จำนวนประชากรของประเทศไทยลดลงต่อเนื่องจากอัตราการเกิดลดลง ที่ประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีมากขึ้นเรื่อย ๆ และอายุยืนยาวกันมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก และทำให้หลายประเทศออกนโยบายส่งเสริมการเกิด เพราะอัตราการเกิดลดลงและจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นหมาถึงว่ากำลังแรงงานหรือคนวัยทำงานลดลง จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมในหลายด้าน
หากดูจากสถิติของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหดไทย จำนวนประชากรไทยย้อนหลังกลับไป 5 ปี ที่ผ่านมา ะเห็นว่าจำนวนประชากรของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุสูงขึ้น ตามลำดับ
- ปี 2562 มีจำนวน 66,558,935 คน
- ปี 2563 มีจำนวน 66,186,727 คน
- ปี 2564 มีจำนวน 66,171,439 คน
- ปี 2565 มีจำนวน 66,090,475 คน
- ปี 2566 มีจำนวน 66,052,615 คน
ในอนาคตแรงงานไทยกำลังจะลดลงมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว จากสถิติในปี 2566 ไทยมีผู้สูงอยู่ที่ 13,064,929 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 20% ประชากรทั้งหมด และกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) คือ ประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ที่มีสัดส่วนแตะ 28% ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งคาดว่ากำลังจะเกิดขึ้นในปี 2567
คนไทยเป็นผู้มีงานทำ 40 ล้านคน
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และการประเมินจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าจากจำนวนประชากรทั้งหมดในปี 2566 กว่า 66 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 40 ล้านคน
(ตามคำนิยามของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ผู้มีงานทำ หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และในระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ 1) ได้ทำงานตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป โดยได้รับค่าจ้าง เงินเดือน ผลกำไร เงินปันผล ค่าตอบแทนที่เป็นเงินสดหรือสิ่งของ 2) ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวิสาหกิจหรือไร่นาของหัวหน้าครัวเรือนหรือสมาชิกในครัวเรือน 3) ไม่ได้ทำงานหรือทำงานน้อยกว่า 1 ชั่วโมง (เป็นผู้ปกติมีงานประจำ) แต่ 3.1) ยังคงได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง ผลประโยชน์อื่นๆ ผลกำไรจากงานหรือธุรกิจในระหว่างที่ไม่ได้ทำงาน 3.2) ไม่ได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้างผลประโยชน์อื่นๆ ผลกำไรจากงานหรือธุรกิจในระหว่างที่ไม่ได้ทำงาน แต่ยังมีงานหรือธุรกิจที่จะกลับไปทำ)
จำนวนประชากรที่เป็นผู้มีงานทำ 40 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของประชากรทั้งหมดในปี 2566 แบ่งเป็น แรงงานในภาคเกษตรมี 12 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 30% ของแรงงานทั้งประเทศ และแรงงานนอกภาคเกษตร 28 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 70% ของแรงงานทั้งประเทศ ซึ่งสอดเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่สัดส่วนนอกภาคเกษตรสูงกว่ามาก
(ตัวเลขแรงงานข้างต้น ยังไม่นับรวมแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศอีกหลายล้านคน)
เมื่อพิจารณาจากผู้มีงานทำนอกภาคเกษตร 28 ล้านคน พบว่าเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระนอกภาคเกษตร รวมถึงนายจ้าง รวม 10 ล้านคน หรือ คืดเป็น 25% ของผู้มีงานทำทั้งหมด ในขณะที่เป็นลูกจ้าง 18 ล้านคน หรือ คิดเป็น 45%
เท่ากับว่าเกือบครึ่งของผู้มีงานทำทั่วประเทศ มีสถานะเป็น “ลูกจ้าง” นอกภาคเกษตร
กลุ่มอาชีพอิสระ-นายจ้าง กระจุกตัว”ท่องเที่ยว-การค้า”มากที่สุด
สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระนอกภาคเกษตร ซึ่งรวมนายจ้าง จำนวน 10 ล้านคน พบว่าอยู่ในภาคบริการและการท่องเที่ยวมากที่สุด โดยเป็นภาคการค้ามากที่สุด 4 ล้านคน หรือ 9.7% รองลงมา บริการที่เกี่ยวกับภาคการท่องเที่ว 3 ล้านคน หรือ 6.9% และบริการอื่น ๆ จำนวน 2 ล้านคน หรือ 5.1% โดมีอยู่ในภาคอุตสาหกรรมเพียง 1 ล้านคน หรือ 3.1%
จากตัวเลขข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งรวมถึงนายจ้าง ส่วนมากอยู่ในภาคการค้าและบริการ แต่มีภาคอุตสาหกรรมเพียง 3.1% ของผู้มีงานทำทั้งหมด
ลูกจ้างส่วนใหญ่อยู่ในภาคท่องเที่ยว-การค้า
สำหรับข้อมูลผู้ที่เป็น “ลูกจ้าง” รวม 18 ล้านคน หรือ คิดเป็น 45% ของผู้มีงานทำทั่วประเทศ ยังคงกระจุกตัวในภาคการค้าบริการและการท่องเที่ยว เช่นเดียวกับกลุ่มผู้มีอาชีพอิสระและผู้ประกอบการ แบ่งได้ดังนี้
- บริการที่เกี่ยวกับภาคท่องเที่ยว 1.5 ล้านคน หรือ 3.7% ของผู้มีงานทำ
- อุตสาหกรรมที่เผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้าง (Hard Disk Drive, สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม,ปิโตรเคมี และเหล็ก) จำนวน 0.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 1.5% ของผู้มีงานทำทั่วประเทศ
- การค้า 3 ล้านคน หรือ 7.6% ของผู้มีงานทำทั่วประเทศ
- บริการอื่น ๆ จำนวน 8 ล้านคน หรือ 20.8% ของผู้มีงานทำทั่วประเทศ
- อุตสาหกรรมอื่น ๆ จำนวน 4 ล้านคน หรือ 11% ของผู้มีงานทำทั่วประเทศ
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่ากำลังแรงงานหรือผู้มีงานทำของคนไทยส่วนใหญ่อยู่ในภาค “การค้า บริการและการท่องเที่ยว” ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีความอ่อนไหวอย่างมาก อาทิ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงส่งผลกระทบอย่างหนัก
ในเชิงนโยบาย หากพิจารณาจากสถิติผู้มีงานทำข้างต้น หากรัฐบาลต้องการให้ประเทศสามารถแข่งขันได้ ก็อาจจำเป็นต้องวางแผนระยะยาวในการพัฒนาภาคการผลิตที่นอกเหนือจาก “ภาคบริการและการท่องเที่ยว” อย่างกรณีของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC แต่จะมีความเป็นไปได้แค่ไหนและทันต่อการแข่งขันหรือไม่ ยังเป็นเรื่องท้าทายสำหรับรัฐบาลในสถานการณ์การเมืองแบบไทย ๆ
ค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท : กระทบใคร-กระทบอย่างไร
ตลาดแรงงานยุคใหม่ ทักษะภาษาอังกฤษต้องการสูงสุด
ฐานะการคลังเสี่ยงสูง รายจ่ายรัฐเพิ่มจากสังคมสูงอายุ
ที่มา:
- สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, กรมกิจการผู้สูงอายุ
- “ผู้ว่าการ พบสื่อมวลชน” ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ก.ค. 2567