ครม.เห็นชอบงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมงบปี 67 วงเงิน 122,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ดันงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 805,000 ล้านบาท เหลือวงเงินกู้ได้เพียงหมื่นล้าน เกือบติดเพดาน
ครม.รับทราบผลการดำเนินการพิจารณา 4 ข้อของคณะกรรมการนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตตามข้อเสนอแนะของป.ป.ช. แต่ยังมีอีกหลายประเด็นยังไม่ได้พิจารณา
สำรวจความเห็นคนไทย หากได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาทจากรัฐบาล จะนำไปใช้จ่ายกับอะไร เลือกซื้อสินค้าที่ร้านประเภทไหน และมีวิธีบริหารเงินที่ได้มาอย่างไรบ้างให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายส่วนตัว
การระดมเงินเพื่อใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต อาจไม่ง่าย เพราะสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ที่จะให้รัฐบาลกู้เงินมีจำกัด อีกทั้งกระทบการขายตราสารหนี้ของเอกชนจากปริมาณตราสารหนี้ของรัฐที่เพิ่มเข้ามาในตลาดมากขึ้น รวมถึงในช่วงที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ยังอยู่ในระดับสูงจะกดดันต้นทุนในการระดมทุน
ธปท.แสดงความกังวล 5 ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับโครงการเติมเงิน 10,000 บาท หรือดิจิทัลวอลเล็ต ตามพ.ร.บ.เงินตรา และพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ แนะอยากเห็นช่วยเฉพาะกลุ่ม และแผนลดภาระหนี้ที่เกิดขึ้น รวมถึงความปลอดภัยใน ซูเปอร์แอฟ (Super App) ระบบชำระเงินแบบใหม่ที่รัฐบาลกำลังจะสร้างรองรับ
นโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เริ่มมีความไม่แน่นอนเสียแล้วว่าจะเดินหน้าต่อได้หรือไม่ หลังจากคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อตรวจดูอีกครั้งว่าโครงการนี้จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่
รัฐบาลปรับปรุงแผนการก่อหนี้สาธารณะ เพิ่มขึ้นอีก 5.6 แสนล้านบาท ทำให้สัดส่วนหนี้สาธาณะของไทยจะอยู่ที่ 61.29% ของจีดีพี (GDP) โดยในแผนมีการเพิ่มวงเงินกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ เป็นผลมาจากงบประมาณปี 67 ที่ล่าช้า ค้ำประกันเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจ รวมถึงขยายวงเงินกู้เสริมสภาพคล่อง กฟผ. และกองทุนน้ำมันฯ
ผศ.ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอบทความ "เศรษฐศาสตร์เรื่องการแจกเงินดิจิทัล" ย้ำถึงจุดยืนคัดค้านการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านั้น เป็นหนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์ลงชื่อคัดค้านนโยบายนี้ ชี้ให้เห็นหลักทางเศรษฐศาสตร์ว่ามองอย่างไรก็ไม่คุ้มค่า
อะไรคือนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยควรลดหรือไม่? เป็นข้อถกเถียงในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เมื่อรัฐบาลเผชิญกับปัญหาเรื่อง "นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต" และเรียกร้องให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย ซึ่ง ดร.สมชัย จิตสุชน อดีตกรรมการ กนง. มีคำตอบ