การก่อหนี้ของรัฐบาลส่งกระทบต่อฐานะการคลังในอนาคต ปัญหาโครงสร้างการเมืองการปกครอง รวมถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการเติบโตระยะยาว กำลังคุกคามความน่าเชื่อถือของประเทศ SCB EIC มองว่ายังอาจทำให้ไทยถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ และจะส่งผลกระทบหนักหลายด้าน แนะรัฐบาลควรเร่งวางแผนระยะยาว
“หนี้” เป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดสรรทรัพยากรระหว่างปัจจุบันและอนาคต ทำให้เรามีทรัพยากรที่สมดุลระหว่างเวลามากขึ้น แต่หากสร้างหนี้มากเกินไปก็จะนำไปสู่ “ปัญหาหนี้” ที่จะส่งผลให้คนหรือสังคมมีความเป็นอยู่ที่แย่ลงในระยะยาว
ครม.อนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปี 2568 โดยก่อหนี้ใหม่เพิ่มอีก 6.17 หมื่นล้านบาท รวม 1.2 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่กู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ บอร์ดนโยบายฯยันสัดส่วนหนี้ยังอยู่ในกรอบกฎหมาย
การทำนโยบายที่เน้นประชานิยมเอาใจประชาชน สะท้อนถึงปัญหา "การมองสั้น" ของรัฐบาล และกำลังสร้างปัญหาให้ไทยในอนาคต โดยเฉพาะรายได้รัฐบาลของที่มีแต่ลดลง แต่กลับยังสร้างภาระหนี้เพิ่มมากขึ้น มีความเสี่ยงหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
หนี้สาธารณะขยับขึ้นเป็น 65.74% ของจีดีพี จากเพดานตามกฎหมายที่ 70% แต่สัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้เสี่ยง แตะ 33.76% จากเพดาน 35% โดยมาจากการปรับงบประมาณและแผนก่อหนี้ ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงท้ายปีงบประมาณ แจกเงิน 10,000 บาท กลุ่มเปราะบาง
คาดเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำในปี 2024 และ 2025 ที่ 2.5% และ 2.6% ตามลำดับ ภาคการท่องเที่ยวยังเป็นแรงหนุนหลัก ขณะที่โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ช่วยได้ไม่มากและชั่วคราว แต่มีความเสี่ยงให้หนี้สาธารณะพุ่งขึ้นชนเพดานในปี 2027 เพราะใช้วงเงินสูง รัฐบาลต้องกู้เงินมาเดินหน้าโครงการ
สศช.รายงานเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 67 ขยายตัว 2.3% แต่คาดทั้งปีเติบโตลดลงเหลือ 2.8% มีแรงกดดันจากหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง สถาบันการเงินเข้มงวดสินเชื่อ ขณะที่ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอ
AMRO มองนโยบายการเงินไทยเหมาะสม แต่แนะให้ลดการขาดดุลการคลัง ด้วยการปฏิรูปจัดเก็บภาษี รองรับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และต้องปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพในระยะยาว ทำให้ตรงจุดและตามแผนที่วางไว้
ขณะที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้จีดีพีของประเทศขยายตัวมากกว่า 3% ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น แต่อาจไม่ง่าย เพราะศักยภาพของเศรษฐกิจไทมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่า 2% เนื่องจากปัญหาโครงสร้าง ทั้งขีดแข่งขันของประเทศ แรงงานเข้าสู่สังคมสูงอายุ ทำให้ศักยภาพแต่กว่าทุกวิกฤตที่ผ่านมา
ธนาคารโลกแนะไทยต้องขึ้นภาษี ลดความเสี่ยงทางการคลัง คาดปี 68 หนี้สาธารณะไทยจะสูงขึ้นที่ 64.6% ต่อจีดีพี รัฐบาลจะเผชิญแรงกดดันด้านรายจ่ายสูงขึ้นจากสังคมสูงวัย และขยายการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ธนาคารโลกชี้การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ต้องดำเนินอย่างจริงจัง ในระดับ "เปลี่ยนกระบวนทัศน์" เพื่อปลดล็อคศักยภาพการเติบโตของเมืองรอง และช่วยหนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ระบุกรุงเทพฯกลายเป็น "เมืองโตเดี่ยว" ที่เติบโตมากที่สุดเมืองหนึ่งของโลก จนรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ไหว
สัญญาณเตือนวิกฤตทางการคลัง ย้อนดูการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลลดลงต่อเนื่องในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ท่ามกลางรายจ่ายประจำที่เพิ่มมากขึ้นจากสวัสดิการข้าราชการและสังคมสูงอายุ กำลังเสี่ยงกลายเป็นวิกฤตการคลังครั้งใหญ่ของไทยในอนาคตอันใกล้
ดิจิทัลวอลเล็ต ทำให้รัฐบาลทบทวนแผนการคลังระยะปานกลางครั้งที่ 2 หลังหันมาใช้งบประมาณดำเนินโครงการแทนออกพระราชบัญญัติกู้เงิน ส่งผลให้หนี้สาธารณะขยับขึ้นในปีนี้ ทะลุ 65% ของจีดีพี และคาดว่าในปี 2571 จะเพิ่มเป็น 68.6% ของจีดีพี
สศช.เผยฐานะการคลังไทยครึ่งปีงบประมาณ 67 รัฐเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 2.3% เหตุมาตรการลดภาษีน้ำมัน แต่ยังกู้เงินมากขึ้น หนุนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 63.4% ขยับใกล้กรอบเพดาน
มูดี้ส์จัดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยมี "เสถียรภาพ" แต่ยังกังวลการบริหารจัดการหนี้ แม้ไม่ห่วงเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ เช่นเดียวกับสถาบันการจัดอันดับอื่น ที่ประเมินว่าไทยยังไม่มีปัญหาการชำระหนี้ในระยะสั้น ท่ามกลางการขยายตัวเศรษฐกิจในเกณฑ์ต่ำ
ธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ต่ำกว่าคาดการณ์เดิม จากส่งออกชะลอและงบประมาณล่าช้า ประเมินดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น 1% แต่หนี้สาธารณะเพิ่ม เตือนเงินเฟ้อจะขยับ ไม่มีกระสุนสำรองรับความเสี่ยงกรณีน้ำมันโลกพุ่งจากสงคราม
รัฐบาลปรับปรุงแผนการก่อหนี้สาธารณะ เพิ่มขึ้นอีก 5.6 แสนล้านบาท ทำให้สัดส่วนหนี้สาธาณะของไทยจะอยู่ที่ 61.29% ของจีดีพี (GDP) โดยในแผนมีการเพิ่มวงเงินกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ เป็นผลมาจากงบประมาณปี 67 ที่ล่าช้า ค้ำประกันเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจ รวมถึงขยายวงเงินกู้เสริมสภาพคล่อง กฟผ. และกองทุนน้ำมันฯ
นโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ยังมีข้อถกเถียงในหลายประเด็นถึงเหตุผลและความจำเป็น แต่เบื้องหลังข้อถกเถียงต่อนโยบายแจกเงินดิจิทัลในครั้งนี้ คือ ฐานคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลย้ำว่าเศรษฐกิจ "วิกฤต" จำเป็นต้องมีการกระตุ้น ในขณะที่ฝ่ายค้านอย่างพรรคก้าวไกลมองว่ายังไม่ถึงขั้นวิกฤต
เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง แถลงความคืบหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หลังจากมีความล่าช้าจากที่คาดการณ์ไว้และเกิดกระแสวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นการแถลงในรายละเอียดครั้งแรกของนายเศรษฐาและยืนยันว่ารัฐบาลจะดำเนินการนโยบายนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ