ข้อมูลนโยบายล่าสุด : 10 ก.ค. 2567
เกณฑ์ผู้มีสิทธิ์รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท
ต้องครบทั้ง 3 เงื่อนไขจึงจะได้รับเงินดิจิทัล
- • อายุ 16 ปีขึ้นไป
- • รายได้ไม่ถึง 70,000 บาท/เดือน (หรือไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาท/ปีภาษี)
- • มีเงินฝากรวมไม่ถึง 500,000 บาท
เงื่อนไขการใช้งาน
- • ระยะทางที่ใช้ได้ครอบคลุมระดับอำเภอ ตามบัตรประชาชน
- • เปิดลงทะเบียนวันที่ 1 ส.ค. 2567
- • คาดว่าจะใช้ได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2567
- • ต้องลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ จ่ายเงินแบบ face-to-face
- • กำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น
- • ใช้ได้ : ของอุปโภคบริโภค
- • ไม่สามารถใช้ได้ : การบริการ สินค้าออนไลน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ กัญชา กระท่อม บัตรกำนัล บัตรเงินสด ทองคำ เพชร อัญมณี น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเทอม และการชำระหนี้ รวมถึงสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และโทรศัพท์มือถือ
- • ไม่สามารถแลกเป็นเงินสด และไม่สามารถแลกเปลี่ยนในตลาดได้
- • สามารถซื้อได้ทุกร้านค้าที่ลงทะเบียนรับสิทธิ์ ไม่จำกัดอยู่แค่ร้านที่อยู่ในระบบภาษี ไม่จำเป็นต้องจด VAT แต่ร้านค้าที่จะขึ้นเงินได้ต้องอยู่ในระบบภาษี
- • ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” (จากเดิมคือแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’)
หลังบ้านนโยบาย
- • จำนวนผู้มีสิทธิ์รับเงินประมาณ 50 ล้านคน (ประมาณการณ์ว่าผู้ลงทะเบียนอาจต่ำกว่าร้อยละ 90 หรือต่ำกว่า 45 ล้านคน)
- • งบประมาณ แบ่งเป็น
- • วงเงินดิจิทัลวอลเล็ต ลดเหลือ 4.5 แสนล้านบาท (จากเดิม 500,000 ล้านบาท) และ
- • กองทุนเพิ่มขีดความสามารถ 100,000 ล้านบาท
- • เงินที่เหลือของโครงการ จะใส่ในกองทุนเพื่อลงทุนพัฒนาประเทศ เช่น กองทุนเพิ่มขีดความสามารถ
- • ที่มาของเงินมาจาก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2 ปีงบประมาณตามปกติ ซึ่งไม่กระทบงบประมาณลงทุนและงบประมาณรายจ่ายประจำ ได้แก่
- • กรอบงบประมาณปี 2567 จำนวน 1.65 แสนล้านบาท แบ่งเป็น
- • งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม 1.22 แสนล้านบาท
- • งบประมาณจากการบริหารจัดการทางการคลัง 0.43 แสนล้านบาท
- • ส่วนงบประมาณปี 2568 จำนวน 2.85 แสนล้านบาท แบ่งเป็น
- • งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม 1.527 แสนล้านบาท
- • งบประมาณจากการบริหารจัดการทางการคลัง 1.323 แสนล้านบาท
- • กรอบงบประมาณปี 2567 จำนวน 1.65 แสนล้านบาท แบ่งเป็น
- • มีการเปลี่ยนแปลงที่มาของเงิน เดิมมาจากการออก พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท ผ่านกระบวนการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้การออกเป็นไปอย่างรอบคอบ รัดกุม และไม่ขัดกฎหมาย และมีแผนจัดสรรเพื่อจ่ายคืนเงินกู้ตลอดระยะเวลาที่เป็นรัฐบาล 4 ปี
นโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- • นโยบาย e-Refund (เริ่มเดือน ม.ค. 2567) ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลจากการซื้อสินค้าและบริการรวมมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท จากร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีและเฉพาะที่ออกใบกำกับภาษีรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและจูงใจให้ร้านค้าเข้าสู่ระบบภาษีดิจิทัล มุ่งสู่ E-government ในอนาคต
- • เสริมสร้างขีดความสามารถ (เริ่มเดือน มิ.ย. 2567) เพื่อผลักดันต่อยอดอุตสาหกรรมและโครงสร้าง เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมดิจิทัล การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การพัฒนาบุคลากรและการศึกษา (ใช้งบประมาณ 100,000 ล้านบาท)
คาดการณ์ผลดีต่อประเทศใน 2 ด้าน
- • กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในระยะสั้น โดยมีประชาชนเป็นกลไกสำคัญ ผ่านการบริโภคและการลงทุน
- • วางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและ e-Government เพื่อวางและแก้ไขโครงสร้างของประเทศในระยะยาว
อย่างไรก็ดี นโยบายทุกอย่างที่แถลงจะต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายและมติคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะดำเนินการต่อไป