เปิดพอร์ตการลงทุนของกองทุนประกันสังคม หลังสมาชิกเรียกร้องกันมานาน เพราะความกังวลเรื่องผลกระทบจากการลงทุน โดยสิ้นปี 67 กองทุนประกันสังคมมีการเพิ่มสัดส่วนลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นเพื่อสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่ยังลงทุนในตราสารหนี้
สำนักงานประกันสังคมรายงานการบริหารการลงทุนกองทุนประกันสังคม ณ 31 ธ.ค. 67 มีมูลเงินลงทุนรวม 2,657,245 ล้านบาท โดยดำเนินการจัดเก็บเงินสมทบจากผู้ประกันตน นายจ้างในอัตรา 5% และรัฐบาล 2.75%
การบริหารกองทุนในปี 67 ได้รับผลตอบเเทนที่รับร้เเล้ว 71,960 ล้านบาท ประกอบด้วยดอกเบี้ยและกำไรจากการขายตราสารหนี้และค่าธรรมเนียมการให้ยืมหลักทรัพย์ 42,774 ล้านบาท คิดเป็น 59.44% ของผลตอบแทนรวม และมาจากเงินปันผลและกำไรจากการขายตราสารทุน 29,186 ล้านบาท คิดเป็น 40.56% ของผลตอบแทนรวม
สัดส่วนลงทุนในประเทศ 67.74% ต่างประเทศ 32.26%
กองทุนประกันสังคม มีเงินลงทุนส่วนใหญ่ในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง คือ ตราสารหนี้และเงินฝาก แต่ก็สามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงได้ รวมกันต้องไม่มากกว่า 40% ของเงินลงทุน และสามารถลงทุนในต่างประเทศได้ 47% ของเงินลงทุนทั้งหมด
หากพิจารณผ่ลตอบแทนที่รับรู้ตามแหล่งเงินลงทุนจะพบว่าในปีที่ผ่านมา กองทุนประกันสังคมได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนหลักทรัพย์ในประเทศ 54,549 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 75.80% ของผลตอบแทนรวมและกองทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศ 17,411 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 24.20% ของผลตอบแทนรวม
สัดส่วนการลงทุนของกองทุนประกันสังคม ณ 31 ธ.ค. 67 มีเงินลงทุน 2,657,245 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง 1,902,066 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 71.58% และมีการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง 755,179 ลานบาท คิดเป็นสัดส่วน 28.42%
หากพิจารณสัดส่วนการลงทุน จำแนกตามแหล่งการลงทุน พบว่ามีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในประเทศ 1,800,064 ล้านบาท คิดเป็น 67.74% และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ 857,181 ลานบาท คิดเป็น 32.26%
ลงทุนหุ้นกลุ่มไฮเทค ซื้อหุ้น Apple มากสุด 1.17 หมื่นล้าน
การลงทุนสินทรัพย์เสี่งในต่างประเทศ พบว่ากองทุนประกันสังคมลงทุนในหลักทรัพย์กลุ่มเทคโนโลยี โดย ณ สิ้นปี 67 กองทุนมีการลงทุนหุ้นในต่างประเทศ ในหุ้น 10 อันดับแรกที่ลงทุนมากที่สุด มูลค่า 72,018 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19.93% ของการลงทุนหุ้นในต่างประเทศ ได้แก่
- แอปเปิล (Apple Inc.) มูลค่า 11,712 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 3.24% ของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ
- อินวิเดีย (NVIDIA Corp.) มูลค่า 11,554 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 3.20% ของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ
- ไมโครซอฟท์ (Microsoft Corp.) มูลค่า 10,846 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 3.00% ของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ
- ทีเอสเอ็มซี (Taiwan Semiconductor Manufacturing Co., Ltd. หรือ TSMC) มูลค่า 8,668 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.40% ของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ
- แอมะซอน (com Inc.) มูลค่า 6,791 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.88% ของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ
- อัลฟาเบท (Alphabet Inc. เป็นบริษัทแม่ Google) มูลค่า 6,714 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.86% ของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ
- เทนเซ็นต์ (Tencent Holdings Ltd.) มูลค่า 4,437 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.23% ของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ
- เมตา (Meta Platforms Inc. เดิมชื่อ Facebook) มูลค่า 4,317 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.19% ของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ
- เทสลา (TESLA Inc.) มูลค่า 3,674 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.02% ของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ
- บรอดคอม (BROADCOM Inc.) มูลค่า 3,305 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.91% ของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ

ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 67 จาก สำนักงานประกันสังคม
การลงทุนในสินทรัพย์ต่างประกาศของกองทุนประกันสังคม ไม่ได้มีเพียงแต่หลักทรัพย์ในตลาดหุ้นเท่านั้น แต่ยังมีการลงทุนในตราสารหนี้ และหลักทรัพย์นอกตลาดหุ้นอีกด้วย แต่ส่วนใหญ่การลงทุนในกลุ่มนี้ ส่วนมากซื้อตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงสูง โดยเฉพาะตราสารหนี้ของสหรัฐฯ
ลงทุนหุ้นพื้นฐานในตลาด 1.43 แสนล้าน ซื้อ PTT มากสุด
ส่วนการลงทุนหุ้นในประเทศ หุ้น 10 อันดับแรกที่ลงทุนมากที่สุด มีมูลค่า 143,184 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 61.63% ของการลงทุนหุ้นในไทยทั้งหมด ได้แก่
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ PTT มูลค่า 17,831 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.67% ของการลงทุนหุ้นในไทย
- บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ ADVANC มูลค่า 17,758 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.67% ของการลงทุนหุ้นในไทย
- บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ CPALL มูลค่า 17,022 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.33% ของการลงทุนหุ้นในไทย
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ KBANK มูลค่า 15,026 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 6.47% ของการลงทุนหุ้นในไทย
- บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ SCB มูลค่า 14,971 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 6.44% ของการลงทุนหุ้นในไทย
- บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ BDMS มูลค่า 14,767 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 6.36% ของการลงทุนหุ้นในไทย
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ BDMS มูลค่า 14,080 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 6.06% ของการลงทุนหุ้นในไทย
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ AOT มูลค่า 12,775 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 5.50% ของการลงทุนหุ้นในไทย
- บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ SCC มูลค่า 11,261 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4.85% ของการลงทุนหุ้นในไทย
- บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ BCP มูลค่า 7,693 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 3.31% ของการลงทุนหุ้นในไทย

ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 67 จาก สำนักงานประกันสังคม
สำหนับการลงทุนในสินทรัพย์มั่นคงสูงในประเทศ ส่วนใหญ่จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลมากที่สุด
เพิ่มสัดส่วนสินทรัพ์เสี่ยงเป็น 35%
ดังนั้นกองทุนประกันสังคมจึงจำเป็นต้องหาผลตอบแทนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้กองทุนสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยืนยาวในอนาคต ปัจจุบันกองทุนมีพอร์ตการลงทุนกว่า 2.6 ล้านล้านบาท สร้างผลตอบแทนได้ประมาณกว่า 4% ตามแผนการลงทุน โดยตามแผนยุทธศาสตร์จะเพิ่มสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นและเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ
สำหรับทั้งปี 67 กองทุนประกันสังคม มีการรับรู้ผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งหมดทุกสินทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศรวม 71,960 ล้านบาท เติบโตประมาณ 23.1% จากปีก่อน แต่ยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด ปี 62 ซึ่งอยู่ที่ 85,633 ล้านบาท
แนวทางการลงทุนหุ้นของกองทุนประกันสังคม กำหนดไว้ว่าให้ลงทุนได้เฉพาะหุ้นที่ผ่านมาการคัดกรองตามหลักเกณฑ์การกำหนดรายชื่อหลักทรัพย์ที่สามารถลงทุนได้ ซึ่งได้รับการอนุมัติจากสำนักงานประกันสังคม และการลงทุนในกิจการได้กิจการหนึ่ง สามารถทำได้ไม่เกิน 5% ของเงินกองทุน และไม่เกิน 20% ของทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว
ตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคมว่าดัวยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2559 กำหนดให้สำนักงานประกันสังคม หรือบริษัทจัดการกองทุนย่อยนำเงินไปจัดหาประโยชน์ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ คือ
(ก) การลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง หรือมีความเสี่ยงต่ำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันไม่น้อยกว่า 60% ของเงินกองทุน เช่น
- เงินฝากของธนาคารที่ได้รับจัดอันดับความน่าเชื่อถือ อยู่ในระดับน่าลงทุน
- พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่ค้ำประกันโดยรัฐบาล
- หุ้นกู้เอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับน่าลงทุน
- กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ข้างต้น
(ข) การลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ไม่เกินกว่า 40% ของเงินกองทุน เช่น
- เงินฝากของธนาคารที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับน่าลงทุน
- พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้รับการค้ำประกันโดยรัฐบาล
- หุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
- หน่วยลงทุน หรือหน่วยทรัสต์ ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน/อสังหาริมทรัพย์ หรือกิจการเงินร่วมทุน
- กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ข้างต้น
(ค) การลงทุนในต่างประเทศให้เป็นไปตามสัดส่วนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดย ณ วันที่ 27 ธ.ค. 2567 คณะกรรมการได้กำหนดสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศไว้ที่อัตรา 47% ของเงินลงทุนทั้งหมด
(ง) การลงทุนตาม (ก) และ (ข) คณะกรรมการอาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข หรือสัดส่วนการลงทุนไว้เป็นกรณีเฉพาะก็ได้
ท่ามกลางไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คือ ในอนาคตแนวโน้มผู้สูงอายุจะมีจำนวนมากขึ้น จะทำให้กองทุนมีภาระค่าใช้จ่ายด้านสิทธิประโยชน์ให้กับแรงงานที่เกษียณออกไปมากขึ้น ในขณะที่วัยแรงงานที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนก็จะยิ่งมีน้อยลงสอดคล้องกับเด็กเกิดใหม่ที่ลดลงทุกปี หรือในอีกความหมายก็คือ กองทุนจะรายจ่ายมากขึ้นสวนทางกับรายรับที่ลดลงเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่กองทุนจะต้องหารายได้จากการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อให้สถานะกองทุนมีความมั่นคงและความเชื่อมั่นจากสมาชิก
อ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง