บทความ

เคาะแจกเงินหมื่นเฟสสาม เด็ก 16-20 ปี ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตครั้งแรก
คณะกรรมการกระตุ้นเศรษฐกิจ เคาะแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 3 ให้กลุ่มอายุ 16-20 ปี ประเดิมผ่านระบบดิจิทัลวอลเล็ตครั้งแรก คาดได้เร็วสุดปลายไตรมาส 2 ปี 68 ตัดเงื่อนไขสินค้าต้องห้าม และขึ้นเงินสดได้ทุกร้ายค้า

แจกเงินหมื่นไม่คุ้มค่า แรงกระตุ้นเศรษฐกิจแผ่ว
รัฐบาลแจกเงิน 10,000 บาท ให้กลุ่มเปราะบางและคนพิการในปลายปี 67 แต่เศรษฐกิจไทยกลับโตแค่ 3% เพราะส่วนใหญ่คนนำเงินไปใช้หนี้ ใช้จ่ายในเศรษฐกิจนอกระบบ และภาวะหนี้ครัวเรือนสูงกดดันการบริโภค จับตาปี 68 เศรษฐกิจไทยเผชิญปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน

เงิน 10,000 เฟส 3 แจกผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ได้ในไตรมาส 2
โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแจกเงิน 10,000 บาท เฟสที่ 3 กลุ่มอายุ 16 – 60 ปี กระทรวงการคลังเตรียมงบ 160,000 ล้านบาท คาดเริ่มแจกในช่วงไตรมาส 2 ปี 68 ในรูปแบบดิจิทัลวอลเล็ต ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบระบบ

เงินหมื่นเฟส 2 จ่าย 27 ม.ค. หากไม่ได้ โอนซ้ำ 3 ครั้ง
เช็กสิทธิแจกเงินหมื่นผู้สูงอายุ เงินเข้าวันแรก 27 ม.ค. หากไม่ได้ รอจ่ายซ้ำอีก 3 ครั้ง สามารถตรวจสอบสิทธิได้ผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” คาดแจกกลุ่มเป้าหมายประมาณ 4 ล้านคน

แจกเงินหมื่นเฟสแรกหมดแรง แบงก์ชาติชี้ชัดเศรษฐกิจไทยพ.ย.เริ่มแผ่ว
มาตรการแจกเงิน 10,000 บาทเฟสแรกให้กลุ่มเปราะบางและคนพิการ ที่รัฐบาลตั้งความหวังจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี 67 เริ่มหมดแรงหลังผ่านไปแค่เดือนเดียว ล่าสุด ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ย.ไม่กระเตื้องขึ้น โดยการบริโภค-การลงทุนเอกชน และการผลิตอุตสาหกรรม ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ส่วนตลาดแรงงานก็ยังไม่ดีขึ้น

แจกเงิน 10,000 บาทผู้สูงอายุ พร้อมโอนภายใน 29 ม.ค.
ครม.เห็นชอบ โครงการแจกเงินสด 10,000 บาทรอบที่สอง ให้กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป รวมไม่เกิน 4 ล้านคน ที่ลงทะเบียนในแอปฯทางรัฐแล้ว โดยจะเร่งโอนผ่านระบบพร้อมเพย์ภายในวันที่ 29 ม.ค. 68

แจกเงินหมื่นหนุนเศรษฐกิจกระเตื้อง แต่"พายุยังไม่หมุน"
ผ่านไป 1 เดือนหลังแจกเงินสด 10,000 บาทกลุ่มเปราะบาง ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยกระเตื้องขึ้น หนุนเศรษฐกิจเดือนต.ค. ปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ยังได้แรงหนุนจากท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง แต่ว่างงานเพิ่มขึ้นจากคนขอสวัสดิการประกันสังคมเพิ่มขึ้น

จบเฟสแรกแจกเงินหมื่น จ่ายไม่สำเร็จ 6.48 หมื่นคน
กระทรวงการคลัง รายงานผลการแจกเงิน 10,000 บาท เฟสแรก ให้กลุ่มคนเปราะบางและคนพิการ ยังคงจ่ายซ้ำไม่สำเร็จกว่า 6.48 หมื่นคน พร้อมเผยแนวทางการแก้ไขปัญหาการจ่ายเงินตามโครงการฯ

แจกเงินหมื่นฟื้นเศรษฐกิจชั่วคราว แนะเร่งแก้โครงสร้าง
นักวิเคราะห์คาดโครงการแจกเงิน 10,000 บาท จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยเติบโตระยะสั้นจนถึงกลางปี 68 ท่ามกลางแรกกดดันจากปัญหาเชิงโครงสร้างรายล้อม หากรัฐบาลไม่จริงจังแก้ปัญหานี้ เศรษฐกิจจะกลับมาโตต่ำกว่า 2.5% อีกครั้งเมื่อหมดโครงการแจกเงิน

แจกเงินหมื่นกระจายทุกตำบล ตะวันออกเฉียงเหนือมากสุด
แจกเงินหมื่นกลุ่มเปราะบาง 14.55 ล้นคน รวมงบ 1.45 แสนล้านบาท พบว่าเงินกระจายตัวทุกตำบลทั่วประเทศ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด รองลงมาภาคเหนือ อยู่ในกทม.-ปริมณฑลถึง 1 ล้านคน ส่วนจังหวัดที่ได้มากที่สุดคือ นครราชสีมา และน้อยที่สุด คือ ระนอง

เปิดกลไกให้นโยบายดี ๆ ได้ไปต่อ แม้การเมืองเปลี่ยน
ช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล หลายนโยบายที่มีความหวังกลับ ถูกแปรรูป เปลี่ยนร่าง หรือหายไป สะท้อนถึงปัญหาบริบทสังคมไทย “การเมืองผูกกับนโยบาย” นำมาสู่ข้อเรียกร้องให้เกิด “นโยบายนำการเมือง” ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย โดยรัฐต้องมีพันธะรับผิดชอบ ร่วมมือพัฒนาระบบติดตามนโยบายให้มีประสิทธิภาพ

ข้อคิดคำนึง เรื่องแจกเงิน 10,000 บาท
"โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 2567" กำลังเริ่มจ่ายโอนเงิน 10,000 บาท เพื่อเข้าบัญชีผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและบัตรผู้พิการ ตั้งแต่วันที่ 25-30 ก.ย. จำนวน 14.4 ล้านคน คิดเป็นเงิน 1.44 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลไม่มีข้อจำกัดด้านการใช้จ่าย

เช็กผลโอนเงินหมื่น หากไม่เข้า รอโอนใหม่อีก3รอบ
เช็กผลโอนเงินหมื่นบาทกลุ่มเปราะบาง สามารถเช็กได้วันถัดไปจากวันโอน หากเงินไม่เข้า ต้องตรวจสอบว่าผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชน หรือ กรณีคนพิการบัตรหมดอายุหรือยังไม่ได้ทำบัตร ต้องรีบทำบัตรหรือต่ออายุอย่างช้า 3 ธ.ค. 2567 หากพ้นกำหนดถือว่าสละสิทธิ

เช็กสิทธิก่อนรับเงินหมื่น เริ่มโอน 25 ก.ย.
รัฐบาลปรับชื่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เป็น "โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ" แจกเงินหมื่นบาทกลุ่มเปราะบาง "คนพิการ-บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" รวม 12.55 ล้านคน เริ่ม 25 ก.ย.นี้ รวม 4 วันตามเลขบัตรประชาชน ใครไม่ได้รับ รีบตรวจสอบสิทธิด่วน เพราะกระทรวงการคลังจะโอนซ้ำอีก 3 ครั้ง

แจกเงินหมื่นดิจิทัลวอลเล็ต 4 วัน เริ่ม 25 ก.ย.
แจกเงินหมื่นบาท กลุ่มเปราะบาง ในเฟสแรกประมาณ 14.5 ล้านคน ได้ฤกษ์แจกแล้ว ใน 4 วัน ขณะที่เฟสสองให้รอไปก่อน ในขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ

20 ก.ย. แจกเงิน10,000 บาท กลุ่มเปราะบาง 14.5 ล้านคน
โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ก้อนแรก 122,000 ล้านบาท เริ่มโอนเงินเข้าบัญชีกลุ่มเปราะบางในวันที่ 20 ก.ย. นี้ หลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายเสร็จสิ้นในวันที่ 12-13 ก.ย.นี้

เงินดิจิทัล 10,000 บาท จ่ายทันทีหลังแถลงนโยบาย
สรุปความคืบหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต รัฐบาลเตรียมปรับรูปแบบใหม่จ่ายเป็นเงินสด คาดกลุ่มเปราะบางได้ก่อนในเดือน ก.ย. ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก่อนทยอยแจกให้คนลงทะเบียนทางรัฐในเดือนถัดไป

ปรับเงื่อนไขโครงการดิจิทัลวอลเล็ต: เมื่อกลุ่มเปราะบางไม่ใช่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
หลังจากที่ แพทองธาร ชินวัตร ประกาศเดินหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ตตามที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงไว้ รายละเอียดของโครงการยังขาดความชัดเจน

ดิจิทัลวอลเล็ต ใช้ได้จริงหรือ? หลังธปท.เตือนครั้งใหม่
ดิจิทัลวอลเล็ต จะเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ ยังเป็นประเด็นสงสัย แม้รัฐบาลจะเปิดลงทะเบียนประชาชนที่มีสิทธิ ในขณะที่ร้านค้าจะเปิดลงทะเบียนในเดือน ต.ค.นี้ แต่ธปท.เตือนเรื่องระบบที่จะนำมาใช้ มีความเสี่ยงหลายด้าน รวมถึงงบประมาณที่นำมาใช้ อาจไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง

ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ใช้ได้ไตรมาส 4 ปี 67 เผยเงื่อนไข-วิธีลงทะเบียน
ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท รัฐบาลเตรียมเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนตั้งแต่ 1 ส.ค. - 15 ก.ย. 67 ผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" เริ่มใช้จ่ายในไตรมาส 4 ปี 67 พร้อมเผยเงื่อนไข และขั้นตอนการลงทะเบียน

ตรวจแถวนโยบายรัฐบาล หาคำตอบว่าทำไมเราต้องสนใจ
นโยบายสาธารณะ หรือนโยบายรัฐบาลได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ และยิ่งการเมืองยุคประชานิยม"สุดขั้ว" อาจสร้างความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง ศาสตราจารย์มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด นักเศรษฐศาสตร์ ในฐานะประธานมูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ให้มุมมองว่าทำไมเราต้องสนใจ และวิจารณ์หลายนโยบายของรัฐบาลว่าทำไมไม่สมเหตุสมผล

กู้ชนเพดาน ปรับงบปี 67 หนุนแจกดิจิทัลวอลเล็ต
ครม.เห็นชอบงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมงบปี 67 วงเงิน 122,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ดันงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 805,000 ล้านบาท เหลือวงเงินกู้ได้เพียงหมื่นล้าน เกือบติดเพดาน

ดิจิทัลวอลเล็ต ดันหนี้สาธารณะพุ่ง
ดิจิทัลวอลเล็ต ทำให้รัฐบาลทบทวนแผนการคลังระยะปานกลางครั้งที่ 2 หลังหันมาใช้งบประมาณดำเนินโครงการแทนออกพระราชบัญญัติกู้เงิน ส่งผลให้หนี้สาธารณะขยับขึ้นในปีนี้ ทะลุ 65% ของจีดีพี และคาดว่าในปี 2571 จะเพิ่มเป็น 68.6% ของจีดีพี

คำชี้แจงบอร์ดดิจิทัลแค่ 4 ประเด็น ต่อคำถามของป.ป.ช.
ครม.รับทราบผลการดำเนินการพิจารณา 4 ข้อของคณะกรรมการนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตตามข้อเสนอแนะของป.ป.ช. แต่ยังมีอีกหลายประเด็นยังไม่ได้พิจารณา

รายละเอียดความเห็นธปท. ดิจิทัลวอลเล็ต5แสนล้าน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งหนังสือถึงรัฐบาล ให้ความเห็นต่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ตใน 4 ประเด็น โดยหนังสือถึงสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22เม.ย. ก่อนการประชุมครม.ในวันที่ 23 เม.ย. ซึ่งในมีหลายประเด็นที่เป็นความเห็นเพิ่มเติม หลังจากรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ

อัปเดทดิจิทัลวอลเล็ต เงื่อนไข"ประชาชน-ร้านค้า"ที่มีสิทธิ
ดิจิทัลวอลเล็ต หรือ โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet มีการปรับหลายครั้งนับตั้งแต่ประกาศนโยบาย จนล่าสุดเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 นับว่าได้ข้อสรุปครั้งสุดท้ายจากการประชุมครม. โดยมีรายละเอียดออกมา ขณะที่รัฐบาลยืนยันประชาชนที่มีสิทธิตามหลักเกณฑ์จะได้ใช้ในไตรมาส 4 ปีนี้

เปิดผลสำรวจสินค้ายอดฮิต จากดิจิทัลวอลเล็ตหมื่นบาท
สำรวจความเห็นคนไทย หากได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาทจากรัฐบาล จะนำไปใช้จ่ายกับอะไร เลือกซื้อสินค้าที่ร้านประเภทไหน และมีวิธีบริหารเงินที่ได้มาอย่างไรบ้างให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายส่วนตัว

ระดมเงินดิจิทัลวอลเล็ต อาจไม่ง่ายอย่างที่คิด
การระดมเงินเพื่อใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต อาจไม่ง่าย เพราะสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ที่จะให้รัฐบาลกู้เงินมีจำกัด อีกทั้งกระทบการขายตราสารหนี้ของเอกชนจากปริมาณตราสารหนี้ของรัฐที่เพิ่มเข้ามาในตลาดมากขึ้น รวมถึงในช่วงที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ยังอยู่ในระดับสูงจะกดดันต้นทุนในการระดมทุน

เคาะเพิ่มเงื่อนไขชะลอฟ้อง-บังคับคดี-ขายทอดทรัพย์สิน ลูกหนี้เกษตรกร
ครม.เห็นชอบแก้ไขมติ ครม.ในอดีตเมื่อ 16 ม.ค. 2550 เรื่องแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร โดยเพิ่มเงื่อนไขการชะลอฟ้องร้อง บังคับคดี และขายทอดทรัพย์สินของลูกหนี้เกษตรกร เพื่อไม่ให้กระทบฐานะทางการเงิน ธ.ก.ส.

รัฐเลิกอุดหนุนราคาพลังงาน ดันต้นทุนเพิ่ม กระตุ้นเงินเฟ้อพุ่ง
ถึงเวลาที่รัฐบาลเริ่มทยอยลดมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันและไฟฟ้า หลังราคาพลังงานโลกปรับสูงขึ้น กดดันกองทุนน้ำมันที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมหาศาล ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดหากรัฐเลิกอุดหนุนราคาพลังงาน จะดันให้เงินเฟ้อพลิกกลับมาเป็นบวกในไตรมาส 2 ปี 67 ซึ่งเงินเฟ้อเป็นสิ่งสำคัญที่ ธปท.ใช้พิจารณาปรับขึ้นลงอัตราดอกเบ

แบงก์ชาติตั้ง 5 คำถาม "ดิจิทัลวอลเล็ต"ต้องตอบ
ธปท.แสดงความกังวล 5 ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับโครงการเติมเงิน 10,000 บาท หรือดิจิทัลวอลเล็ต ตามพ.ร.บ.เงินตรา และพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ แนะอยากเห็นช่วยเฉพาะกลุ่ม และแผนลดภาระหนี้ที่เกิดขึ้น รวมถึงความปลอดภัยใน ซูเปอร์แอฟ (Super App) ระบบชำระเงินแบบใหม่ที่รัฐบาลกำลังจะสร้างรองรับ

เช็ก "เงื่อนไข-รายละเอียด" ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท
ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้แน่ปลายปีนี้ ผู้มีสิทธิ ตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไป รายได้ไม่เกินเดือนละ 70,000 บาท มีเงินฝากไม่เกิน 500,000 บาท ใช้เงินจากงบประมาณปี 2567-68 และเงินธ.ก.ส. คาดช่วยหนุนจีดีพี 1.2-1.8%

ส่องแผนการคลัง 5 ปี หนี้พุ่งหนุนดิจิทัลวอลเล็ต
รัฐบาลเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง 5 ปี (2567-2571) โดยระบุเหตุผลว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เติบโต แต่ตามแผน งบปี 2568-69 ขาดดุลงบประมาณพุ่ง ท่ามกลางกระแสข่าวเพื่อนำมาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ออกมาใช้ให้ทันในปลายปีนี้ ส่งผลหนี้สาธารณะขยับขึ้นแตะ 67% ของจีดีพี

เวิลด์แบงก์มองดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นจีดีพีระยะสั้นดันหนี้เพิ่ม
ธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ต่ำกว่าคาดการณ์เดิม จากส่งออกชะลอและงบประมาณล่าช้า ประเมินดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น 1% แต่หนี้สาธารณะเพิ่ม เตือนเงินเฟ้อจะขยับ ไม่มีกระสุนสำรองรับความเสี่ยงกรณีน้ำมันโลกพุ่งจากสงคราม

ศึกศักดิ์ศรี "คลัง-แบงก์ชาติ" ว่าด้วยเรื่องดอกเบี้ย
ความขัดแย้งระหว่างกระทรวงการคลัง กับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เรื่องนโยบายดอกเบี้ย เป็นเรื่องที่มีมานาน ฝ่ายหนึ่งใกล้ชิดกับการเมือง มักจะโอนอ่อนตามการเมือง แต่อีกฝ่ายห่วงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การอ้างเหตุผลก็เป็นเหตุผลเดิม ๆ ที่เคยอ้างกันมาและกล่าวโทษกันไปมา โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจย่ำแย่

มุมมองผู้ว่าธปท. ในสถานการณ์ถูกกดดันลดดอกเบี้ย
มุมมอง ผู้ว่า ธปท. กับแรงปะทะทางการเมือง เป็นเรื่องปกติของธนาคารกลางทุกแห่ง โดยรัฐบาลส่วนใหญ่จะมีมุมมองแค่ระยะสั้นไม่คำนึงผลข้างเคียง พร้อมยอมรับว่าการที่นายกรัฐมนตรี นั่งควบตำแหน่ง รมว.คลัง ถือเป็นความท้าทายในการทำงานร่วมกัน

ขีดจำกัดประชานิยม เมื่อ"มือเริ่มล้วงกระเป๋าคนอื่น"
นโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เริ่มมีความไม่แน่นอนเสียแล้วว่าจะเดินหน้าต่อได้หรือไม่ หลังจากคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อตรวจดูอีกครั้งว่าโครงการนี้จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่

รัฐบาลก่อหนี้เพิ่ม 5.6 แสนล้านบาท ดันหนี้สาธารณะแตะ 61.29%
รัฐบาลปรับปรุงแผนการก่อหนี้สาธารณะ เพิ่มขึ้นอีก 5.6 แสนล้านบาท ทำให้สัดส่วนหนี้สาธาณะของไทยจะอยู่ที่ 61.29% ของจีดีพี (GDP) โดยในแผนมีการเพิ่มวงเงินกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ เป็นผลมาจากงบประมาณปี 67 ที่ล่าช้า ค้ำประกันเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจ รวมถึงขยายวงเงินกู้เสริมสภาพคล่อง กฟผ. และกองทุนน้ำมันฯ

เศรษฐศาสตร์เรื่องการแจกเงินดิจิทัล
ผศ.ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอบทความ "เศรษฐศาสตร์เรื่องการแจกเงินดิจิทัล" ย้ำถึงจุดยืนคัดค้านการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านั้น เป็นหนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์ลงชื่อคัดค้านนโยบายนี้ ชี้ให้เห็นหลักทางเศรษฐศาสตร์ว่ามองอย่างไรก็ไม่คุ้มค่า

"ดอกเบี้ยมีความพิเศษเฉพาะ" กนง.รับฟังทุกข้อเสนอ ก่อนลงมติคงดอกเบี้ย
มติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อ 2.50% กนง.พร้อมยินดีรับฟังข้อเสนอจากทุกฝ่าย ถือเป็นความหวังดีและเป็นประโยชน์ หลังถูกกดดันหนักจากรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่ส่งสัญญาณถึง 3 ครั้งให้ลดดอกเบี้ยหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ

นโยบายการเงิน ภายใต้ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
อะไรคือนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยควรลดหรือไม่? เป็นข้อถกเถียงในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เมื่อรัฐบาลเผชิญกับปัญหาเรื่อง "นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต" และเรียกร้องให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย ซึ่ง ดร.สมชัย จิตสุชน อดีตกรรมการ กนง. มีคำตอบ

เศรษฐกิจไทย "ไม่วิกฤติ" ฟื้นตัวหลังโควิด-19 แต่โตต่ำ ตามหลังเพื่อน
ธปท.ย้ำเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 แล้ว แต่ยังโตต่ำและฟื้นตัวช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งมิติการขยายตัวและการส่งออกสินค้า ซึ่งเป็นผลจากทั้งปัจจัยเชิงวัฏจักรระยะสั้นและเชิงโครงสร้าง แนะเร่งปรับกติกาภาครัฐ ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม

เงินดิจิทัลเอาอย่างไรดี? เมื่อเศรษฐกิจไม่ถึงขั้นวิกฤติ
นโยบายการแจกเงินดิจืทัลวอลเลต 10,000 บาท กำลังถึงทางตัน จากการตีความคำว่า "วิกฤติเศรษฐกิจ" โดยรัฐบาลยังคงยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยขณะนี้วิกฤติ ขณะที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมองว่า "ยังไม่วิกฤติ" แต่จะใช้เกณฑ์อะไรชี้ขาด

วิกฤตเศรษฐกิจคืออะไร? กับที่มาเงินดิจิทัล 10,000 บาท
นโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ยังมีข้อถกเถียงในหลายประเด็นถึงเหตุผลและความจำเป็น แต่เบื้องหลังข้อถกเถียงต่อนโยบายแจกเงินดิจิทัลในครั้งนี้ คือ ฐานคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลย้ำว่าเศรษฐกิจ "วิกฤต" จำเป็นต้องมีการกระตุ้น ในขณะที่ฝ่ายค้านอย่างพรรคก้าวไกลมองว่ายังไม่ถึงขั้นวิกฤต

ปรับใหม่"ดิจิทัลวอลเล็ต" ผ่านไป 2 เดือนยังคลุมเครือ
เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง แถลงความคืบหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หลังจากมีความล่าช้าจากที่คาดการณ์ไว้และเกิดกระแสวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นการแถลงในรายละเอียดครั้งแรกของนายเศรษฐาและยืนยันว่ารัฐบาลจะดำเนินการนโยบายนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ