ThaiPBS Logo

การทูตแบบสมดุล

รัฐบาลจะสร้างบทบาทในเวทีโลก ให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ อย่างสมดุล ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่รุนแรงขึ้น

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

รัฐบาลจะรักษาจุดยืนไม่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างประเทศ และเน้นการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ความเคลื่อนไหวล่าสุด

6 ก.พ. 68 แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลงระหว่างหน่วยงานไทย-จีน รวม 14 ฉบับ

  1. แถลงการณ์ร่วม ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการพัฒนาสู่ความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระดับสูงผ่านวิสัยทัศน์การมองไปข้างหน้าและประชาชนเป็นศูนย์กลาง (ไม่มีการลงนาม)
  2. ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านปัญญาประดิษฐ์ ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยกับคณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
  3. ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ระหว่างสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับคณะกรรมาธิการการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติจีน
  4. ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือในการลงทุนด้านการพัฒนาสีเขียว ระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
  5. ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมด้านการลงทุนในสาขาเศรษฐกิจดิจิทัล ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับกระทรวงพาณิชย์สาธารณรัฐประชาชนจีน
  6. ร่างพิธีสารว่าด้วยหลักเกณฑ์การตรวจสอบ กักกันโรค และสุขอนามัยทางสัตวแพทย์ของผลิตภัณฑ์ประมงที่มาจากการเพาะเลี้ยงส่งออกมายังสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยกับสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
  7. ร่างกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว สำหรับการค้าข้ามแดนระหว่างกรมศุลกากรแห่งราชอาณาจักรไทยกับสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
  8. ร่างความตกลงระหว่างกรมศุลกากรแห่งราชอาณาจักรไทย กับศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยความตกลงยอมรับร่วมกันสำหรับโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอของกรมศุลกากร และโครงการ Enterprise Credit Management ของศุลกากรจีน
  9. ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการจัดตั้งห้องปฏิบัติการร่วมด้านปัญญาประดิษฐ์ ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
  10. ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกับสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีนเกี่ยวกับอุปกรณ์สำรวจสภาพอวกาศโดยรอบของดวงจันทร์ไทย – จีน ภายใต้พันธกิจอวกาศยานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ หมายเลข 7
  11. ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกับองค์การพลังงานปรมาณูแห่งชาติจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติ
  12. ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านบริการไปรษณีย์ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกับการไปรษณีย์สาธารณรัฐประชาชนจีน
  13. ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข่าวและข้อมูลข่าวสารระหว่างกรมประชาสัมพันธ์กับสำนักข่าวซินหัว
  14. ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยกับ China Media Group

23 ม.ค. 68 สภาคองเกรสของสหรัฐฯ ได้เสนอร่างกฎหมาย Restoring Trade Fairness Act เพื่อยกเลิกสถานะ Permanent Normal Trade Relations (PNTR) ของจีน ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดภาษีนำเข้าขั้นต่ำจากจีน 35% สำหรับสินค้าทั่วไป และ 100% สำหรับสินค้ายุทธศาสตร์ โดยจะปรับเพิ่มเป็นขั้นบันไดตลอด 5 ปีข้างหน้า

20-21 ม.ค. 68 โดนัลด์ ทรัมป์ประกาศพิจารณาแผนขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเพิ่มเติมกับจีน 10% และเม็กซิโก-แคนาดา 25% โดยอาจเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.พ. 68

คำแถลงนโยบายของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต่อรัฐสภา เมื่อ 12 ก.ย. 67 ระบุว่า “รัฐบาลของดิฉันจะแปลงความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอำนาจไปสู่ยุทธศาสตร์ที่จะเสริมสร้างโอกาสให้ประเทศไทยและเกื้อกูลผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนมากที่สุด ดังนี้

1. รัฐบาลจะรักษาจุดยืนของการไม่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างประเทศ(Non-Conflict) และจะดำเนินความสัมพันธ์กับนานาประเทศอย่างจริงใจและสร้างสรรค์ในกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศและบรรทัดฐานสากล โดยมีผลประโยชน์ของชาติเป็นแกนกลางสำคัญ และมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับนานาประเทศเพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่งคั่งร่วมกัน (Active Promoter of Peace and Common Prosperity) เพื่อให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่แห่งโอกาสสำหรับคนไทยและชาวต่างชาติ เพื่อดึงดูดแรงงานทักษะสูง ผู้ประกอบการและนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายเข้ามาเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย

2. รัฐบาลจะเดินหน้าสานต่อนโยบายการทูต เศรษฐกิจเชิงรุก และการสร้าง Soft Power เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยเฉพาะตลาดใหม่ ๆ เพื่อเสริมสร้างโอกาสความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ และแก้ไขปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระบบทวิภาคี (Bilateral) และพหุภาคี (Multilateral)และเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศคู่ค้าสำคัญยกระดับมาตรฐานของประเทศ เพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีโลกและเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่รัฐบาลของดิฉันจะสานต่อจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา

ทั้งนี้ รัฐบาลของเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่ารัฐบาลจะสร้างบทบาทในเวทีโลก ให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ อย่างสมดุล ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ กระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และรักษาบทบาทนำของประเทศไทยในภูมิภาคและอนุภูมิภาค รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ องค์กรทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงของประเทศไทย รัฐบาลจะไม่ละเลยเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • นายกฯ ไทย-ลาว หารือกระชับความร่วมมือปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์และยาเสพติด เสนอแนวทางแก้ปัญหาหมอกควันข้ามแดน พร้อมขยายการค้าสู่เป้าหมายมูลค่าการค้าทวิภาคี 11,000 ล้านดอลลาร์ ภายในปี 2027

    20 ก.พ. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลงระหว่างหน่วยงานไทย-จีน จำนวน 14 ฉบับ  ดูเพิ่มเติม ›

    6 ก.พ. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ และเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ฤดูหนาว ครั้งที่ 9 ณ นครฮาร์บิน ระหวางวันที่ 5-8 ก.พ.68

    5 ก.พ. 2568

  • สภาคองเกรสของสหรัฐฯ ได้เสนอร่างกฎหมาย Restoring Trade Fairness Act เพื่อยกเลิกสถานะ Permanent Normal Trade Relations (PNTR) ของจีน ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดภาษีนำเข้าขั้นต่ำจากจีน 35%

    23 ม.ค. 2568

  • โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศพิจารณาแผนขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเพิ่มเติมกับจีน 10% และเม็กซิโก-แคนาดา 25% โดยอาจเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.พ. 68

    20 ม.ค. 2568

  • มีการหารืออย่างไม่เป็นทางการแบบขยาย (Extended Informal Consultation) ในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน เกี่ยวกับฉันทามติ 5 ข้อ ของอาเซียนในเรื่องสถานการณ์ในเมียนมา

    20 ธ.ค. 2567

  • มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่าง 6 ประเทศ (บังกลาเทศ จีน อินเดีย สปป.ลาว เมียนมา และไทย) เพื่อหารือแก้ปัญหาความมั่นคงชายแดนและอาชญากรรมข้ามชาติ

    19 ธ.ค. 2567

  • โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ระบุว่า 20 ม.ค. 68 จะลงนามในเอกสารที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อเก็บภาษี 25% ของสินค้าทั้งหมดจากเม็กซิโกและแคนาดา และเพิ่มภาษีสินค้าจากจีน 10%

    25 พ.ย. 2567

  • BRICS หรือ BRICS Plus Summit ครั้งที่ 4 ณ เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย ได้เพิ่มประเทศใหม่ 13 ประเทศ รวมไทย เป็นหุ้นส่วนของกลุ่ม หรือเป็นพันธมิตร

    24 ต.ค. 2567

  • ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ วาระปี พ.ศ. 2568-2570 (United Nations Human Rights Council: UNHRC)  ดูเพิ่มเติม ›

    10 ต.ค. 2567

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 45 (แบบไม่เป็นทางการ) ที่ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ (National Convention Centre: NCC) เวียงจันทน์ สปป.ลาว

    9 ต.ค. 2567

  • มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ ยำในถ้อยแถลงในการอภิปรายทั่วไปของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 79 (UNGA79) ที่นครนิวยอร์ก บทบาทไทยเป็นมิตรกับทุกประเทศ  ดูเพิ่มเติม ›

    28 ก.ย. 2567

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ย้ำจุดยืนเดิมจากนโยบายรัฐบาลชุดก่อน

    17 ก.ย. 2567

  • ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศแต่งรัฐมนตรี โปรดเกล้าฯ ‘มาริษ เสงี่ยมพงษ์’ เป็นรมว.ต่างประเทศคนใหม่   ดูเพิ่มเติม ›

    1 พ.ค. 2567

  • ปานปรีย์ พหิทธานุกร รมว.การต่างประเทศ ยื่นหนังสือขอลาออก จากตำแหน่ง หลังถูกปรับเหลือออกจากรองนายกฯ

    28 เม.ย. 2567

  • ลอร์ดแคเมอรอน แห่งชิปปิงนอร์ตัน รมว.ต่างประเทศสหราชอาณาจักร และ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ร่วมลงนามทวิภาคีหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ Thailand - UK Strategic Partnership Roadmap   ดูเพิ่มเติม ›

    20 มี.ค. 2567

  • หวัง อี้ สมาชิกกรมการเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกลางด้านกิจการต่างประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรมว.ต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าพบนายกฯ  ดูเพิ่มเติม ›

    29 ม.ค. 2567

  • ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ และ หวัง อี้ สมาชิกกรมการเมือง รมว.ต่างประเทศจีน ลงนามความตกลงยกเว้นวีซ่าผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาและหนังสือเดินทางกึ่งราชการ  ดูเพิ่มเติม ›

    28 ม.ค. 2567

  • เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกาเข้าพบ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล ย้ำถึงความเป็นพันธมิตรระหว่างทั้งสองประเทศ

    26 ม.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 4 ผ่านระบบการประชุมทางไกล

    25 ม.ค. 2567

  • นายกฯร่วมประชุมสุดยอด ASEAN-Japan ระหว่างวันที่ 14-18 ธ.ค. 2566 ณ กรุงโตเกียว

    25 ธ.ค. 2566

  • เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 30 (2023 APEC Economic Leaders’ Meeting) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ณ นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

    12-19 พ.ย. 2566

  • นายกฯ และคณะ หารือทวิภาคีในโอกาสเดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน – คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council: GCC) ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

    20 ต.ค. 2566

  • ร่วมการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง ครั้งที่ 3 (Belt and Road Forum for International Cooperation: BRF) และเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างเป็นทางการ

    16 ต.ค. 2566

  • นายกฯ และคณะเดินทางเยือน สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมุ่งที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้เป็นหุ้นส่วนที่มองไปข้างหน้าและย้ำความมุ่งมั่นในการร่วมมือกับสิงคโปร์ทั้งในระดับทวิภาคีและอาเซียน

    12 ต.ค. 2566

  • นายกฯ และคณะ เดินทางเยือน สหพันธรัฐมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคี และผลักดันความร่วมมือด้านต่าง ๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรม

    11 ต.ค. 2566

  • นายกฯ และคณะ เดินทางเยือน บรูไนดารุสซาลาม อย่างเป็นทางการ ได้มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคี และประเด็นสำคัญระดับภูมิภาคและโลก

    10 ต.ค. 2566

  • นายกฯ และคณะ เดินทางเยือน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างเป็นทางการ

    8 ต.ค. 2566

  • นายกฯ และคณะ เดินทางเยือน ราชอาณาจักรกัมพูชา อย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของสมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา

    28 ก.ย. 2566

  • นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 ใน ช่วงสัปดาห์ผู้นำ (UNGA78 High-level Week) ที่ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

    18 ก.ย. 2566

  • แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา

    11 ก.ย. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

นโยบายไม่เป็นกลาง
รักษาจุดยืนของการไม่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง ไม่ได้เป็นนโยบายที่เป็นศัตรู

เชิงกระบวนการ

ความร่วมมือระหว่างประเทศ
ร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระบบทวิภาคี (Bilateral) และพหุภาคี (Multilateral)

เชิงการเมือง

เป้าหมายนโยบาย
นโยบายการต่างประเทศเพื่อประชาชน และ มีเป้าหมายชัดเจนเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ ใช้มิติการต่างประเทศเข้ามาช่วยส่งเสริมนโยบายภายในประเทศ

บทความ

ดูทั้งหมด
สงครามการค้าครั้งประวัติศาสตร์ เริ่มนับหนึ่ง

สงครามการค้าครั้งประวัติศาสตร์ เริ่มนับหนึ่ง

สงครามการค้าเริ่มขึ้นแล้ว เมื่อสหรัฐประกาศขึ้นภาษีแคนาดา-เม็กซิโก-จีน พร้อมเตรียมขยับขึ้นกับหลายประเทศเดือนเม.ย.นี้ ขณะที่จีนตอบโต้ทันที โดยนักวิเคราะห์คาดว่าจะส่งผลกระทบมากกว่าครั้งก่อนและเป็นสงครามการค้าครั้งประวัติศาสตร์

ยกแรกสงครามการค้า ไทยรอดแต่ไม่แน่นอนสูง

ยกแรกสงครามการค้า ไทยรอดแต่ไม่แน่นอนสูง

สงครามการค้ารอบแรก หลังสหรัฐประกาศมาตรการภาษีไปหลายประเทศ พร้อมเปิดให้มีการเจรจา กนง.ประเมินยังมีความเสี่ยงต่ำจากผลกระทบจากนโยบายทรัมป์ 2.0 แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง นักวิเคราะห์ประเมินไทยกับอินเดียเสี่ยงสูงเจอมาตรการภาษี

ไทย-ลาว จับมือปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หนุนค้าชายแดน

ไทย-ลาว จับมือปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หนุนค้าชายแดน

ครบรอบ 75 ปี ความสัมพันธ์ไทยและสปป.ลาว นายกรัฐมนตี 2 ประเทศ หารือยกระดับความร่วมมือสร้างความมั่นคงชายแดน ปราบแก๊งคอลเซนเตอร์-ยาเสพติด เห็นพ้องวาระด่วนแก้ฝุ่น PM 2.5 พัฒนาการค้าชายแดนดันมูลค่า 11,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 70

เดือนแรกทรัมป์ 2.0 กระทบอะไรกับไทย ทั้ง"ทางตรง-ทางอ้อม"

เดือนแรกทรัมป์ 2.0 กระทบอะไรกับไทย ทั้ง"ทางตรง-ทางอ้อม"

เดือนแรกของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มเดินหน้านโยบายที่ประกาศไว้ โดยเฉพาะการขึ้นภาษีกับประเทศที่สหรัฐฯเห็นว่าเอาเปรียบตนเอง โดยเฉพาะประเทศยักษ์ในเอเซียอย่างจีน ที่สหรัฐฯประกาศขึ้นภาษี 10% รวมทั้งมีการปรับขึ้นภาษีเหล็กและอะลูมีเนียม ซึ่งจากมาตรการทางภาษีดังกล่าวกระทบต่อไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม

วีซ่าฟรี กระตุ้นการท่องเที่ยวได้แค่ไหน

วีซ่าฟรี กระตุ้นการท่องเที่ยวได้แค่ไหน

นโยบายวีซ่าฟรีเป็นอีกความหวังสำคัญที่จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ รวมทั้งช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้กลับมาคึกคักช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่กำลังซบเซา โดยคาดการณ์ว่าปี 2568 รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะสูงถึง 2.8 ล้านล้านบาท

ยกแรกกำแพงภาษีทรัมป์2.0 ส่งออกไทยได้ประโยชน์

ยกแรกกำแพงภาษีทรัมป์2.0 ส่งออกไทยได้ประโยชน์

ความกังวลสงครามการค้าจากนโยบายทรัมป์ 2.0 จะลดลง หลังจากสหรัฐฯประกาศขึ้นภาษีเม็กซิโก-แคนนาดา แต่ขึ้นภาษีจีน 10% แต่การเตรียมการของสหรัฐฯชี้ให้เห็นว่าความไม่แน่นอนการค้าทั่วโลกยังสูง แม้ว่าไทยจะได้ประโยชน์ในระยะสั้น