ThaiPBS Logo

เศรษฐกิจ เศรษฐกิจ

รัฐบาลภายใต้แกนนำของพรรคเพื่อไทยเตรียมผลักดันมาตรการระยะสั้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่พ้นวิกฤติ ซึ่งบางมาตรการเพิ่มเติมจากที่เคยดำเนินมาแล้ว แต่บางมาตรการเป็นเรื่องใหม่และยังไม่มีรายละเอียดออกมา แต่ทุกมาตรการล้วนใช้งบประมาณจำนวนมาก ท่ามกลางกังวลจะกระทบการเงินการคลังของประเทศ

อ่านเพิ่มเติม

การจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย แม้จะประสบความสำเร็จเพื่อสลายขั้วความขัดแย้งในเชิงสัญญลักษณ์ แต่ก็นับได้ว่าเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของพรรคเพื่อไทย และอาจกล่าวได้ว่าเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของพรรคการเมืองที่มีแนวนโยบายแบบประชานิยมสืบทอดกันมายาวนาน และจากสถานการณ์การณ์เมืองเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้พรรคเพื่อไทยจำต้องเร่งผลักดันนโยบายแบบประชานิยมให้เร็วที่สุด

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 .. 2566 ได้ชี้ให้เห็นว่าทำไมรัฐบาลต้องเร่งดำเนินนโยบายในลักษณะประชานิยมเหมือนในอดีต (แต่นายกรัฐมนตรีมองว่านโยบายของรัฐบาลไม่ใช่ประชานิยม)

นายกรัฐมนตรี ระบุว่าวันนี้ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองภายในประเทศ ซึ่งถูกซ้ำเติมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด-19) ที่ทำให้กลายเป็นภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้างที่แม้แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และยังไม่สามารถแก้ไขเยียวยาได้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ปัญหาสังคมและการเมืองยังคงยืดเยื้อ ฝังรากลึก และยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นรัฐบาลมีกรอบนโยบายในการบริหารและพัฒนาประเทศตามกรอบความเร่งด่วนคือ

กรอบระยะสั้น รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นการใช้จ่าย จุดประกายให้เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจกลับมาเติบโตอีกครั้ง ประกอบกับการเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนอย่างเร่งด่วนและรวดเร็ว

กรอบระยะกลางและระยะยาว รัฐบาลจะเสริมขีดความสามารถให้กับประชาชน ผ่านการสร้างรายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชนทุกคน

ลักษณะสำคัญของนโยบายประชานิยม คือ มีการผลักดันออกมาเร็วและ ใช้งบประมาณค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องทำอย่าง ทั่วถึง

นายกรัฐมนตรีย้ำนโยบายสำคัญในช่วงที่มีการหาเสียงเลือกตั้ง โดยนโยบายประชานิยมแบบเดิม คือ การพักหนี้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นให้กับเกษตรกร แต่ในครั้งนี้รวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

นอกจากนี้ มีการปรับปรุงนโยบายประชานิยมแบบอัดฉีดโดยตรงผ่านนโยบายการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านเป๋าตังดิจิทัล ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินจำนวนมาก

หากติดตามนโยบายของรัฐบาลที่เร่งผลักดันออกในระยะสั้น จะมุ่งเน้นไปที่กระตุ้นการบริโภคหรือกำลังซื้อภายในประเทศเป็นสำคัญ

ธปท.ห่วงกระทบเสถียรภาพ

แม้ว่าภาคธุรกิจบางส่วนจะสนับสนุนมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ แต่หน่วยงานที่เห็นต่างในนโยบายสำคัญของรัฐบาลคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธปท. แสดงความเห็นภายหลังจากหารือกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โดยมองเห็นต่างว่าปัญหาที่สำคัญมากกว่ากระตุ้นกำลังซื้อ  คือกระตุ้นการลงทุน

สิ่งที่ขาดอาจจะไม่ใช่เรื่องการบริโภค แต่เป็นเรื่องการลงทุนมากกว่า การทำนโยบายต่าง ๆ ควรต้องเป็นเฉพาะกลุ่ม ซึ่งจะประหยัดงบประมาณได้มากกว่า เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องการเงินหมื่นบาท นี่คือที่เราคุยกับรัฐบาลไป รวมทั้งที่การทำนโยบาย ต้องฉายภาพระยะปานกลางให้ชัด เช่น ภาพรวมรายจ่าย หนี้ การขาดดุล ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นเรื่องวินัยการคลัง

นายเศรษฐพุฒิ  ยังคัดค้านรูปแบบการทำนโยบายเติมเงิน ในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ บล็อกเชน โดยอ้างว่าจะกระทบเสถียรภาพ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ธปท.ไม่สนับสนุนอยู่แล้ว รวมทั้งยังไม่เห็นด้วยกับมาตรการพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรแบบทั่วถึงแต่เสนอให้ความช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม

รัฐบาลย้ำรักษาวินัยการคลังของประเทศ

งานแรกที่นายกรัฐมนตรีต้องรีบทำเป็นการด่วนก็คืองบประมาณและย้ำว่ารัฐบาลจะรักษาวินัยการเงินการคลังของประเทศอย่างเคร่งครัด

การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 18 .. ได้อนุมัติตามที่สำนักงบประมาณ ปรับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 โดยงบรายจ่ายรวม 3.48 ล้านล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 1.3 แสนล้านบาท จากกรอบวงเงินงบประมาณเดิมที่ 3.35 ล้านล้านบาทในสมัยรัฐบาลของพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เคยอนุมัติกรอบงบประมาณเอาไว้

วงเงินงบประมาณที่ปรับเพิ่มขึ้นมา เพราะคาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น 30,000 ล้านบาท จะนำไปจ่ายภาระเงินกู้เพิ่มขึ้นตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขยับขึ้น และขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอีก 100,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล และเพื่อรักษาสัดส่วนทางการคลังตามกรอบวินัยการเงินการคลัง

การขาดดุลงบประมาณ หรือ กู้เงินมาใช้จ่าย ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ หากประเทศมีฐานะการคลังที่ยังไม่อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง แต่กรณีของประเทศไทย ได้มีการจัดทำงบประพมาณแบบขาดดุลมานานกว่า 10 ปีติดต่อกัน ทำให้หนี้สาธารณะในรูปของตัวเงินขยับขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รัฐบาลกู้เงินมาใช้จ่ายจำนวนมหาศาล จนรัฐบาลต้องแก้กฎหมายขยายเพดานหนี้ จาก 60% ของจีดีพี เป็นไม่เกิน 70% ของจีดีพี

สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี นับเป็นตัวเลขสำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงสถานะการเงินการคลังของประเทศ รัฐบาลในอดีตพยายามรักษาสัดส่วนไว้ไม่ให้เกิน 60% ของจีดีพีมายาวนาน ก่อนที่จะขยายเพาดานใหม่เป็น 70% ในสมัยพล..ประยุทธ์ ที่ต้องกู้เงินครั้งใหญ่มาใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ตามการประมาณการฐานะการคลังของประเทศ สำนักงบประมาณคาดว่าหนี้สาธารณะคงค้างต่อจีดีพี ในงบประมาณปี 2567 จะอยู่ที่ 64% จากนั้นจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงปี 2570 จะอยู่ที่ 64.81% แต่หากคิดเป็นตัวเงินจากเพิ่มกว่า 2 ล้านล้านบาท จาก 12.09 ล้านล้านบาทในปี 2567 เป็น 14.36 ล้านล้านบาทในปี 2570

ห่วงกระทบวินัยการเงินการคลัง

ทุกนโยบายของรัฐบาลในอดีตที่มีการอัดฉีดในระยะสั้นและใช้เงินจำนวนมากมักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นนโยบายที่ไม่ได้ผลมากนักแต่ในทางตรงกันข้ามอาจสร้างผลกระทบในระยะยาวจนกระสร้างปัญหาความเชื่อมั่นให้กับการคลังของประเทศ

แต่นายกรัฐมนตรีระบุว่าแม้จะเพิ่มขาดดุลงบประมาณอีก 1 แสนล้านบาท แต่รัฐบาลยังคงรักษาวินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด

ความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลแทบไม่ต่างกันมากนัก ยกตัวอย่างเช่น นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) โพสซ์เฟซบุ๊ก “Pipat Luengnaruemitchai” ในหัวข้อวินัยการคลังเมื่อรัฐบาลเสพติดการขาดดุล

นายพิพัฒน์ ระบุว่ารัฐบาลได้อนุมัติกรอบการคลังระยะปานกลาง ที่ควรจะเป็นกรอบการดำเนินงานของรัฐบาล และบอกกับนักลงทุนว่ารัฐบาลมีแผนในการจัดการการเงินอย่างไรในอนาคต โดยมีข้อน่าสนใจสามเรื่อง

ประการแรก การปรับเพิ่มการขาดดุลงบประมาณปีหน้าเพิ่มขึ้นจาก 5.93 แสนล้าน เป็น 6.93 แสนล้าน เพิ่มงบประมาณขึ้น 1.3 แสนล้าน และเพิ่มประมาณการรายได้ แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นการสร้างช่องว่างเพื่อใส่มาตรการแจกเงิน 5.6 แสนล้าน ซึ่งการขาดดุลก็เกือบเต็มเพดานตามกรอบพระราชบัญญัติหนี้สาธารณะ หรือไม่?

ถ้าใช่ ก็มีข้อสงสัยอยู่ว่ารัฐบาลจะหาเงินจากไหนมาชดเชยมาตรการที่เหลืออีก 4.3 แสนล้าน เข้าใจว่าจะให้ธนาคารของรัฐออกไปก่อนและตั้งงบประมาณชดเชยทีหลัง แต่ก็ถูกจำกัดด้วยกรอบมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐที่อาจจะต้องยกขึ้นแต่อาจจะยกขึ้นได้ไม่มากนัก

ประเด็นที่สอง การปรับกรอบการขาดดุลงบประมาณในอนาคตขึ้นทั้งแผง จากเดิมที่คาดว่าจะค่อย ๆ ปรับการขาดดุลงบประมาณลดลง และจะพยายามทำงบประมาณสมดุลในระยะยาว ซึ่งแผนดังกล่าวก็ใส่ลิ้นชักไปก่อน

ประการที่สาม รัฐบาลคาดว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นไปแถว ๆ 65% ของจีดีพีจากเดิมประมาณ 61% และไม่ลดลงตามที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ และไปใกล้เพดานระดับ 70% ของจีดีพี ซึ่งจะทำให้กันชน(buffer)ทางการคลังเพื่อรองรับวิกฤติในอนาคตมีน้อยลง

นายพิพัฒน์ ย้ำว่าการแจกเงินโดยไม่กระทบวินัยการคลัง ไม่เป็นภาระงบประมาณนั้นเป็นไปไม่ได้เลย และผลที่สุดแล้วจะกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุน และบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถืออาจจะปรับมุมมองต่อประเทศไทย

อันดับความน่าเชื่อถือขึ้นกับหนี้รัฐบาลและฐานะการคลัง

บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ประกาศเมื่อเดือนก..ที่ผ่านมา คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมองสถานะประเทศไทยแบบกลาง ๆ

ภายในปี 2567 คาดว่า สัดส่วนหนี้ภาครัฐบาลต่อ GDP (General Government Debt to GDP) จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 55.9 แต่ยังคงอยู่ในระดับเดียวกับกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับเดียวกัน (BBB Peers)

Fitch  ระบุว่าภาระหนี้ของรัฐบาลและฐานะการคลังมีความสำคัญต่อการพิจารณาเพิ่มอันดับหรือลดอันดับความน่าเชื่อถือ

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ Fitch ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของประเทศไทย คือ การลดลงของสัดส่วนหนี้ภาครัฐบาลต่อจีดีพี (General Government Debt to GDP) การลดการขาดดุล ตลอดจนการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีศักยภาพในระยะปานกลาง

ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้ Fitch มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ คือ การไม่สามารถรักษาเสถียรภาพทางการคลัง ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและส่งผลต่อการเติบโตหรือการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

หากพิจารณาหนี้เสาธารณะที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี และเม็ดเงินเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญมาจากรัฐบาลมีการกู้เงินเพื่อมาสมทบ หรือ ปิดงบประมาณในแต่ละปี ในขณะที่รายได้ของรัฐบาลที่มาจากภาษีน้อยกว่ารายจ่าย

รัฐบาลต้องกู้เงิน ด้วยการทำงบประมาณขาดดุลมายาวนานกว่า 10 ปี ตั้งแต่ปี 2550  เป็นต้นมา จนกระทั่งรัฐบาลต้องขยายเพดานก่อหนี้เพิ่มเป็น 70% ของจีดีพี

ดังนั้น ประชาชนต้องติดตามการใช้จ่ายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เพราะรัฐบาลทุกรัฐบาลมีการใช้นโยบายแบบประชานิยมต่อเนื่องยาวนานเกือบ 20 ปี และทุกรัฐบาลก็มักจะให้สัญญาว่าจะรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถทำได้

หากแนวโน้มยังเป็นเช่นนี้ต่อไป เศรษฐกิจไทยอาจหลีกเลี่ยงไม่พ้นเส้นทางเดียวกันกับหลายประเทศที่ใช้นโยบายในลักษณะนี้เพื่อหวังผลทางการเมือง ดังตัวอย่างหลายประเทศในลาตินอเมริกา และประเทศยุโรปบางประเทศ ที่กำลังเผชิญกับวิกฤติอยู่ในปัจจุบัน

นโยบายภาคการเมือง

แก้หนี้

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

ปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ
เน้นสินเชื่อรถยนต์และบ้าน
สำรวจลูกหนี้
ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ธนาคารพาณิชย์และบริษัทบริหารสินทรัพย์
แก้ปัญหาลูกหนี้ได้
ให้ความรู้และการออมใหม่ ๆ เช่น หวยเกษียณ

นโยบายพลังงาน

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

แผนพลังงานแห่งชาติ
ประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065
จัดทำแผนพลังงาน
รับฟังความคิดเห็นและจัดทำ 5 แผนย่อยพลังงาน
ราคาพลังงาน
ราคาพลังงานและกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสม

โครงการแลนด์บริดจ์ (Land Bridge)

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

ผลต่อเศรษฐกิจ
คาดว่าจะทำให้จีดีพีขยายตัวเป็น 5% (จาก 4.0%) และจะทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ทั้งหมด 280,000 ตำแหน่ง
ที่มา: สนข.อ้างสภาพัฒนฯ
ความคุ้มค่าจาการลงทุน
สนข.อ้างถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ แต่จากการศึกษาของสศช.ระบุว่าโครงการดังกล่าวไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
รับฟังความคิดเห็น
อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ขณะที่คนในพื้นที่เรียกร้องให้ยุติกระบวนการรับฟังความคิดเห็น และเรียกร้องให้ทบทวนโครงการ
ผลักดันโดยพรรคภูมิใจไทย
ไม่มีการแถลงในนโยบายรัฐบาล แต่ถูกหยิบยกขึ้นมาภายหลัง โดยหวังว่าจะดึงเงินลงทุนจากต่างชาติและพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้

ค่าแรงขั้นต่ำ

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน ภายในปีแรกที่มา: นโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลแถลงในรัฐสภา
ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ภายในปี 2570
โดยการตกลงร่วมกันของไตรภาคี (นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐ) ตามหลักทุนนิยมที่มีหัวใจ
ที่มา: นโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย
เงินเดือนคนจบปริญญาตรีและข้าราชการเริ่มต้นที่ 25,000 บาทต่อเดือน ภายในปี 2570ที่มา: นโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย
คณะกรรมการค่าจ้าง เป็นผู้อนุมัติ
พิจารณาอนุมัติการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำผ่านคณะกรรมการไตรภาคี มีการเสนอจากระดับจังหวัด

รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสาย ทุกเส้น ทุกสี
ภายใน 2 ปี (เดือนก.ย. 2568)
เร่งผลักดันกฎหมายรองรับ
ต้องออกกฎหมายตั๋วร่วม เพื่อให้สามารถคิดทั้งระบบได้

ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

ลดค่าครองชีพประชาชน
ลดค่าน้ำค่าไฟ และน้ำมันเชื้อเพลิง ในระยะสั้น 3 เดือน
ผ่านกลไกลรัฐ
ผ่านหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลด้านสาธารณูปโภค แต่มีผู้ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้คนไทยไม่ประหยัด
ตามนโยบายที่หาเสียง
มีการกำหนดเวลาการลดค่าไฟฟ้า น้ำ และเชื้อเพลิง ในขณะที่นโยบายที่หาเสียงไม่ได้ระบุเรื่องกรอบเวลา

แก้หนี้นอกระบบ

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

วาระแห่งชาติ "แก้ไขหนี้นอกระบบ"
บูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนประกาศวาระแห่งชาติ ขับเคลื่อน “การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ” ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง
วันที่: 28 พ.ย. 2566ที่มา: ทำเนียบรัฐบาล
ร่วมมือทุกภาคส่วนและเปิดลงทะเบียน
ภาครัฐจะรับบทบาทเป็นตัวกลางสำคัญในการไกล่เกลี่ยพร้อมกันทั้งหมด ดูแลทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างเป็นธรรม
แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ
นโยบายแก้ปัญหานี้มีมานานหลายรัฐบาล แม้จะประกาศเป็นนโยบายแห่งชาติ แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้

ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power)

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

ยกระดับทักษะคนไทย 20 ล้านคน
สู่การเป็นแรงงานทักษะขั้นสูงและแรงงานสร้างสรรค์
สร้างรายได้อย่างน้อย 4 ล้านล้านบาทต่อปี
สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง
เศรษฐกิจ เติบโตอย่าง ยั่งยืน

สนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

ผลิตรถยนต์นั่งและรถกระบะ 725,000 คัน
ผลิตรถจักรยานยนต์ 675,000 คัน
ผลิตรถบัสและรถบรรทุก 34,000 คัน
ส่งเสริมการผลิตรถสามล้อ เรือโดยสาร และรถไฟระบบราง

ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

กระตุ้นเศรษฐกิจ
รัฐบาลหวังว่านโยบายดังกล่าวจะทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยทั่วประเทศ เป็นการกระตุ้นกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ แต่มีปัญหาเรื่องความคุ้มค่าจากการใช้จ่ายงบประมาณ
การกำหนดนโยบาย
รัฐบาลมีการปรับรายละเอียดโครงการใหม่ ต่างไปจากเดิมที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก
สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ยังมีข้อถกเถียงว่าเป็นนโยบายที่สามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ในระยะยาวหรือไม่ ในขณะที่หลายฝ่ายห่วงเรื่องภาระหนี้รัฐบาล

บทความ

ดูทั้งหมด
จบเฟสแรกแจกเงินหมื่น จ่ายไม่สำเร็จ 6.48 หมื่นคน

จบเฟสแรกแจกเงินหมื่น จ่ายไม่สำเร็จ 6.48 หมื่นคน

กระทรวงการคลัง รายงานผลการแจกเงิน 10,000 บาท เฟสแรก ให้กลุ่มคนเปราะบางและคนพิการ ยังคงจ่ายซ้ำไม่สำเร็จกว่า 6.48 หมื่นคน พร้อมเผยแนวทางการแก้ไขปัญหาการจ่ายเงินตามโครงการฯ

รัฐเน้นส่งเสริม “โซลาร์” แต่ขาดกลไกสนับสนุน

รัฐเน้นส่งเสริม “โซลาร์” แต่ขาดกลไกสนับสนุน

ในยุคที่ “ราคาค่าไฟ” ผันผวน “พลังงานสะอาด” กลายเป็นทางเลือกที่คนไทยเริ่มให้ความสนใจ เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้ประหยัดและเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่จะทำให้ระบบไฟฟ้ายั่งยืน รวมถึงหน่วยงานราชการ ที่หันมาใช้พลังงานสีเขียวทดแทน รับลูกรัฐบาลที่มีมติในปี 2022 ให้หน่วยราชการลดใช้พลังงาน 20% เพื่อรับมือวิกฤติค่าไฟแพง

ร่างกฎกระทรวงด้านนิวเคลียร์ 5 ฉบับ บังคับใช้ทัน 27 พ.ย.

ร่างกฎกระทรวงด้านนิวเคลียร์ 5 ฉบับ บังคับใช้ทัน 27 พ.ย.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ผ่านร่างกฏกระทรวงเกี่ยวกับนิวเคลียร์ 5 ฉบับ ประกาศใช้ทันภายใน 27 พ.ย.นี้ คาดรองรับแผนผลิตไฟฟ้า PDP2024 ที่มีการบรรจุโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เข้าแผน