คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวกับแนวนโยบายการต่างประเทศ) โดยรัฐบาลมีแนวทางที่จะสร้างรายได้ โดยการใช้การทูตเศรษฐกิจเชิงรุกเพื่อเปิดประตูการค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ให้สินค้าและบริการของประเทศไทย อาทิ กลุ่มสหภาพยุโรปกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง อินเดีย แอฟริกา อเมริกาใต้ รวมถึงการให้ความสำคัญกับตลาดเดิมที่รวมถึงประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง โดยการออกไปพบผู้นำประเทศต่าง ๆ เพื่อชักชวนให้มาค้าขายสินค้าและบริการของกันและกัน ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้กับสินค้าและบริการที่คิดและผลิตจากฝีมือของคนไทยมากขึ้น เร่งการเจรจากรอบความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ (FTA) และเจรจาเพื่อยกระดับหนังสือเดินทางไทย (Passport) ให้สามารถเดินทางได้หลายประเทศมากยิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องขอวีซ่า ปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอนุมัติโครงการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อดึงดูดการลงทุนที่จะช่วยเพิ่มความสามารถทางการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและวางรากฐานให้เศรษฐกิจในระยะยาว
รัฐบาลจะดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าที่ถูกกฎหมายตามแนวชายแดน เพื่อสร้างเงิน สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชน และเป็นการสนับสนุนเสถียรภาพให้เกิดขึ้น เพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกันของทุกประเทศ ตลอดจนการเป็นผู้นำในการส่งเสริมสันติภาพและผลประโยชน์ร่วมกันของโลก และบริหารสถานการณ์ภูมิศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศอย่างเหมาะสม
รัฐบาลจะเปิดประตูค้าขายและเปิดโอกาสของประเทศไทยให้เพิ่มขึ้น และเป็นการสร้างประโยชน์จากสินทรัพย์ของประเทศและของประชาชน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ของโลก
รัฐบาลจะสร้างบทบาทในเวทีโลก ให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ อย่างสมดุล ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ กระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและรักษาบทบาทนำของประเทศไทยในภูมิภาคและอนุภูมิภาค รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ องค์กรทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงของประเทศไทย
รัฐบาลจะสานต่อนโยบาย Carbon Neutrality เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเปิดประตูบานใหญ่สู่การค้าโลก ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยและสร้างข้อได้เปรียบให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการในประเทศ ทำให้รัฐบาลสามารถเจรจาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กฎกติกาใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรัฐบาลจะใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังส าคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการและภาคการเงิน
ประธานาธิบดีทรัมป์ ประกาศเลื่อนภาษีตอบโต้ เปิดโต๊ะเจรา 90 วัน SCB EIC ประเมินลดผลกระทบไทยแค่ระยะสั้น แต่ไม่ช่วยรอดพ้นวิกฤตจากระบบการค้าโลกยุคใหม่ที่กำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความปั่นป่วน คาดกระทบส่งออกไทย 8.1 แสนล้านบาท หากถูกตั้งภาษี 36%
นโยบายภาษีทรัมป์ (Trump tariffs) ที่ประกาศเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา กลายมาเป็นความท้าทายใหม่ของเศรษฐกิจไทย ที่ผลกระทบอาจแผ่เป็นวงกว้างและลากยาว และอาจทำให้พัฒนาการของเศรษฐกิจไทยถดถอย บทความนี้พาไปดูว่าทำไมทุกภาคส่วนถึงต้องจับตานโยบายภาษีทรัมป์เป็นพิเศษ
ยังไม่มีความชัดเจนว่าสงครามการค้าที่รุนแรงสุดในประวัติศาสตร์ครั้งนี้จะไปจบลงที่ตรงไหน หลังสหรัฐฯและจีนขึ้นภาษีตอบโต้กันไม่หยุด นักเศรษฐศาสตร์เชื่อเจ็บทั้งคู่ แนะไทยเตรียมรับมือสินค้าจากจีนทะลักเข้าประเทศ