ไทยต้องลดขาดดุลการคลัง ปฏิรูปตรงจุด-ทำให้ได้ตามแผน
AMRO มองนโยบายการเงินไทยเหมาะสม แต่แนะให้ลดการขาดดุลการคลัง ด้วยการปฏิรูปจัดเก็บภาษี รองรับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และต้องปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพในระยะยาว ทำให้ตรงจุดและตามแผนที่วางไว้
พื้นฐานเศรษฐกิจย่ำแย่กว่าเดิม เสี่ยงสูง-ฉุดเงินบาทอ่อน
ปัจจัยพื้นฐานในประเทศที่เปราะบางกว่าในอดีต เตรียมรับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนสูง ทั้งการเมืองในประเทศ เศรษฐกิจโลกและความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ ประเมินแนวโน้มค่าเงินบาทถึงสิ้นปี 2567 ผันผวนมากขึ้น หลังครึ่งปีแรกอ่อนค่าสุดในเอเชีย
“เงื่อนไข-ความเสี่ยง” ต้องรู้ ก่อนลงทุน Thai ESG
ตลาดทุนไทยอยู่ในภาวะซบเซา หลังนักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นและตราสารหนี้ไทยรวมครึ่งปีแรก 2567 ทะลุ 1.8 แสนล้านบาท ทำให้ล่าสุดรัฐบาลปรับเงื่อนไขใหม่ของกองทุน Thai ESG ลดเวลาถือครองสั้นลง และเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษี เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนนำเงินมาลงทุนในตลาดทุนไทยมากยิ่งขึ้น
ลดภาษีเงินได้ ดึงแรงงานทักษะสูงกลับบ้าน
รัฐบาลเคาะมาตรการเชิญชวนแรงงานไทยทักษะสูงในต่างแดน กลับเข้ามาทำงานในไทยเพื่อช่วยพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ด้วยการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทเอกชน มีผลถึงปี 2572
หนี้ครัวเรือน-สังคมสูงวัย ฉุดเศรษฐกิจไทยโตต่ำ
ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยพูดกันมานาน แต่ยังไม่มีรัฐบาลไหนแก้ไขได้ เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว รัฐบาลในแต่ละยุคก็มักจะใช้มาตรการกระตุ้นระยะสั้น แต่จากสถานการณ์หลังโควิด-19 หลายประเทศพื้นตัวเร็ว แต่ไทยยังย่ำแย่ สะท้อนให้เห็นปัญหารุนแรงขึ้นจากปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงและสังคมสูงอายุ ฉุดบริโภคในประเทศ
ส่องประเทศพัฒนาแล้ว ทำไมหนี้ครัวเรือนไทยจึงน่ากลัว
หนี้ครัวเรือนกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของไทย เพราะสูงเกิน 90% ต่อจีดีพีมานานหลายปี และส่วนใหญ่เป็นหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งบั่นทอนการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาว ในขณะที่หากไปดูบางประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนา แม้มีหนี้ครัวเรือนระดับสูง แต่เป็นหนี้ที่ลงทุนเพื่ออนาคต
ตรวจแถวนโยบายรัฐบาล หาคำตอบว่าทำไมเราต้องสนใจ
นโยบายสาธารณะ หรือนโยบายรัฐบาลได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ และยิ่งการเมืองยุคประชานิยม"สุดขั้ว" อาจสร้างความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง ศาสตราจารย์มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด นักเศรษฐศาสตร์ ในฐานะประธานมูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ให้มุมมองว่าทำไมเราต้องสนใจ และวิจารณ์หลายนโยบายของรัฐบาลว่าทำไมไม่สมเหตุสมผล
รู้จัก Business Ready (B-READY) ใช้แทน Doing Business
Business Ready (B-READY) ดัชนีวัดความยากง่ายของการทำธุรกิจตัวใหม่กำลังจะเริ่มมีการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการน่าลงทุนของแต่ละประเทศ โดยเป็นดัชนีตัวใหม่ที่ธนาคารโลกใช้เวลาพัฒนามาหลายปี เพื่อทดแทน Doing Business ที่เผชิญกับปัญหาความโปร่งใสเสียเอง ทำให้ต้องหาวิธีการจัดอันดับใหม่
“ภาษีความหวาน”ล้มเหลว คนยังบริโภคน้ำตาลสูง-ของแพง
รัฐบาลมีนโยบายเก็บภาษีความหวาน หวังให้คนไทยบริโภคน้ำตาลน้อยลง และรักษาสุขภาพมากขึ้น แต่คนไทยยังนิยมบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง กลับทำให้ผู้ผลิตเครื่องดื่มมีต้นทุนสูงขึ้น และผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากภาษีไปที่ผู้บริโภค ด้วยการเพิ่มราคาสินค้า