ThaiPBS Logo

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ คือ ปัญหาที่ไทยและทั่วโลกให้ความสำคัญและพยายามหาทางรับมือแก้ไข โดยรัฐบาลประกาศสานต่อนโยบาย Carbon Neutrality (ความเป็นกลางทางคาร์บอน) เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยในปี 2566 ได้เข้าร่วมประชุม COP28 เพื่อแสดงบทบาทความร่วมมือกับประชาคมโลก

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

  • กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง (National Focal Point) ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหน่วยประสานงานหลัก (NDA) ของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (GCF) และเป็นผู้จัดทำกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนรูปแบบวิธีการอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องกำหนดหรือบัญญัติขึ้นภายในประเทศเพื่อรองรับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเป็นผู้พิจารณาโครงการ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่ต้องการขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุน GCF ให้ถูกต้องตามระเบียบราชการ

ร่าง พ.ร.บ. Climate Change

ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ร่าง พ.ร.บ. Climate Change ถูกตั้งความหวังว่าจะเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emissions) ได้ภายในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) โดยปัจจุบันประกอบด้วยร่างทั้งหมด 4 ฉบับ ได้แก่

  • 1. ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. เสนอโดย กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (ฉบับรัฐบาล)
  • 2. ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. เสนอโดย นางสาวศนิวาร บัวบาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ
  • 3. ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนเครดิต พ.ศ. …. เสนอโดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ
  • 4. ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. … เสนอโดยเครือข่ายประชาชนเพื่อความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ (อยู่ระหว่างการระดมรายชื่อให้ครบ 10,000 รายชื่อ และเตรียมยื่นเสนอต่อรัฐสภาฯ ต่อไป) 

รัฐบาล ‘เศรษฐา’ กับการผลักดันไทยเป็น ‘สังคมคาร์บอนต่ำ’

รัฐบาลโดย ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศสานต่อนโยบาย ‘Carbon Neutrality’ หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งเป็นไปตามข้อสรุปจากการประชุม COP26 สมัยรัฐบาล ‘พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ อดีตนายกรัฐมนตรีโดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียน ในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนและนำไปสู่การเปิดประตูบานใหญ่สู่การค้าโลก และเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยและสร้างข้อได้เปรียบให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการในประเทศ และทำให้รัฐบาลสามารถเจรจาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กฎกติกาใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

  • เพิ่มเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution หรือ NDC) จากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 40 ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยบูรณาการในนโยบายที่สำคัญของประเทศ ซึ่งรวมถึงในยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13
  • ภาคพลังงาน มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง รวมถึงการเตรียมการยกเลิกผลิตพลังงานโดยใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในด้านพลังงานได้ร้อยละ 15 วางแผนเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ผ่านโครงการ Utility Green Tariff สนับสนุนการใช้โซลาร์รูฟท็อปและการวัดแสงสุทธิ (net metering) รวมถึงสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ
  • ภาคการเกษตร เป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงทางอาหาร นำร่องปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาแบบปัจจุบันไปสู่การทำนาที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ยั่งยืน มีประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิต มุ่งเน้นการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ BCG เพื่อพัฒนาสังคมแบบองค์รวม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมทั้งเพิ่มคุณค่าให้กับความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจที่เน้นนวัตกรรม ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรหมุนเวียนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน
  • ภาคป่าไม้ โดยเพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอน โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภทให้ครอบคลุมร้อยละ 55 ของพื้นที่ทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2037 ซึ่งจะช่วยเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 120 ล้านตันต่อปี 
  • ภาคการเงินสีเขียว (Green Finance) โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวในการประชุม Financing for the Future Summit ว่าจะส่งเสริมกลไกการเงินสีเขียวอย่างแข็งขัน ผ่านการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักลงทุนทั่วโลก ปัจจุบันสามารถระดมทุนได้ถึง 12.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนำไปสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ได้มากมาย รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายใหม่ และโครงการปรับปรุงระบบบริหารจัดการน้ำ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงวางแผนออกพันธบัตรที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืน (Sustainability Linked Bonds)อีกชุดในปีหน้า และจะระดมทุนให้ได้ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมทั้งพัฒนาการจัดทำมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย (Thailand Green Taxonomy) เพื่อเป็นเครื่องกำหนดมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคการเงิน สามารถกำหนดนโยบาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และการลงทุน ให้สอดคล้องกับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในทุกมิติ
  • จัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อตอบสนองต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยนายกรัฐมนตรีผลักดันให้ผ่านพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อควบคุมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบบังคับ ซึ่งส่วนนี้จะวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

วาระระดับโลก กับเวที COP28 

ในปี 2566 นี้มีการประชุม COP28 ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ซึ่งปี 2566 นี้ รัฐบาลไทยได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม COP28  มีผู้นำโลกเกือบ 200 ประเทศเข้าร่วม เพื่อประสานงานการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศโลก โดยมุ่งเน้นไปที่การติดตามเร่งรัดการมุ่งหน้าสู่การใช้แหล่งพลังงานสะอาด และ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ได้ก่อนปี 2030 เพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส

ประเด็นในการประชุม COP28 ที่สำคัญ

  • 1. เร่งดำเนินการเปลี่ยนไปสู่แหล่งพลังงานสะอาด เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนปี 2593
  • 2. เปลี่ยนโฉมการเงินสำหรับการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศให้ประเทศที่ยากจนและดำเนินการในข้อตกลงใหม่สำหรับประเทศกำลังพัฒนา
  • 3. มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบต่อธรรมชาติและผู้คน
  • 4. ให้ COP28 เป็นการประชุมที่ครอบคลุมในประเด็นปัญหามากที่สุด

นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตัวแทนผู้นำประเทศไทยเข้าร่วม คือ ‘พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ’ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะทำงานเข้าร่วม เพื่อแสดงความมุ่งมั่นของประเทศไทย ตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด 40% ภายในปี ค.ศ. 2030 มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2065

4 ข้อเสนอของไทยเตรียมไปเสนอเวที COP28

จากข้อสรุปการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 (Thailand climate Action Conference : TCAC 2023) เมื่อ 16 ตุลาคม 2566 ที่มีการนำเสนอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนำไปรายงานใน COP28  4 ประเด็นหลัก คือ

  • การขับเคลื่อนนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลก ระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่
  • เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • กลไกการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต
  • การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกระดับ

โดยในเวทีการประชุม พล.ต.อ.พัชรวาท ได้ขึ้นกล่าวจุดยืนประเทศไทย ดังนี้

  • ประเทศไทย คนไทยมีความตื่นตัวเรื่องโลกร้อนมากขึ้น ขอยืนยันว่าประเทศไทยได้ทำตามสิ่งที่เราให้คำมั่นไว้อย่างแน่นอน วันนี้ประเทศไทยมาเข้าร่วมประชุม COP28 เพื่อแสดงถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานในประเทศที่จัดเจนและเป็นรูปธรรม และพร้อมให้ความร่วมมือเพื่อดำเนินการต่อไป
  • ประเทศไทยได้ปรับปรุงแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก ตามเป้าหมายการมีส่วนร่วม ตามที่ประเทศกำหนดปี 2030 ครอบคลุมทุกภาคส่วนซึ่งคาดว่า จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในปี 2025 โดยจะต้องปรับเปลี่ยนระบบนิเวศเศรษฐกิจ ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่คำนึงถึงประชาชนทุกภาคส่วน 
  • ประเทศไทยเร่งผลักดันร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นการกำกับดูแลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มขีดความสามาถในการปรับตัว โดยมีกลไกการเงินที่เหมาะสม และเข้าถึงได้ เพื่อเปลี่ยนผ่าไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์อย่างเป็นระบบ
  • ประเทศไทยได้จัดทำแผนปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อเป็นกรอบหลักในการสร้างภูมิคุ้มกัน อย่างยั่งยืนให้กับประชาชน และจะสนับสนุนเป้าหมายระดับโลกด้านการปรับตัวอีกด้วย ประเทศไทยกำลังผลักดันตัวอย่างของการปรับตัวในภาคเกษตรเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควบคู่กับการรักษาความมั่นคงทางอาหาร ผ่านโครงการเพื่อเพิ่มศักยภาพการปลูกข้าวซึ่งเท่าทันต่อภูมิอากาศ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนภูมิอากาศสีเขียว การระดมเงินแสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2025 ไปถึงจำนวนล้านล้านเหรียญสหรัฐ จะเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการบรรลุเป้าหมายของประเทศที่กำลังพัฒนา
  • ทั้งนี้ไทย ในฐานะรัฐภาคี ยินที่จะได้เห็นความชัดเจนของกองทุนฯ ใน COP28 และหวังว่าการประเมินสถานการณ์และการดำเนินการสู่ 1.5 องศาเซลเซียส ตามเป้าหมายความตกลงปารีส โลกใบเดียวของเราส่งสัญญาณแล้วว่า ปี 2023 กำลังจะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ ว่าเป็นปีที่ร้อนที่สุดที่เราทุกคนจะต้องลงมือทำเพื่อให้ลูกหลานของเรา มีโลกใบนี้ที่จะอาศัยอยู่ได้ต่อไป

นอกจากนี้ในช่วงเดียวกับที่มีการประชุม COP28 ไทยได้จัดนิทรรศการและกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) เกี่ยวกับผลการดำเนินการของประเทศไทย ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นการเผยแพร่ข้อมูล และนำเสนอผลการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยสู่ประชาคมโลก รวมทั้งเป็นเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างนักวิชาการ ผู้แทนรัฐบาล องค์กรเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ ณ Thailand Pavilion 

หัวข้อนิทรรศการสำคัญ

  • แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย พ.ศ. 2564 – 2573 (NDC Roadmap)
  • แผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เครื่องมือกลไกภายใน และระหว่างประเทศ Thailand Innovation Zone
  • กิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) ภายใต้แนวคิด ‘Climate Partnership Determination’ ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายภาครัฐ และเอกชน รวมถึงเยาวชน และสถาบันการศึกษา รวมกว่า 20 หน่วยงาน

 

แหล่งอ้างอิง

 

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • คกก.นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ(กนภ.) เห็นชอบร่างรายงานการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะเสนอต่อสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในธ.ค.67

    7 พ.ย. 2567

  • เครือข่ายประชาชนเพื่อความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ 23 องค์กร ร่วมลงนาม เสนอร่างกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยั่งยืนและเป็นธรรมภาคประชาชน แข่งกับ ร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของรัฐบาล  ดูเพิ่มเติม ›

    13 มิ.ย. 2567

  • ครม. เห็นชอบให้กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง (National Focal Point) เป็นหน่วยประสานงานหลัก (NDA) ของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund : GCF)  ดูเพิ่มเติม ›

    4 มิ.ย. 2567

  • พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.ทส. มอบหมายให้กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เร่งจัดการและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

    21 ก.พ. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง COP28 พันธสัญญาไทยขับเคลื่อนความยั่งยืน ในงาน Sustainability Forum 2024

    13 ธ.ค. 2566

  • สิ้นสุดเวทีประชุม COP28

    12 ธ.ค. 2566

  • พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รมว.ทศ.กล่าวถ้อยแถลงร่วมกับผู้นำนานาชาติ ในเวที COP 28 ประกาศหมุดหมายลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2030

    10 ธ.ค. 2566

  • เวทีประชุม COP28

    30 พ.ย. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ประกาศต่อที่ประชุมสิ่งแวดล้อมยูเอ็น ดันไทยยกเลิกใช้ถ่านหิน เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด ผลักดันพื้นที่สีเขียว ขับเคลื่อนกรีนไฟแนนซ์

    21 ก.ย. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ภาคพลังงาน
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง รวมถึงการเตรียมการยกเลิกผลิตพลังงานโดยใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ภายในปี ค.ศ. 2050 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในด้านพลังงานได้ร้อยละ 15
ภาคการเกษตร
นำร่องปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาแบบปัจจุบันไปสู่การทำนาที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ยั่งยืน มีประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิต มุ่งเน้นการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ BCG เพื่อพัฒนาสังคมแบบองค์รวม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมทั้งเพิ่มคุณค่าให้กับความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจที่เน้นนวัตกรรม ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรหมุนเวียนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน
ภาคป่าไม้
เพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอน โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภทให้ครอบคลุมร้อยละ 55 ของพื้นที่ทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2037 ซึ่งจะช่วยเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 120 ล้านตันต่อปี
ภาคการเงินสีเขียว (Green Finance)
ส่งเสริมกลไกการเงินสีเขียวอย่างแข็งขัน ผ่านการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond)

อินโฟกราฟิก

Image 0Image 1Image 2

บทความ

ดูทั้งหมด
เกษตรเสียหาย 3.54 ล้านไร่ จากอุทกภัยปี 67

เกษตรเสียหาย 3.54 ล้านไร่ จากอุทกภัยปี 67

ช่วงสุดท้ายสภานการณ์น้ำท่วมปี 67 เสียหายแล้วกว่า 3 ล้านไร่ มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท จังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเชียงราย สศช.แนะรัฐบาลเร่งเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในเรื่องบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานและระบบการเตือนภัย

วิกฤตธรรมชาติเสี่ยงกระทบธุรกิจรุนแรงในระยะยาว

วิกฤตธรรมชาติเสี่ยงกระทบธุรกิจรุนแรงในระยะยาว

วิกฤตทางธรรมชาติและระบบนิเวศเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้นในโลกยุคโลกเดือด จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลักอย่างรุนแรงในระยะยาวได้ หากไม่ช่วยกันรักษาความหลากหลายทางชีวภาพอย่างจริงจัง

3 โจทย์ใหญ่จัดการภัยพิบัติเชียงราย

3 โจทย์ใหญ่จัดการภัยพิบัติเชียงราย

สถานการณ์น้ำท่วม และสึนามิโคลนที่เกิดขึ้นในเชียงราย สะท้อนถึงระบบการรับมือที่ยังไม่ดีพอ และการตกอยู่ในวังวนของภัยพิบัติใหญ่มานานนับสิบปี ทำให้การพัฒนาเติบโตของ “เชียงราย” ถูกบั่นทอน “รศ.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์” เสนอ 3 แนวทาง ทำให้เมืองปลอดภัย และเดินหน้าพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวได้มากขึ้น