ในโลกปัจจุบัน เรากำลังเผชิญกับ Disruption คือการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและพลิกโฉม ในหลากหลายมิติ สร้างผลกระทบทั้งในระดับ Global และ Local ปรากฏการณ์ที่สำคัญคือ
- การปฏิวัติทางเทคโนโลยี (Technological Revolution) เช่น AI และ Machine Learning ที่เปลี่ยนแปลงทุกอุตสาหกรรม ทั้งการผลิต การแพทย์ และการเงิน
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) มีภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้น ทั้ง น้ำท่วม ไฟป่า และคลื่นความร้อนจากภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด
- การอพยพย้ายถิ่นฐานจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความขัดแย้งทางการเมือง
- ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Tensions) จากการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจคือ สหรัฐฯและจีน ทั้งในด้านการค้าและเทคโนโลยีสงครามและความไม่สงบ
- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค(Consumer Behavior Shift) จากเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเปลี่ยนแปลงไปสู่ E-commerce และบริการออนไลน์ เช่น Amazon, Shopee, และ Grab รวมถึงเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) เช่น การใช้บริการ Airbnb หรือUber
- การเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพ (Healthcare Revolution) โดยการใช้เทคโนโลยีสุขภาพ เช่น AI , Wearables และ Telemedicine เพื่อให้บริการสุขภาพที่แม่นยำและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น หรือวิกฤตการณ์โรคระบาด เช่น COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตทั่วโลก
- การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาและแรงงาน (Education and Workforce Shift) จากการศึกษาแบบเดิมสู่การเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน โดยการทำงานจากที่บ้าน (Remote Work) และระบบ Freelance Economy
- การเกิดขึ้นของเศรษฐกิจ Metaverse และโลกเสมือนจริง ด้วยการสร้างประสบการณ์ดิจิทัลในพื้นที่ออนไลน์ เช่น การค้าขาย บันเทิง และการท างาน และสุดทายที่เป็นหัวข้อสำคัญของกำรประชุมวิชาการครั้งนี้คือ การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร ที่กำลังพำโลกเข้าสู่สังคมสูงวัยในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ไทย และในยุโรปอีกหลายประเทศ
Disruption เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นแยกส่วนกัน แต่มีความเชื่อมโยงและส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน การเข้าใจและเตรียมตัวรับมือกับปรากฏการณ์เหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้บุคคลและองค์กรสามารถปรับตัวและสร้างโอกาสในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้
การเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” ของประเทศไทย นับว่าเกิดขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก เรากำลังเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่วัยเด็กและวัยแรงงานลดลง ปรากฏการณ์นี้อาจดูเหมือนเป็นความท้าทาย ทั้งในแง่เศรษฐกิจ สุขภาพ การเมือง และสังคม
แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่เราจะนำมาใช้เป็นจุดเปลี่ยนในการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของสังคมไทย เพื่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และร่วมกันผลักดันการพัฒนาประเทศในทุกมิติไปพร้อมกัน
อย่างไรก็ตาม มีสิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับคือ มุมมองของคนไทยต่อ “สังคมสูงวัย” ยังค่อนข้างแคบ หลายคนยังมองว่าสังคมสูงวัยเป็นเรื่องของ “ผู้สูงอายุ” เท่านั้น โดยเน้นไปที่ความจำเป็นในการดูแลสุขภาพ หรือการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงวัย แต่ในความเป็นจริง สังคมสูงวัยคือเรื่องของ “ทุกคน” และทุกช่วงวัยในสังคมในโอกาสนี้ จึงขอเสนอข้อคิดมุมมองเพื่อการเตรียมรับมือสังคมสูงวัยไว้ 5 ประการ คือ
- รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ
- ให้มีกลไกสานพลังแนวราบ
- ปรับสภาพแวดล้อมทั้งในเชิงพื้นที่และกลไก
- ใช้วัฒนธรรม “สังคมเกื้อกูล” เป็นธงนำ
- ขยายผลนวัตกรรมและรูปธรรมความสำเร็จไปสู่วงกว้าง
1. รณรงค์สร้างความรู้ควำมเข้าใจ เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนะมุมมองของสังคมโดยรวมที่มีต่อ “สังคมสูงวัย” ให้เป็นมุมมองที่ถูกต้อง สร้างสรรค์ และเสริมพลังในทางบวก ทัศนะที่สำคัญ เช่น
• “สังคมสูงวัยเป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้น” แต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกคนทุกช่วงวัย ตัวอย่างในระดับครอบครัว การที่คนหนุ่มสาวต้องรับบทบาทเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว อาจส่งผลต่อความสามารถในการทำงาน หรือการขาดระบบสนับสนุนที่ดีอาจทำให้ภาระตกหนักอยู่ที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นอกจากนี้ ยังเกี่ยวพันไปถึงแผนการพัฒนาประเทศในทุกมิติและทุกสาขา ได้แก ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา สุขภาพ สภาพแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี การสื่อสาร และการจัดการทุกภาคส่วน ซึ่งระบบกิจการผู้สูงอายุ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสังคมสูงวัย
• “ผู้สูงอายุคือพลัง ไม่ใช่ภาระของสังคม” หากเรามองผู้สูงวัยในฐานะทรัพยากรทางสังคมอันมีค่า เราจะพบว่าผู้สูงวัยมีศักยภาพที่จะเป็น “ครูชีวิต” ที่ดีได้ เพราะมีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญที่สะสมมาตลอดชีวิต สามารถแบ่งปันกับคนรุ่นใหม่ เป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน และยังสามารถมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้
• “กำรเรียนรู้ตลอดชีวิต” (Lifelong Learning) ได้กลายเป็นทักษะสำคัญที่ไม่จำกัดเฉพาะช่วงวัยใดวัยหนึ่ง แต่เป็นพื้นฐานที่ทุกคนควรมีเพื่อก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้จากหนังสือ ประสบการณ์ หรือผ่านเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านอาชีพและการดำรงชีวิต การเรียนรู้ควรเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับชีวิต คือการลงทุนที่คุ้มค่า ไม่มีคำว่าสายเกินไป
2. ให้มีกลไกสำนพลังแนวราบ เพื่อเป็นเจ้าภาพในการประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วน ให้เข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนงานในลักษณะการนำหมู่ (Collective Leaderships) โดยมีกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน จากการปฏิบัติจริง มีการจัดการความรู้ การสื่อสารทางสังคม เพื่อการรับรู้และเรียนรู้ร่วมกันทั้งสังคมอย่างต่อเนื่อง จะทำให้การสานพลังรับมือสังคมสูงวัยเดินหน้าไปในทิศทางที่สอดคล้องและเสริมพลังกัน
3. ปรับสภาพแวดล้อมทั้งในเชิงพื้นที่และกลไกให้เอื้อต่อกำรดำรงชีวิต การทำงาน และการเรียนรู้ร่วมกันของผู้สูงอายุและคนทุกวัย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ช่วยลดช่องว่างระหว่างวัย รวมถึงช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น และส่งเสริมการพัฒนาสังคมไทยในมิติแห่งความเท่าเทียมและยั่งยืน
4. ใช้วัฒนธรรม “สังคมเกื้อกูล” อันเป็นจุดแข็งของสังคมไทย เป็นธงนำ(Flag ship) เพื่อการขับเคลื่อนงานสานพลังรับมือสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืน เพราะการเข้าสู่สังคมสูงวัยจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้รูปแบบวัฒนธรรมของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น การสร้างกลุ่มชมรม สมาคม หรือเครือข่ายจิตอาสาในรูปแบบต่าง ๆ การสร้างศูนย์ซ่อมและให้ยืมกายอุปกรณ์สำหรับคนสูงอายุ คนป่วย คนพิการ การระดมทุนและทรัพยากรในรูปแบบการทอดผ้าป่า หรือกองบุญ และตัวอย่างที่ดี คือ “ธนาคารเวลา” ที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนสะสม “เวลาช่วยเหลือ” เพื่อใช้ในยามที่ตัวเองต้องการความช่วยเหลือในอนาคต รวมถึงการสร้างเครือข่ายชุมชนในพื้นที่จริง และชุมชนเสมือนจริง
5. ส่งเสริมการขยายผลนวัตกรรมและรูปธรรมความสำเร็จจากการปรับตัวเพื่อรับมือสังคมสูงวัย ในบริบทต่าง ๆ ของแต่ละภาคส่วนในสังคม เช่น
• การปรับตัวของภาครัฐ โดยเฉพาะด้านนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น นโยบายด้านสวัสดิการที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์สังคมสูงวัย , การปรับโครงสร้างพื้นฐานทั้งในเขตเมืองและชนบท ,การปรับระบบการศึกษาให้เท่าทันโลก และเอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการปรับตัวด้านการบริหารจัดการภาครัฐในทุกสาขา โดยการใช้ความรู้และเทคโนโลยีที่เท่าทันกับยุคสมัย และสอดรับกับความจำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชน เป็นต้น
• การปรับตัวของภาคธุรกิจเอกชน เช่น แพลตฟอร์มการจ้างงานออนไลน์การออกแบบงานที่ยืดหยุ่นเหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย การใช้ AI และระบบจัดการงานอัตโนมัติ โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ที่ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิต ช่วยลดความต้องการแรงงานในสายงานที่ใช้กำลังกายและช่วยให้ผู้สูงอายุที่ยังทำงานได้ การใช้ E-comerce ที่เป็นมิตรกับผู้สูงวัย การใช้ระบบช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง การพัฒนาธุรกิจสีดอกเลา การจ้างงานผู้สูงอายุ CSR เพื่อผู้สูงอายุ เป็นต้น
• การปรับตัวของภาคประชาชน เช่น การปลูกฝังวัฒนธรรมการออมตั้งแต่วัยเด็ก หรืออย่างน้อยก่อนเข้าสู่สูงวัย มีการวางแผนทางการเงินและสุขภาพ การดูแลกันและกันภายในครอบครัว โดยส่งเสริมความเข้าใจและความเคารพในบทบาทของผู้สูงอายุการสร้างชุมชนที่เกื้อกูล การรวมตัวกันในรูปแบบชมรมหรือกลุ่มอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือกันในชุมชน การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการสร้างอาชีพ การบริการ การดูแลช่วยเหลือยามฉุกเฉิน การใช้ศักยภาพของผู้สูงอายุในชุมชนให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่า เป็นต้น
“ขอย้ำว่า การพัฒนาสังคมไทยให้เข้มแข็งและยั่งยืนในบริบทของสังคมสูงวัย ต้องอาศัยความร่วมมือของคนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัยในสังคม”
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:
กองทุนประกันสังคม: ถึงเวลาปรับใหญ่ก่อนเผชิญวิกฤต