ThaiPBS Logo

แก้ไขปัญหาไฟป่า กองทัพเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการ

ไฟป่าเป็นอีกปัญหาที่ส่งผลกระทบรุนแรงในหลายมิติ และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความพยายามระดมสรรพกำลังเข้าไปร่วมแก้ปัญหาตั้งแต่การวางแผนป้องกันและมาตรการระงับเหตุ แต่ด้วยพื้นที่ที่กว้างและทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดทำให้การแก้ปัญหายังจุดอ่อนในหลายประเด็น นำมาสู่ข้อเสนอให้กองทัพเข้ามาเป็นหน่วยงานหลักแก้ปัญหา

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

เริ่มต้นนำเสนอนโยบาย

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

ขั้นตอนดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศไว้

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

ภาพรวม

รายละเอียด

ไฟป่าส่วนมากไม่ใช่ภัยธรรมชาติแต่เกิดจากมนุษย์เป็นคนจุดไฟขึ้นมาและมีท่าทีของความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยความเสียหายต่อปีอยู่ที่ 9 ล้านไร่ ซึ่งการเผาชีวมวลนี้สร้างปัญหาหมอกควันให้ประเทศไทย ไฟป่าในไทยส่วนใหญ่เป็นไฟป่าชนิดเลียดดิน ที่กำลังเดินของมนุษย์เร็วกว่าการขยายตัวของไฟแต่การเดินไปที่จุดเพลิงไหม้ต้องใช้พลังและเวลาในการแบกน้ำ

ถึงแม้จะเป็นไฟที่สามารถดับได้ง่ายแต่ความไม่พร้อมจึงไม่สามารถระงับได้ทัน หลังจากภัยพิบัติไฟป่าก็เกิดภูเขาหัวโล้นซึ่งจะเป็นปัญหาในฤดูน้ำหลาก ที่น้ำไหลโดยไม่ผ่านต้นไม้ด้วยอัตราเร่งที่เร็วจึงสร้างความเสียหายทางภัยพิบัติอย่างมาก และเมื่อถึงหน้าแล้งที่ไม่มีต้นไม้โอบอุ้มความชื้นก็จะทำให้มีความแห้งแล้ง เมื่อฤดูไฟมาถึงก็เกิดภัยพิบัติไฟป่าเป็นวงจรซ้ำ ๆ ที่เกิดขึ้นทุกปี  สมบัติ บุญงามอนงค์ จึงมีข้อเสนอ การแก้ปัญหาไฟป่า ได้แก่

  • เสนอให้นำ โดรน อากาศยานบังคับจากระยะไกล มาใช้ระบุตำแหน่งของไฟป่าที่สามารถเข้าถึงจุดไฟได้อย่างรวดเร็ว และสามารถเห็นรูปร่างรวมไปถึงพฤติกรรมของไฟป่า เพื่อใช้ในการออกแบบวางแผนการระงับไฟป่า เครื่องมือนี้จึงสำคัญเพื่อให้การระงับไฟป่าเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้ารอภาพจากดาวเทียมทุก 12 ชั่วโมงช้าเกินไป
  • รถจักรยานยนต์วิบาก ยานพาหนะในการเข้าพื้นที่เนื่องจากการเดินเท้าต้องใช้เวลาและกำลัง พร้อมทั้งพื้นที่ป่ามีความยากลำบากในการเข้าถึง การที่มียานพาหนะจะช่วยให้เข้าระงับเพลิงไหม้ได้เร็วขึ้นและเพิ่มกำลังในการขนส่ง
  • การสร้างสถานีน้ำ เสนอให้เพิ่มจุดน้ำไว้ตามจุดต่าง ๆ ที่บรรจุไว้ในแกลลอนเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้าย โดยคุณ สมบัติ ได้พูดถึงในสถานการณ์จริงที่ไปช่วยดับไฟป่าว่า “ผมไม่เคยแพ้ไฟใดเลยหากเรามีน้ำ” น้ำจึงเป็นทรัพยากรสำคัญในการช่วยให้การดับไฟนั้นมีประสิทธิภาพ
  • ทรัพยากรมนุษย์ในการจัดการปัญหาไฟป่า ไฟจำนวนนึงหากจำนวนคนไม่เพียงพอต่อการดับไฟ ไฟกลุ่มนั้นจะทวีความรุนแรงและความเสียหายจะขยายเป็นวงกว้าง จากพฤติกรรมนี้การดับไฟป่าจึงไม่สามารถดับได้ทันก่อนที่จะเข้าฤดูฝน ทรัพยากรมนุษย์ที่เพียงพอจึงจะช่วยให้การดับไฟได้สัดส่วน จึงเชิญชวนให้กองทัพที่มีกำลังพลเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นแกนนำหลักและสนับสนุนในการดับไฟป่าร่วมกันกับกรมป่าไม้และกรมอุทยาน 

 

ความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องกับนโยบาย ภัยพิบัติ แก้ไขปัญหาไฟป่า

อุทัย ฟูวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริก จังหวัดเชียงราย

เห็นด้วยกับการจัดหาทรัพยากร โดรน อากาศยานบังคับ เพื่อจับจุดความร้อนของไฟป่า และเห็นด้วยที่นำกองทัพมาเป็นกำลังสำคัญในการดับไฟป่า ด้วยที่กองทัพมีกำลังพลที่แข็งแรงการฝึกฝนทหารเพื่อดับไฟป่าก็จะเป็นหน่วยงานที่สำคัญในการดับไฟป่าในอนาคต

 

ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ รองประธานคณะกรรมมาธิการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณะภัย

เสนอให้มีการแก้ระเบียบที่ภาครัฐจ่ายค่าตอบแทนให้หน่วยอาสาดับไฟป่าที่ทำได้เพียงการจ่ายในอัตราที่จำกัด 300 บาทซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำ จึงเสนอให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดับไฟป่าได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผลต่อวัน และแก้ระเบียบในเรื่องให้ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดซื้อประกันชีวิตให้คนที่เข้ามาช่วยในการดับไฟป่า ส่วนหลังปฏิบัติการควรมีมาตรการในการตรวจประเมินสุขภาพของจิตอาสาที่มาช่วยดับไฟป่าเพื่อตรวจเช็คผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติงาน และยังเสนอให้มีระบบเก็บข้อมูลและประเมินผลปรับจากการประเมินผลจากจุดความร้อน Hot Spot เป็นจุดเผาไหม้ Burn Scar จึงจะสามารถประเมินค่าได้ชัดเจน และเมื่อเกิดจุดความร้อนหรือไฟป่าหน่วยงานไหนจึงจะสามารถเข้าไปควบคุมไฟ

 

พล.ต. นภัทร ศรีธนโชต เลขาธิการกองอำนวยการรักความมั่นคงภายใน ภาค 3

ยินดีให้ความร่วมมือในการที่จะนำกำลังพลเข้าช่วยบรรเทาทุกข์ของพี่น้องประชาชนเมื่อมีภัย และในปีนี้ก็ได้เตรียมความพร้อมโดยการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ที่กรมทหารราบที่ 7 ซึ่งถ้าฝึกให้ชำนาญร่วมกับทีมดับไฟป่าก็จะสามารถเป็นกำลังหลักในการดับไฟป่าได้ในอนาคต

 

สมบัติ เพิ่มเติมว่า เข้าใจว่าทหารปกติมีบทบาทในการช่วยดับไฟป่าในทุก ๆ ปี แต่ทำในด้านที่เป็นฝ่ายสนับสนุน ข้อเสนอจึงอยากให้กองทัพมีหน้าที่เทียบเท่ากับกรมที่ดูแลเรื่องของไฟป่า ซึ่งทางกองทัพมีกองกำลังวัยหนุ่มที่มีพละกำลัง รัฐบาลต้องสนับสนุนอุปกรณ์เพื่อพัฒนากองกำลังเหล่านี้เป็นหน่วยดับไฟป่า 

 

ภาคประชาชน

พูดถึงเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านว่าจะมีมาตรการป้องกันภัยพิบัติร่วมกันอย่างไร

สมบัติ กล่าวว่า ประเทศเพื่อนบ้านประสบสถานการณ์เดียวกันและหนักกว่า เนื่องจากไม่มีหน่วยดับไฟป่า และเทคโนโลยีดับไฟป่าในไทยก็ค่อนข้างเป็นเรื่องที่ใหม่ เราต้องเป็นผู้นำในการผลักดันเรื่องนี้ในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ซึ่งถ้าเราทำได้ก็จะสามารถถ่ายทอดให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านได้เช่นกัน

 

สรุปข้อเสนอนโยบาย

  1. จัดซื้อ โดรน อากาศยานบังคับจากระยะไกล มาใช้ระบุตำแหน่งของไฟป่า
  2. จัดซื้อหรือดัดแปลงรถจักรยานยนต์วิบาก เพื่อใช้เป็นยานพาหนะในการเข้าพื้นที่
  3. สร้างสถานีน้ำ เสนอให้เพิ่มจุดน้ำไว้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อการดับไฟที่มีประสิทธิภาพ
  4. เสนอให้เพิ่มบทบาทของกองทัพในการเป็นกำลังหลักในการดับไฟป่า และเพิ่มทรัพยากรมนุษย์ในการจัดการปัญหาไฟป่า

 

 

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

จัดซื้อ โดรน อากาศยานบังคับจากระยะไกล
มาใช้ระบุตำแหน่งของไฟป่า
จัดซื้อหรือดัดแปลงรถจักรยานยนต์วิบาก
เพื่อใช้เป็นยานพาหนะในการเข้าพื้นที่
สร้างสถานีน้ำ
เพิ่มจุดน้ำไว้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อการดับไฟที่มีประสิทธิภาพ

เชิงกระบวนการ

เพิ่มบทบาทกองทัพ
ในการเป็นกำลังหลักในการดับไฟป่า และเพิ่มทรัพยากรมนุษย์ในการจัดการปัญหาไฟป่า

Policy Forum

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

กองทัพฝุ่นมลพิษไฟป่า
_