ThaiPBS Logo

รัฐบาลดิจิทัล

นโยบายผลักดัน "รัฐบาลดิจิทัล" เริ่มขึ้นหลังจากคณะรัฐมนตรีผ่านความเห็นชอบต่อแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559 – 2561) เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2559 เพื่อใช้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

หน่วยงานรัฐดำเนินการตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

  • 27 ก.ย. 67 องค์การสหประชาชาติ ประกาศดัชนีการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGDI) ปี 2024 โดยไทยอยู่อันดับที่ 52 จาก 193 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเทียบกับปี 2565 ที่ไทยอยู่อันดับที่ 55 โดยยังถือเป็น อันดับที่ 2 ในอาเซียน รองจากสิงคโปร์
  • การพัฒนาดัชนีทุนมนุษย์ (Human Capital Index: HCI) ซึ่งไทยได้คะแนน 0.8032 ในปี 2567 เพิ่มขึ้นจาก 0.7879 ในปี 2565
  • ดัชนีโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม (Telecommunication Infrastructure Index: TII) ก็มีความก้าวหน้ามาก โดยในปี 2567 ไทยได้คะแนน 0.941 เพิ่มขึ้นจากคะแนนเดิมที่ 0.7338 ในปี 2565
  • ดัชนีการบริการออนไลน์ (Online Service Index: OSI) ของไทยจะลดลงเล็กน้อยจาก 0.7763 ในปี 2565 เป็น 0.7611 ในปี 2567 แต่ยังคงมีพัฒนาการในตัวชี้วัดย่อย เช่น กรอบโครงสร้างสถาบัน (Institutional Framework) ที่ได้รับคะแนนเต็ม 1.00 และ เนื้อหาบนเว็บไซต์ภาครัฐ (Content Provision) ที่ได้คะแนน 0.8889
  • การให้บริการ (Service Provision) ยังมีคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 0.6933 ในปี 2565 เป็น 0.6988 ในปี 2567

รัฐบาลที่ผ่านมา เร่งพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยล่าสุด ได้จัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 ขึ้น ซึ่งแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฉบับนี้ จะเป็นการทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559 – 2561)

รวมถึง (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564 และแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565 รวมถึงพิจารณาความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และแผนระดับชาติอื่น ๆ รวมทั้ง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ

 

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เปิดรับฟังความเห็น (ร่าง) มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.) เพื่อเป็นกรอบแนวทางการบริหารจัดการคลาวด์ภาครัฐ ตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก  ดูเพิ่มเติม ›

    3 ก.พ. 2568

  • ประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตั้งเป้า ปี 68 ภาครัฐใช้ระบบ e-Office ให้ถึง 1 ล้าน User เพื่อก้าวสู่สังคมไทยไร้กระดาษ  ดูเพิ่มเติม ›

    5 ก.พ. 2568

  • กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เห็นชอบงบประมาณ 2,000 ล้านบาท เพื่อการส่งเสริมในการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

    3 ก.พ. 2568

  • ครม.อนุมัติ อ้อนฟ้า เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ ก.พ.ร. สำนักงาน ก.พ.ร. ต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่ 6 ก.พ. 2568 จนถึง 5 ก.พ. 2569  ดูเพิ่มเติม ›

    28 ม.ค. 2568

  • อ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ประกาศตั้งภายในปี 2569 รวมทุกบริการของหน่วยงานภาครัฐเข้าระบบกลางของประเทศ  ดูเพิ่มเติม ›

    17 พ.ย. 2567

  • สหประชาชาติ ประกาศดัชนีการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGDI) ปี 2024 ไทยอยู่อันดับ 52 จาก 193 ประเทศ ขยับขึ้น 3 อันดับ  ดูเพิ่มเติม ›

    27 ก.ย. 2567

  • ครม. อนุมัติแผนรัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570  ดูเพิ่มเติม ›

    28 ก.พ. 2566

  • ราชกิจจานุเบกษาประกาศให้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มีผลตั้งแต่ 23 พ.ค. 2562 เป็นต้นไป  ดูเพิ่มเติม ›

    22 พ.ค. 2562

  • ครม. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ….  ดูเพิ่มเติม ›

    2 ต.ค. 2561

  • ครม. เห็นชอบแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี พ.ศ. 2559-2561  ดูเพิ่มเติม ›

    5 เม.ย. 2559

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ภายในปี 2570 ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการออนไลน์ภาครัฐไม่น้อยกว่า 85%
ภายในปี 2570 อันดับดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(EGDI) ของไทย ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 40 ของโลก

เชิงกระบวนการ

ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการออนไลน์ภาครัฐ
อันดับดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGDI) ของไทย

เชิงการเมือง

ภาครัฐที่ปรับตัวทันการณ์
ให้บริการที่ตอบสนองประชาชน และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ
เพิ่มความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจ
โปร่งใส เปิดเผยข้อมูล ประชาชนเชื่อถือและมีส่วนร่วม

บทความ

ดูทั้งหมด
ภาครัฐตามไม่ทันทุนจีน กระทบหนักคนไทย

ภาครัฐตามไม่ทันทุนจีน กระทบหนักคนไทย

คนไทยกระทบหนัก ทั้งผู้ประกอบการไทยและผู้บริโภค เมื่อสินค้าจีนราคาถูกทะลัก เจ้าพ่ออีคอมเมิร์ซไทย ระบุต้นเหตุจากภาครัฐตามไม่ทัน ปล่อยปะละเลย ควรยกระดับบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวด

10 ทักษะงานมาแรง รับเทรนด์ AI

10 ทักษะงานมาแรง รับเทรนด์ AI

World Economic Forum ออกรายงาน Future of Jobs 2025 จากการสำรวจภาคธุรกิจทั่วโลก พบว่ามีความต้องการมากแรงงานที่มีทักษะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI มากที่สุด ขณะที่ Sotf Skill เป็นเรื่องรอง จุฬาฯชี้การศึกษาไทยต้องปรับตัว เพิ่มหลักสูตรที่พัฒนาทักษะผู้เรียนให้มีความฉลาด ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน

การต่อสู้กับคอร์รัปชันในภาคเอกชน

การต่อสู้กับคอร์รัปชันในภาคเอกชน

วงจรคอร์รัปชัน ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในภาครัฐแต่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะภาคเอกชนซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกมิติตั้งแต่สถานการณ์ ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางแก้ไขคอร์รัปชันจึงยึดโยงกับเอกชนและส่งต่อผลกระทบไปยังระบบเศรษฐกิจของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผุด Super License ลดขั้นตอนขอใบอนุญาต

ผุด Super License ลดขั้นตอนขอใบอนุญาต

ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน เพื่อลดขั้นตอนและภาระการขออนุญาตต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ลดการยื่นเอกสาร/สำเนา ตั้งศูนย์รับคำขอกลาง ตั้งระบบอนุญาตหลัก (Super License)

"พอร์ทัลกลาง" กับความท้าทายรัฐบาลดิจิทัล

"พอร์ทัลกลาง" กับความท้าทายรัฐบาลดิจิทัล

แผนเปลี่ยนหน่วยงานรัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2566-2570) ที่ดำเนินมาเกือบ 2 ปี ก.พ.ร.พบว่างานบริการและข้อมูลของภาครัฐยังไม่เชื่อมโยงกันทั้งหมด หวั่นฉุดอันดับดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์โลก ตั้งเป้าภายในปี 2570 รวมบริการทุกหน่วยงานเข้าระบบกลางของประเทศ

คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่ม ช้อปออนไลน์สัปดาห์ละครั้ง

คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่ม ช้อปออนไลน์สัปดาห์ละครั้ง

ผลสำรวจ Thailand Digital Outlook ประจำปี 2567 พบดีขึ้นทุกมิติ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของครัวเรือนเพิ่มขึ้นถึง 90.3% เฉลี่ยคนใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มเป็นวันละ 9 ชั่วโมง และซื้อสินค้าออนไลน์สัปดาห์ละครั้ง