สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยรายงานภาวะการคลังของรัฐบาลไทย ในไตรมาส 2 ปีงบประมาณปี 2567 (ม.ค.-มี.ค.67) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ 575,376.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ 4.7% (YoY) เป็นผลมาจาก
- การเก็บภาษีสรรพสามิตรน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันเพิ่มขึ้น
- จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธนรรมดาเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
- การนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งรายได้สัมปทานในกิจการปิโตรเลียมของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
- การเก็บภาษีเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงอัตรภาษีความหวาน และ
- จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้น
ครึ่งปีแรกรัฐเก็บรายได้พลาดเป้า 2.3%
ส่งผลให้รวม 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 รัฐบาลจัดเก็บภาษีได้รวมสุทธิ 1.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2.3% ปัจจัยหลักจากมาตรการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซิน รวมถึงมาตรการสนับสนุนนรถยนต์ไฟฟ้า
ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลในไตรมาส 2 มีการเบิกจ่ายรวม 671,897.2 ล้านบาท ลดลงจากช่วยเดียวกันของปีก่อน 17.7% ประกอบด้วย การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ที่ 570,697.1 ล้านบาท ที่ลดลง 19.6% แบ่งเป็น
- รายจ่ายประจำปี 529,465.3 ล้านบาท ลดลง 11.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการเบิกจ่าย 19.7% เทียบกับ 23.4% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
- รายจ่ายลงทุน 41,231.8 ล้านบาท ลดลง 62.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการเบิกจ่าย 5.2% เทียบกับ 17.7% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความล่าช้าของการประการใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.25674
ขณะเดียวกันมีการเบิกจ่ายงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปีจำนวน 36,431.1 ล้านบาท ลดลง 18.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีอัตราเบิกจ่าย 22.8% และการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ที่ 76,238.9 ล้านบาท ทรงตัวใกล้เกียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เมื่อรวม 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 มีการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐรวม 1.7 ล้านล้านบาท ลดลง 13.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แบ่งเป็น
- การเบิกจ่ายจากงบปรมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ที่ 1.48 ล้านล้านบาท มีอัตราเบิกจ่าย 42.6% ลดลงจาก 53.1% ในช่วงเดียวกันปีก่อน
- การเบิกจ่ายงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี 90,052.3 ล้านบาท ลดลง 12.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ที่ 169,474.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.3%จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หนี้สาธารณะเพิ่ม 63.4% ขยับใกล้เพดาน
ด้านหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน ม.ค. 2567 มีมูลค่ารวม 11.4 ล้านล้านบาท คิดเป็น 63.4% (เพดานหนี้สาธารณะ 70%) ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี (GDP) เพิ่มขึ้นจาก 61.9% ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 ประกอบด้วย เงินกู้ภายในประเทศ 11.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 98.77% ของด้านหนี้สาธารณะทั้งหมด และเงินกู้จากต่างประเทศ 141,359.5 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.23% ของด้านหนี้สาธารณะทั้งหมด
- หนี้รัฐบาล 10 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 87.9%
- หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่เป็นสถาบันการเงิน 1.07 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 3%
- หนี้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ที่ 202,269.2 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.8%
- หนี้หน่วยงานของรัฐ 111,874.8 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1%
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. ระบุว่า หนี้ครังเรือนที่อยู่ในระดับสูงยังคงต้องเฝ้าจับตา แม้ธนาคารพาณิชย์จะมีมาตราการลดดอกเบี้ยช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางไปแล้ว ทั้งนี้มองว่าเพิ่มสภาพคล่องกลุ่มธุรกิจ SME ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น และต้องเร่งปรับโครงหนี้สร้างของลูกหนี้ เพื่อชะลอการเติบโตของหนี้ครัวเรือน
เรื่องของดอกเบี้ยที่จะต้องดูในแง่ SME หรือภาคครัวเรือน ที่น่าจะต้องมีการพูดคุยกัน โดยเฉพาะในเรื่องของ ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ที่ยังคงมีการพูดกันอยู่ แต่ในช่วงที่ผ่านมาต้องขอบคุณธนาคารพาณิชย์ที่มีการลดดอกเบี้ยลงไปสำหรับกลุ่มเปราะบาง 0.25% ก็น่าจะช่วยได้ แต่ส่วนที่เหลือ มันก็ต้องมีความระมัดระวังเช่นกัน เพราะหนี้ครังเรือนยังอยู่ในระดับสูง เพราะฉะนั้นต้องไปเน้นในแง่ของการให้ SME เข้าถึงเงินทุนได้มากขึ้น มีสภาพคล่องดีขึ้น และเรื่องของการช่วยเหลือ ลดภาระลูกหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้เป็นราย ๆ ไป คงต้องเร่งดำเนินการ เพื่อให้หนี้ครัวเรือยอยู่ในระดับที่ไม่เพิ่มขึ้น เพราะที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ ก็มีการระมัดระวังมากขึ้นในการให้สินเชื่อ อย่างที่เราเห็นกัน ส่วนหนึ่งส่งผลไปที่การซื้อสินค้า โดยเฉพาะสินค้าคงทนที่เป็นยานพาหนะ
สำหรับฐานะการคลัง ในไตรมาส 2 รัฐบาลขาดทุนงบประมาณ 60,800 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 14,423 ล้านบาท และมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 240,350 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลยังคงขาดดุลเงินสดหลังกู้สุทธิ 165,127 ล้านบาท เมื่อรวมกับเงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสแรก ส่งผลให้เงินคงคลังสิ้นเดือน มี.ค. อยู่ที่ 374,743 ล้านบาท
เมื่อรวม 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 รัฐบาลขาดทุนงบประมาณ 60,800 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 24,469 ล้านบาท และมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 260,350 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลยังคงขาดดุลเงินสดหลังกู้สุทธิ 164,313 ล้านบาท
เครดิตไทย “มีเสถียรภาพ” จับตาบริหารหนี้สาธารณะ