นโยบายหวังผลระยะสั้น ทำสังคมไทยติดกับดักหนี้
ผู้ว่าธปท.มองปัญหาหนี้ของประเทศรุนแรงขึ้น เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ การแก้ปัญหาต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย และต้องขจัดอคติเพื่อหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน วิจารณ์นโยบายรัฐบาลที่ผ่าน ๆ มา มุ่งเน้นเห็นผลระยะสั้น ไม่คำนึงผลระยะยาว เป็นตัวซ้ำเติมวิกฤติหนี้ยืดเยื้อและแก้ไขยากขึ้นในอนาคต
ทำไมรัฐบาลเพื่อไทย ไม่มีนโยบายแก้คอร์รัปชัน
คำแถลงนโยบายรัฐบาลของนาวสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความคล้ายกับของนายเศรษฐา ทวีสิน ในหลาย ๆ นโยบาย และที่คล้ายกันอย่างน่าประหลาดใจคือ ทั้งสองรัฐบาลไม่มีการระบุเกี่ยวกับนโยบายการปราบปรามการทุจริต ราวกับว่าสังคมไทยไม่มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล
ส่องร่างพ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร เปิด”บ่อนเสรี”
ธุรกิจบ่อนพนันกาสิโนถูกกฎหมายในไทยใกล้เป็นจริงมากขึ้น หลังรัฐบาลเพิ่งปิดรับฟังความเห็นร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร หวังดันเป็นเครื่องยนต์กระตุ้นเศรษฐกิจตัวใหม่และดึงเม็ดเงินลงทุนเข้ามาในประเทศ
ลูกหนี้ผิดนัดพุ่ง แบงก์ขยับตั้งสำรอง 5.1 หมื่นล้านบาท
ธปท.เผยสถานการณ์หนี้ไทยยังแย่ต่อเนื่อง ตัวเลขหนี้เสีย หรือ NPL ในไตรมาส 2 ปี 67 ปรับเพิ่มขึ้นทั้งระบบ โดยเฉพาะหนี้เสียกลุ่มบัตรเครดิตและบ้านที่ขยับขึ้นมากสุด พร้อมจับตามการชำระหนี้ธุรกิจ SMEs และหนี้ครัวเรือน คาดอาจหนุนให้หนี้เสียทยอยเพิ่มขึ้นอีก
12 ปีส่งเงินเข้า FIDF “หนี้ลดไม่ถึงครึ่ง”
"ทักษิณ ชินวัตร" เสนอให้ลดการนำส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูฯของสถาบันการเงิน และให้นำมาช่วยเหลือลูกหนี้ แต่วิธีการนี้ไม่ได้เป็น "มาตรการใหม่" แต่มีมาแล้วใน "สมัยลุง" ที่ให้ลดนำส่งเป็นการชั่วคราว และให้สถาบันการเงินลดดอกเบี้ย ในยุคโควิด-19 แต่ในครั้งนี้จะทำได้หรือไม่?
อุตสาหกรรมไทยย่ำแย่ ปิดโรงงาน 757 แห่ง
อุตสาหกรรมไทยกำลังล้มเหลวจากความเสี่ยงหลายด้าน ทั้งเทคโนโลยี กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม และสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ทำให้ 7 เดือนแรกปี 67 ปิดโรงงานแล้ว 757 แห่ง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา สภาพัฒน์แนะมาตรการเร่งช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กให้สามารถอยู่รอดได้อย่างมั่นคง
กนง.ผวาหนี้เสีย ฉุดเศรษฐกิจไทย มึนลงทุนเอกชนทรุด
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% ต่อเนื่อง มองเศรษฐกิจไทยยังขยายตัว แต่จับตาใกล้ชิดสถานการณ์หนี้เสียที่แย่ลง หวั่นกระทบเศรษฐกิจประเทศ
เศรษฐกิจไทยอาการหนัก หนี้เสียขยับขึ้นทั้งระบบ
หนี้เสียไทยยังคงเป็นปัญหาที่เรื้อรังต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แต่ดูเหมือนจะไม่ดีขึ้น ล่าสุดข้อมูลเครดิตบูโร เผยหนี้เสียไตรมาส 1 ปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้นทั้งระบบภาคธุรกิจ และบุคคคลธรรมดา
สศช.ลดเป้าจีดีพีปี’67 เหตุหนี้สูง เศรษฐกิจโลกผันผวน
สศช.รายงานเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 67 ขยายตัว 2.3% แต่คาดทั้งปีเติบโตลดลงเหลือ 2.8% มีแรงกดดันจากหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง สถาบันการเงินเข้มงวดสินเชื่อ ขณะที่ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอ