B-READY ดัชนีใหม่ของธนาคารโลก ที่วัดความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ กำลังเป็นเรื่องที่ท้าทายของไทย โดยเฉพาะความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่จะนำมาร่วมประเมินในครั้งนี้ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกใช้เป็นตัวกีดกันทางการค้า แต่ธุรกิจ SMEs ไทยจำนวนมากกลับยังขาดความเข้าใจ อาจได้รับผลกระทบในอนาคต
วิกฤตทางธรรมชาติและระบบนิเวศเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้นในโลกยุคโลกเดือด จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลักอย่างรุนแรงในระยะยาวได้ หากไม่ช่วยกันรักษาความหลากหลายทางชีวภาพอย่างจริงจัง
การก่อหนี้ของรัฐบาลส่งกระทบต่อฐานะการคลังในอนาคต ปัญหาโครงสร้างการเมืองการปกครอง รวมถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการเติบโตระยะยาว กำลังคุกคามความน่าเชื่อถือของประเทศ SCB EIC มองว่ายังอาจทำให้ไทยถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ และจะส่งผลกระทบหนักหลายด้าน แนะรัฐบาลควรเร่งวางแผนระยะยาว
อุตสาหกรรมไทยกำลังล้มเหลวจากความเสี่ยงหลายด้าน ทั้งเทคโนโลยี กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม และสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ทำให้ 7 เดือนแรกปี 67 ปิดโรงงานแล้ว 757 แห่ง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา สภาพัฒน์แนะมาตรการเร่งช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กให้สามารถอยู่รอดได้อย่างมั่นคง
ธุรกิจทั่วโลกมีการใช้ AI กันมากขึ้น ป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ปัญญาประดิษฐ์ สหภาพยุโรป จึงเริ่มบังคับใช้กฎหมายควบคุม AI อย่างเข้มงวด เพื่อส่งเสริมความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และความไว้วางใจของสาธารณะ
ตลาดทุนไทยอยู่ในภาวะซบเซา หลังนักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นและตราสารหนี้ไทยรวมครึ่งปีแรก 2567 ทะลุ 1.8 แสนล้านบาท ทำให้ล่าสุดรัฐบาลปรับเงื่อนไขใหม่ของกองทุน Thai ESG ลดเวลาถือครองสั้นลง และเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษี เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนนำเงินมาลงทุนในตลาดทุนไทยมากยิ่งขึ้น
สถิติตัวเลขผู้มีงานทำของคนไทยราว 40 ล้านคน แต่เมื่อจำแนกออกมา จะพบว่าส่วนใหญ่ ทั้งนายจ้างและลูกจ้างกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มการค้า บริการและท่องเที่ยว จึงไม่น่าแปลกใจที่เศรษฐกิจไทยจะมีความอ่อนไหวอย่างมากจากสถานการณ์ภายนอกและภาคในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น
ท่ามกลางอุณหภูมิโลกที่เริ่มเดือดมากขึ้นจากฝีมือมนุษย์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ พัฒนา SET Carbon ระบบเปิดเผยข้อมูลการจัดการก๊าซเรือนกระจกของบริษัทจดทะเบียน เพื่ออำนวยความสะดวกนักลงทุน และหน่วยงานต่าง ๆ
ธปท.ชี้ไทยต้องเริ่มปรับตัวภาคธุรกิจให้ลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ป้องกันตกขบวนการค้าโลก พร้อมให้สถาบันการเงินพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อสีเขียวให้ครอบคลุมธุรกิจ SMEs ที่ถือเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจ
นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ช่วยเพิ่มรายได้ลูกจ้างและลดความเหลื่อมล้ำ แม้ฟังดูดี แต่นักเศรษฐศาสตร์มองจากบทเรียนที่ผ่านมา ไม่ได้เพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน แต่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แนะในระยะยาวต้องพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อดึงดูดงานที่มีมูลค่าสูงและเงินเดือนที่สูง
นักวิจัยทีดีอาร์ไอมองค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ควรปรับมานานแล้วตามค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น แนะรัฐบาลเข้มงวดบังคับใช้อย่างจริงจัง หวั่นผู้ประกอบการหลบเลี่ยง ขณะที่ตลาดแรงงานหลังโควิด-19 เริ่มเปลี่ยนไป แรงงานต้องพัฒนาทักษะ รองรับการใช้เทคโนโลยี
ไทยกำลังจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลได้หาเสียงไว้ ในหลักเศรษฐศาสตร์สามารถจำลองได้ว่าจะเกิดผลกระทบอะไรขึ้นต่อตลาดแรงงาน และการปรับตัวของผู้ประกอบการ หลังจากที่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้ว