ป่าสงวนแห่งชาติทับลาน ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 เมื่อมีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน โดยออกพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าวังน้้าเขียว และป่าครบุรี ในท้องที่ตำบลสะแกราช ตำบลวังน้้าเขียว อำเภอปักธงชัย ตำบลครบุรี ตำบลจระเข้หิน ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี และตำบลสระตะเคียน ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขสะโตน ในท้องที่ตำบลบุพราหมณ์ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอนาดี จังหวัดดปราจีนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
ตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา มีการกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่าสงวน รวมพื้นที่ 1,400,000 ไร่
ต่อมาในวันที่ 6 มี.ค. 2543 มีการแต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานท้องที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี โดยมีค่าพิกัดแผนที่ในระบบ UTM ด้วยเครื่องสัญญาณจากดาวเทียม (จีพีเอส) พร้อมจัดทำตารางบันทึกค่าพิกัดสัญญาณดาวเทียม และลงค่าพิกัดในแผนที่ 1:50,000 โดยให้ยึดถือตามแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานที่ปรับปรุงแล้ว ตามคำสั่งกรมป่าไม้ลงวันที่ 6 ก.ค. 2537 และคำสั่งอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติประจำจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี เป็นหลัก
เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2543 ส่วนวิศวกรรมป่าไม้ รายงานผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ ส่งรายงานและผลการรังวัดปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ตามคำสั่งกรมป่าไม้ลงวันที่ 16 ม.ค. 2543 ทำการรังวัดปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน จ.ปราจีนบุรี จ.นครราชสีมา โดยการยึดถือแนวเขตปรับปรุงตามคำสั่งกรมป่าไม้ ได้ระยะทางทั้งหมด 456.10 กิโลเมตร และฝังหลักเขตพร้อมหมายเลขหลักจำนวน 1,348 หลัก รวมเนื้อที่กันออกทั้งหมด 187,148.14 ไร่
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเรื่องพื้นที่ไม่ค่อยตรงกันนัก โดยข้อมูลจากกรมอุทยานฯ ระบุว่าแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน พ.ศ. 2524 มีประมาณ 1,400,000 ไร่ และแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน พ.ศ. 2534 เนื้อที่ประมาณ 1,236,862 ไร่ โดยผลจากรังวัดทำให้พื้นที่ถูกกันออกไป 273,310 ไร่ แต่มีพื้นที่ผนวกเข้ามา 110,172 ไร่ ทำให้มีพื้นที่ถูกกันออก 163,138 ไร่
สำหรับ One Map เกิดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2562 โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) คาดว่าประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) เพื่อนำไปสู่เอกภาพในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ซึ่งการปรับปรุงแผนที่ One Map เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ตามมาตรา 10 (7) แห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ.2562 ประกอบมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2561 และ วันที่ 24 เม.ย.2562
อย่างไรก็ตาม One Map มักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะปรากฏว่าการใช้ One Map ของบางหน่วยงาน รุกล้ำเข้าไปในเขตพื้นที่ป่าค่อนข้างมาก ซึ่ง One Map ก็เช่นเดียวกับแผนที่อื่น ๆ ที่มักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ตรง
อย่างไรก็ตาม จากการใช้แผนที่ One Map เข้ามาประกอบด้วย ทำให้แนวที่ดินของป่าสงวนแห่งชาติทับล้าน มีถึง 5 แผนที่ กล่าวคือ แนวตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตป่าสงวน พ.ศ. 2524 แนวเขตรังวัดปี พ.ศ. 2543 และ One Map
แต่หากตาม One Map จะทำให้แนวที่ดินป่าสงวนทับลาน จะมีเนื้อที่ประมาณ 1,150,647 ไร่ เท่ากับว่าตามแผนที่ One Map พื้นที่อุทยานแห่งชาติจะมีน้อยกว่าอีก 2 ฉบับก่อนหน้านี้