตั้งเป้าหมายให้บริการทั่วประเทศได้ในปี 2567   ดูเพิ่มเติม ›

    27 ก.ย. 2567

  • สปสช. เปิด“สายด่วน สปสช. 1330” พร้อมหนุน “Kick off โครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ กรุงเทพมหานคร” จัดช่องทางพิเศษ กด 6 ให้บริการสอบถามข้อมูล นัดหมายจองคิว ช่วยอำนวยความสะดวก แก้ปัญหาการเข้ารับบริการ  ดูเพิ่มเติม ›

    18 ส.ค. 2567

  • สปสช.ให้หน่วยบริการในระดับปฐมภูมิในพื้นที่กทม. รับ "30 บาทรักษาทุกที่" ผู้มีสิทธิเข้ารับบริการได้เลย ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียว โดยใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท   ดูเพิ่มเติม ›

    11 ส.ค. 2567

  • ครม.มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 7 คน  ดูเพิ่มเติม ›

    23 ก.ค. 2567

  • บอร์ดสปสช. เห็นชอบ “ข้อเสนอหลักเกณฑ์บริหารกองทุนบัตรทอง ปี 2568” จัดสรรงบขาลง 1.67 แสนล้าน ดูแลผู้ใช้สิทธิบัตรทอง พร้อมปรับเพิ่มงบบริการการแพทย์แผนไทย เป็น 31.90 บาท/ประชากร  ดูเพิ่มเติม ›

    3 ก.ค. 2567

  • คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เห็นชอบเพิ่มงบประมาณในส่วนของงบบริการการแพทย์แผนไทย จาก 20.37 บาท/คน เป็น 31.90 บาท/คน เพื่อสนับสนุนนโยบายการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการใช้ยาสมุนไพรไทย  ดูเพิ่มเติม ›

    8 ก.ค. 2567

  • ราชกิจจานุเบกษาลงประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ใช้บัตรประชาชนใบเดียวบริการ 30 บาทรักษาทุกโรค  ดูเพิ่มเติม ›

    17 มิ.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯปาฐกถาพิเศษในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 77 ชู “สุขภาพดีถ้วนหน้า เป็นหน้าที่ของเราทุกคน (All for Health, Health for all)” ชูระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าความภูมิใจของไทย  ดูเพิ่มเติม ›

  • ปรับครม.ใหม่ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรมว.สาธารณสุขแทน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว  ดูเพิ่มเติม ›

    28 เม.ย. 2567

  • ครม.อนุมัติงบหลักประกันสุขภาพ ประจำปี 68 วงเงิน 2.35 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.37% จากปีก่อนหน้า โดยเพิ่มค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยบัตรทอง แบบเหมาจ่ายรายหัวเป็น 3,844.55 บาท/คน  ดูเพิ่มเติม ›

    9 เม.ย. 2567

  • สปสช.เผย 30 บาทรักษาทุกที่ฯ ในระยะที่ 1 (4 จังหวัดแรก) และระยะที่ 2 (8 จังหวัด) ณ วันที่ 5 มี.ค. 2567 มีหน่วยบริการเข้าร่วม 1,070 แห่ง มีผู้มารับบริการ 286,467 คน ใช้งบ 130 ล้านบาท  ดูเพิ่มเติม ›

    12 มี.ค. 2567

  • นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ระบุจะเดินหน้า 30 บาทพลัส ระยะที่ 2 ในเดือน มี.ค. 2567 อีก 8 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สิงห์บุรี สระแก้ว หนองบัวลำภู นครราชสีมา อำนาจเจริญ และพังงา

    18 ก.พ. 2567

  • นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข แถลงเดินหน้าขยายบริการ 30 บาทพลัส ระยะที่ 2

    10 ม.ค. 2567

  • สธ. เปิดโครงการ "30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว" ที่ รพ. ใน จ.ร้อยเอ็ด 1 ใน 4 จังหวัดนำร่อง

    7 ม.ค. 2567

  • สธ. รายงานครม. ถึงความคืบหน้ายกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค ระยะครบ 100 วัน สามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวใน 4 จังหวัด

    2 ม.ค. 2567

  • รมว.สาธารณสุข ประกาศผลสำเร็จ Quick Win 100 วัน ยกระดับ 30 บาท ได้ตามเป้าครบทั้ง 10 ประเด็น

    27 ธ.ค. 2566

  • สธ. จัดหลักสูตร “ดูแลพระอาพาธระยะท้าย” หนุน Quick Win "กุฏิชีวาภิบาล" สร้างมาตรฐานการดูแลพระสงฆ์ระยะประคับประคองตามหลักพระวินัย

    11 ธ.ค. 2566

  • ที่ประชุมคกก.สุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบแนวทางสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายฯ หนุนนโยบาย ‘สถานชีวาภิบาล-กุฏิชีวาภิบาล’

    16 พ.ย. 2566

  • ที่ประชุมคกก.พัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ เร่งให้เดินหน้านโยบาย “ใช้บัตรประชาชนใบเดียว” พร้อมใช้งาน 8 ม.ค.2567

    14 พ.ย. 2566

  • รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่ากทม. เข้าพบปลัดสาธารณสุข เพื่อหารือการขับเคลื่อนนโยบาย 13 Quick Win ในพื้นที่ กทม.

    2 พ.ย. 2566

  • นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ประชุมคกก.พัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ เดินหน้านโยบาย "30 บาทรักษาทุกโรคพลัส"

    24 ต.ค. 2566

  • รมว.สาธารณสุข ตั้งคณะทำงานยกระดับบัตรทอง ให้สามารถเข้ารับบริการที่ใดก็ได้ ไม่ต้องมีโรงพยาบาลประจำ

    12 ต.ค. 2566

  • ครม. อนุมัติงบประมาณสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายในวงเงิน 217,628,959,600 บาท

    7 ต.ค. 2566

  • สปสช. เห็นชอบงบฯบัตรทองปี 67 กว่า 2.21 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 1.7 หมื่นล้าน พร้อมหนุนนโยบายยกระดับ 30 บาทพลัส

    2 ต.ค. 2566

  • รมว.สาธารณสุข มอบนโยบายผู้บริหารยกระดับการดูแลสุขภาวะทุกมิติ ภายใต้ "นโยบาย 30 บาทพลัส"

    22 ก.ย. 2566

  • พรรคเพื่อไทย เปิดตัวนโยบายยกระดับ บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค ในการหาเสียงเลือกตั้ง

    22 ก.พ. 2566

  • ราชกิจจานุเบกษาประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข พ.ศ. 2565  ดูเพิ่มเติม ›

    7 มิ.ย. 2565

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

บัตรประชาชนใบเดียวใช้ได้ทุกโรงพยาบาลรัฐ
สามารถใช้ได้ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ 13 เขตสุขภาพ ภายในเวลา 1 ปี
โรงพยาบาลในกทม.
จัดตั้งโรงพยาบาล 50 แห่งใน 50 เขต กทม.
Hospital at Home
Hospital at Home จังหวัดละ 1 แห่ง
คลินิกผู้สูงอายุ
คลินิกผู้สูงอายุทุกโรงพยาบาล
คลินิกรักษาภาวะผู้มีบุตรยาก
คลินิกรักษาภาวะผู้มีบุตรยาก จังหวัดละ 1 แห่ง
มินิธัญญารักษ์
จัดตั้งโรงพยาบาลสุขภาพจิต มินิธัญญารักษ์ ใน 76 จังหวัด 92 แห่ง
มะเร็งครบวงจร
ฉีดวัคซีน HPV ครบ 1 ล้านโดสใน 100 วัน

อินโฟกราฟิก

Image 0Image 1Image 2Image 3Image 4

บทความ

ดูทั้งหมด
ศึกสองวิชาชีพ “ร้านยาคุณภาพ” เดินหน้าหรือสะดุดกฎหมาย

ศึกสองวิชาชีพ “ร้านยาคุณภาพ” เดินหน้าหรือสะดุดกฎหมาย

ร้านยาคุณภาพภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หนึ่งในความพยายาม แก้ปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล กำลังกลายเป็นศึกระหว่างสองวิชาชีพที่ต้องจับตาว่าจะจบลงอย่างไร

ถอดรหัสปัญหา '30 บาทรักษาทุกที่' กทม.

ถอดรหัสปัญหา '30 บาทรักษาทุกที่' กทม.

ระบบบัตรทองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กำลังอยู่ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน ทั้งจากความแตกต่างและซับซ้อนมากกว่าจังหวัดอื่น รวมไปถึงต้นทุนการให้บริการที่สูงกว่า และปัญหาจากคลินิกชุมชนอบอุ่นถอนตัว ขณะที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ต้องแบกต้นทุนการรักษาเพราะได้รับการเบิกจ่ายจาก สปสช. เพียงบางส่วน

บัตรประชาชนใบเดียว รักษาทุกที่ใน 7 หน่วยบริการกทม.

บัตรประชาชนใบเดียว รักษาทุกที่ใน 7 หน่วยบริการกทม.

เช็กสิทธิ "30 บาทรักษาทุกที่" ในพื้นที่กรุงเทพมหนคร ใช้ "บัตรประชาชนใบเดียว" ผ่าน 7 หน่วยบริการนวัตกรรมของกทม. ไม่ต้องรอคิว ใบส่งตัวและไม่ต้องเสียเวลาไปโรงพยาบาลใหม่