ThaiPBS Logo

การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ

การขาดพื้นที่ให้เคลื่อนไหวกำลังบั่นทอนความเป็นอยู่ของเรา ทั้งจากโรค NCDs ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือความโดดเดี่ยว ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การออกแบบ “พื้นที่” ให้ตอบโจทย์เป้าหมายที่ต้องการ คือคำตอบที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการมีสุขภาพดีอย่างเท่าเทียม

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

เริ่มดำเนินการ

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

“พื้นที่สุขภาวะ” หรือ “Healthy Space” คือการออกแบบพื้นที่สาธารณะ หรือพื้นที่ในชุมชน ให้กลายเป็นสถานที่ให้ผู้คนออกมาใช้สอยและทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่เขียว ไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่ และไม่จำกัดว่าต้องเป็นพื้นที่ออกกำลังกาย แต่เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมได้อย่างครบถ้วนทุกมิติ เพื่อลดความเนือยนิ่ง ความเครียด และปัญหาสุขภาพจิต

เป้าหมายคือการสร้างเมืองให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงทำกิจกรรมใกล้บ้านอย่างสะดวกสบาย ​ ไม่จำเป็นต้องกัดแค่  “พื้นที่สีเขียว” อย่างเดียว แต่ยังครอบคลุมไปถึงพื้นที่ทางธรรมชาติ สวนสาธารณะ พื้นที่พาณิชยกรรม พื้นที่เล่นกีฬา ศาสนสถาน  ทางสัญจร พื้นที่การเรียนรู้  สถานศึกษา ลานว่าง และขนส่งสาธารณะ

จากข้อมูลพบว่าการลงุทนในพื้นที่สุขภาวะ ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า โดย  5 ปีที่ผ่านมา สร้างผลประโยชน์ถึง 41,862 ล้านบาท มากกว่าเงินลงทุนถึง 6 เท่า

ในช่วงที่ผ่านมามีโครงการนำร่อง ”Healthy Space Project”  ซึ่งเป็นการรวมตัวของนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง we!park สสส.  ฯลฯ เข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้กลายเป็นพื้นที่สุขภาวะ

อย่างไรก็ตาม ด้วยความไม่ชัดเจนของนิยาม ”พื้นที่สุขภาวะ” ทำให้การขับเคลื่อนยังเน้นไปที่ “กิจกรรม”​ การออกกำลังกาย กีฬา และ นันทนาการ โดยขาดการพูดถึง “การพัฒนาพื้นที่”​ที่ส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในทุกมิติ นำมาสู่การเริ่มพัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่มิติที่กว้างขวางขึ้น

ย้อนไปก่อนหน้านี้ แผนยุทธศาสตร์ชาติ (2560-2579) ยุทธศาสตร์ 3 ระบุถึงคนไทยในนอนาคตจะต้องมีความพร้อมทั้งกายใจ สติปัญญามีพัฒนาการที่ดีรอบด้านมีสุขาภาวะโดยใช้กิจกรรมการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการเป็นเครื่องมือ

ในขณะที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9-12 กล่าวถึงสุขภาพและการพัฒนาสภาพแวดล้อม และฉบับล่าสุด ฉบับที่ 13 กล่าวถึงสุขภาพ การพัฒนาสภาพแวดล้อมและการเสริมความเข้มแข็งในการบริการ จัดการพื้นที่และเมือง ซึ่งยังขาดตัวชี้วัดในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะ

สอดรับกับความเคลื่อนไหว ที่หน่วยงานต่าง ๆ เริ่มขับเคลื่อนประเด็นประเด็นนี้   ไล่มาตั้งแต่  14 ธ.ค. 2561 สมัชชาสุขภาพครั้งที่ 11 มีมติเห็นชอบสร้างพื้นที่สาธารณะในเขตเมืองเพื่อสุขภาวะ ต่อเนื่องมาจนถึงที่ประชุม สมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 77 (77th World Health Assembly, WHA) ประกาศรับมติ เรื่อง “การมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตลอดจนสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีที่ทำให้หลายหน่วยงานเริ่มขยับตามมติดังกล่าว

แต่ย้อนไปก่อนหน้านี้ภาคประชาชนหลายกลุ่มได้ออกมาขับเคลื่อนเรื่องพื้นที่สุขภาวะอย่างเข้มแข็ง  โดยเฉพาะช่วงก่อนการเลือกตั้งผู้ว่าฯ​กทม. ​เครือข่ายปลุกกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันก่วา 80 องค์กรที่เปิดตัวในงาน  Bangkok Active: ฟังเสียงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 มี.ค.​2565  ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้  ขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพ กทม. ให้เป็นรูปธรรม และส่งข้อเสนอปกขาวกับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการ กทม.​

ถัดมาช่วง เม.ย.​2566  เครือข่ายพัฒนาเมือง ร่วมพูดคุยหาแนวทาง UNLOCK CITY POTENTIAL โอกาสของพื้นที่ในการพัฒนาเมือง และการสร้างอนาคตของเมือง : เรียนรู้จากกรณีตัวอย่าง 13 นักพัฒนาเมือง สู่การปลดล็อกข้อจำกัดในการพัฒนาเมือง จาก 39 แนวคิด 9 เมือง ทั่วประเทศ

ต่อเนื่องในช่วงก่อนการเลือกตั้งใหญ่ภายใต้แคมเปญ Hack Thailand 2575  The Active Thai PBS และ we!park และเครือข่ายจัดเวทีสาธารณ Green Spaces นโยบายที่ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ช่วง มิ.ย. 2565

​ก่อนจะมาขับเคลื่อนในเชิงรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้นในงาน เสวนา Park Policy ในกิจกรรม “พัก กะ Park พาร์คสร้างสุข เพื่อสุขภาวะ”  เมื่อเม.ย. 2567 ที่มองนิยามของสวนเกินกว่าขอบเขต “พื้นที่สีเขียว” ไปสู่ “พื้นที่สาธารณะ” ที่คนออกมาทำกิจกรรมต่าง ๆ

ล่าสุดในงาน Policy Forum  ขยับท้องถิ่น ขยายเมืองสุขภาวะ ได้เริ่มชักชวนสนับสุนให้ท้องถิ่นที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะทั่วปประเทศ ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนพัฒนา “สมุดปกขาว“​ ซึ่งเป็นเหมือนแผนที่นำทางทั้งรวบรวมข้อมูล ปัญหา อุปสรรค เพื่อนำไปสู่การออกแบบ วางแผนการทำงานในทุกระดับร่วมกัน จนถึงขั้นผลักดันนโยบายเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม โดยสมุดปกขาวจะผลักดันใน 2 ทิศทาง  ผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กับ ผ่านองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

 

 

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • ภาคีเครือข่ายจัด Policy Forum ขยับท้องถิ่น ขยายเมืองสุขภาวะ ขับเคลื่อนนโยบายสร้างสรรค์เมือง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีส่วนร่วม

    23 มี.ค. 2568

  • เครือข่ายการมีส่วนร่วมของสังคม (Social Participation) นานาชาติ ได้มาร่วมประกาศเจตนารมณ์เพื่อขับเคลื่อน มติสมัชชาอนามัยโลก เรื่อง การมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อสุขภาวะ ภายในงานประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ค

    27 พ.ย. 2567

  • ที่ประชุม สมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 77 (77th World Health Assembly, WHA) ประกาศรับมติ เรื่อง “การมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตลอดจนสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Social Participation fo

    1 มิ.ย. 2567

  • ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 - 2570) กล่าวถึงสุขภาพ การพัฒนาสภาพแวดล้อม และการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริการจัดการพื้นที่และเมือง

    2 พ.ย. 2565

  • ครม.เห็นชอบแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) ที่ระบุถึงการเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี

    18 เม.ย. 2562

  • สมัชชาสุขภาพครั้งที่ 11 มีมติเห็นชอบสร้างพื้นที่สาธารณะในเขตเมืองเพื่อสุขภาวะ

    14 ธ.ค. 2561

  • ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2579) โดยมียุทธศาตร์ที่ 3 ระบุถึงการเสริมสร้างให้คนไทยมี “สุขภาวะ” ที่ดี ครอบคลุมทั้งกาย ใจ สติปัญญา และสังคม

    2561

  • สธ. มท. ศธ. รง. สสส. “แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” (2561-2573) เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายในวิถีชีวิตประจำวัน ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

    2561

  • ) และริเริ่มพัฒนาเมืองต้นแบบ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเมือง

    2561

  • เกิด “ปฏิญญากรุงเทพมหานคร ด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพโลกและการพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งเป็นปฏิญญาฉบับแรกของโลกที่ว่าด้วยหลักวิธีและการปฏิบัติเพื่อให้คนในประเทศมีกิจกรรมทางกาย ที่กลายเป็นคู่มือ

    2559

  • สสส. จับมือกับกระทรวงสาธารณสุข และกทม. ร่วมกับ สมาคมนานาชาติเพื่อการมีกิจกรรมทางกายและสุขภาพ (The International Society for Physical Activity and Health – ISPAH) จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการส่

    2559

  • สสส. จัดทำ “แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย และกีฬาเพื่อสุขภาพ” เพื่อส่งเสริมกิจกรรมเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน และสร้างพื้นที่สุขภาวะ ปัจจัยแวดล้อม เพื่อรองรับ

    2554

  • บูรณาการ “แผนงานส่งเสริมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ” สู่ระดับจังหวัด และท้องถิ่น 19 มีนาคม 2550 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550” ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของท

    2550

  • สสส. จัดทำ “แผนส่งเสริมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ” โดยมีใจความสำคัญให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกพื้นที่ มีกิจกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ เป็นวิถีชีวิต

    2549

  • ก่อตั้ง สสส. โดยมีวิสัยทัศน์ “คนไทยมีสุขภาวะอย่างยั่งยืน”

    2544

  • องค์การอนามัยโลกเริ่มต้นโครงการ “Healthy Cities”

    2529

  • องค์การอนามัยโลก เริ่มส่งเสริมให้เมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพของประชาชน โดยมีการจัดทำคู่มือ แนวทาง และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เมืองต่าง ๆ นำแนวทางไป

    2523

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

we!park
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC)
ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง
ปั้นเมือง
สถาบันอาศรมศิลป์
สถาบันอรุณอินสยาม
ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK))
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
Activethai

อินโฟกราฟิก

Image 0Image 1Image 2Image 3Image 4Image 5Image 6Image 7Image 8Image 9

บทความ