วิกฤตต้มยำกุ้ง นำไปสู่ลอยตัวค่าเงินบาท 2 ก.ค. 2540 แม้ว่าคนไทยจำนวนมากจะลืมไปแล้วถึงวิกฤตครั้งใหญ่ แต่บาดแผลที่เกิดขึ้นยังปรากฏให้เห็นในสังคม ในโอกาสครบรอบ 27 ปี จึงเป็นโอกาสที่จะกลับมาทบทวนบทเรียน แม้ว่าปัญหาและความซับซ้อนของระบบเศรษฐกิจจะเปลี่ยนต่างไปอย่างสิ้นเชิง
ความขัดแย้งระหว่างกระทรวงการคลัง กับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เรื่องนโยบายดอกเบี้ย เป็นเรื่องที่มีมานาน ฝ่ายหนึ่งใกล้ชิดกับการเมือง มักจะโอนอ่อนตามการเมือง แต่อีกฝ่ายห่วงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การอ้างเหตุผลก็เป็นเหตุผลเดิม ๆ ที่เคยอ้างกันมาและกล่าวโทษกันไปมา โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจย่ำแย่
อะไรคือนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยควรลดหรือไม่? เป็นข้อถกเถียงในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เมื่อรัฐบาลเผชิญกับปัญหาเรื่อง "นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต" และเรียกร้องให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย ซึ่ง ดร.สมชัย จิตสุชน อดีตกรรมการ กนง. มีคำตอบ
ธปท.ย้ำเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 แล้ว แต่ยังโตต่ำและฟื้นตัวช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งมิติการขยายตัวและการส่งออกสินค้า ซึ่งเป็นผลจากทั้งปัจจัยเชิงวัฏจักรระยะสั้นและเชิงโครงสร้าง แนะเร่งปรับกติกาภาครัฐ ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม