นายกรัฐมนตรี บอกปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นวาระอาเซียน แต่หากย้อนกลับไปในช่วง 30 ปี จะพบว่าการแก้ฝุ่นข้ามแดนของอาเซียนกลับไม่ประสบผลสำเร็จเลยสักครั้ง เพราะไม่มีสภาพบังคับต่อกัน และเมื่อเกิดการเผาจนฝุ่นฟุ้ง ไทยก็ทำได้เพียงเชิญเพื่อนบ้านมาปรึกษาหารือเท่านั้น
หลายปีมานี้ คนไทย โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในภาคเหนือ ต้องเผชิญกับวิกฤต PM 2.5 ที่สูงเกินค่ามาตรฐาน จนอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงมกราคม-มีนาคมของทุกปี
ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่มาทุกปี เป็นเรื่องที่แก้ไขยาก แม้รัฐบาลมีแนวทางที่จะดำเนินการผ่านหลายหน่วยงาน แต่ดูเหมือนยังขาดความจริงจัง ตั้งแต่กลไกการทำงานจนถึงการจัดสรรงบประมาณ ทำให้แก้ปัญหาล้มเหลว ขณะที่ตัวแทนท้องถิ่นชี้รัฐบาลต้องกระจายอำนาจในการตัดสินใจ
การพิจารณา ร่างกฎหมายอากาศสะอาด กำลังเข้าสู่ช่วงสำคัญในชั้นกรรมาธิการวิสามัญฯ กับการหลอมรวมเนื้อหาจาก 7 ร่าง เพื่อทำให้เนื้อหาที่ออกมาสมบูรณ์ที่สุดและสามารถออกแบบกลไกการทำงานเพื่อติดตามการป้องกันมลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อรัฐบาลออกมาตรการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 แต่กลับไร้ผล และยิ่งเพิ่มปริมาณฝุ่นพิษในอากาศมากขึ้นทุกปี เนื่องจากข้อจำกัดใจเชิงโครงสร้าง และกรอบกฎหมายที่ไม่ชัดเจน ธนาคารโลกจึงเสนอแนวทางนโยบายแก้ปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนช่วยกัน