ThaiPBS Logo

ระบบสุขภาวะทางจิต

ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยนับวันจะมีมากขึ้นในทุกช่วงอายุ นโยบายเพื่อแก้ปัญหามาจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก โดยรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้บรรจุนโยบายด้านสุขภาพจิตไว้เป็น 1 ในนโยบาย "ยกระดับ 30 บาทพลัส" แต่จะสามารถคลี่คลายปัญหาได้หรือไม่ ในเมื่อสุขภาพจิตเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางสังคมเศรษฐกิจในวงกว้าง

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

ขั้นตอนดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศไว้

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

Mental Health Check-in กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์สุขภาพจิตในคนไทย จากผู้ตอบแบบสอบถาม 5 ล้านคน ช่วง ต.ค. 2563 – ต.ค. 2566 พบว่า เครียดสูง 8.88% มีภาวะหมดไฟ 4.68% เสี่ยงซึมเศร้า 10.66% และเสี่ยงฆ่าตัวตาย 6.04% ซึ่งเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการป้องกันและแก้ไข

นโยบายด้านสุขภาพจิต คือ 1 ใน 12 เรื่อง ของนโยบายยกระดับ 30 บาทพลัส  ได้วางกรอบนโยบายการพัฒนางานสุขภาพจิต ประจำปีงบประมาณ 2567 ไว้ 8 ด้าน ดังนี้

1. ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานสุขภาพจิต ตามโครงการพระราชดำริ/เฉลิมพระเกียรติที่เกี่ยวเนื่องกับ พระบรมวงศานุวงศ์ เช่น

  • โครงการ TO BE NUMBER ONE
  • โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  • โครงการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
  • โครงการส่งเสริมพัฒนาการและ สุขภาพจิตเด็กและเยาวชนในชุมชนในพื้นที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

2. ส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเด็กและเยาวชน

  • พัฒนาทักษะชีวิตและความฉลาด 7 Qs ได้แก่ Intelligence – Emotional – Creativity – Moral – Play – Adversity – Social Quotient เพื่อให้เด็กและเยาวชนเติบโตอย่างมี คุณภาพ มีความรอบรู้เท่าทันปัญหาและภัยคุกคามทางสุขภาพจิต
  • ส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัยเชิงรับและเชิงรุกเพื่อการเข้าถึงอย่างครอบคลุม
  • ป้องกันปัญหาการล้อเลียนรังแกกันในโรงเรียน (Bullying)
  • เน้นดูแลเด็กที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตให้ได้รับการค้นหาและได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เด็กที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชได้รับการ ดูแลคุ้มครองอย่างถูกต้อง เท่าเทียม และทั่วถึงต่อเนื่อง จนหายทุเลา สามารถอยู่ในครอบครัว ชุมชน และสังคมได้อย่างปกติสุข

3. เน้นการดูแลสุขภาพจิตเชิงจิตสังคมสู่ระดับชุมชน (Social Psychology)

  • คัดกรองปัญหาสุขภาพจิต
  • ให้การดูแลทางสังคมจิตใจ พฤติกรรม อารมณ์และสร้างความเข้มแข็งทางใจแก่ประชาชน ทั้งกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรังและกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพจิต ตลอดจนครอบครัวและผู้ดูแล ให้ได้รับการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตจนดีขึ้น
  • บูรณาการ ความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในชุมชน ในการ Community Integrated Care
  • ส่งเสริมให้เกิดระบบสานสัมพันธ์ เด็ก-ผู้ใหญ่ คน 2 วัยใส่ใจดูแลกัน (Intergeneration System) เพื่อลดทุกข์ เพิ่มสุขและสร้างคุณค่าในคนต่างวัยที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน

4. เร่งเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต (Mental Health Literacy) เพิ่มความเข้าใจ ลดความขัดแย้ง ในสังคมให้แก่ประชาชนทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ

  • ใช้ทีมสื่อสารสุขภาพจิตดิจิทัล (Mental Influence Team: MIT) พัฒนาประเด็นความรอบรู้สุขภาพจิตที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และตรงกับความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มวัยอย่างแท้จริง
  • สื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาพจิตผ่านช่องทางต่างๆที่หลากหลาย รวมทั้ง พัฒนาให้เกิดทีมสื่อสารสุขภาพจิตดิจิทัลให้ครอบคลุมทุกเขตสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัย ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงต่อ ปัญหาสุขภาพจิต และกลุ่มผู้ป่วยจิตเวช มีความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพจิตและยาเสพติด สามารถดูแลตนเองและคนรอบ ข้างให้มีสุขภาพจิตดี มีพฤติกรรมสุขภาพจิตที่พึงประสงค์
  • มีความรู้เท่าทันต่อประทุษวาจา ถนอมใจ ไม่ใช้ Hate Speech เพื่อ ลดความขัดแย้งในสังคม รวมทั้งเข้าถึงข้อมูลสุขภาพจิตลดความตื่นตระหนกและส่งต่อขอความช่วยเหลือได้

5. พัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและยาเสพติดใกล้บ้านใกล้ใจ (Mental Health Anywhere เพื่อนแท้มีทุกที่)

  • คัดกรอง ช่วยเหลือ ส่งต่อผ่านนวัตกรรมสุขภาพจิตดิจิทัล 1323 Plus Voice Detection, DMIND, Step-by-Step Care (Self Assessment / Self Treatment / E-Helper)
  • จัดระบบบริการสุขภาพจิต และยาเสพติดใกล้บ้านใกล้ใจ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งบริการแบบ Onsite ได้แก่ การจัดบริการหอผู้ป่วยจิตเวชใน รพศ. รพท. ที่มีคุณภาพพร้อมให้บริการ มีกลุ่มงานจิตเวชในรพช.ทุกแห่ง บริการ Home Ward ทั้งที่บ้าน ในชุมชน เรือนจำ ตลอดจนสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เชื่อมต่อระบบบริการสุขภาพจิตกับระบบบริการสุขภาพกายในรูปแบบ Neuropsychiatric Care Center
  • จัดบริการดูแลสุขภาพจิต Online ด้วย Telepsychiatry รวมทั้ง Virtual Hospital และบริการสุขภาพจิต เชิงรุกด้วย Mobile Psychiatry เพื่อให้ประชาชนและผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา ได้รับการ ติดตามดูแลต่อเนื่องจนหายทุเลา                                                        

6. มุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม (Serious Mental Illness with High Risk to Violence: SMI – V) รวมไปถึงการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย (Suicide Prevention)

  • ใช้ระบบ V Scan – V care – V Recovery
  • การดูแลช่วยเหลือส่งต่อเข้าสู่การรักษาแบบทันท่วงทีด้วยทีม HOPE Task Force ระดับอำเภอ เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ได้รับการดูแลต่อเนื่อง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชน สังคมมีความปลอดภัย ไร้ความรุนแรง                                            

7. มุ่งมั่นผลักดันกลไกหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานสุขภาพจิต

  • เพื่อให้ประชาชนและผู้มีปัญหา สุขภาพจิตได้รับการคุ้มครองสิทธิ ส่งเสริมสุขภาพจิต
  • ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ อย่างครบวงจรและเท่าเทียม โดยแบ่งเป็น
    • กลไกกฎหมายสุขภาพจิต โดยขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตผ่านคณะอนุกรรมการประสานงาน เพื่อการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตระดับจังหวัด ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในพื้นที่ ได้แก่ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย การป้องกันอันตรายจากผู้ป่วยจิตเวชเนื่องจากสารเสพติด การดูแลป่วยจิตเวชที่มีความ เสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) และการติดตามดูแลวัยเรียนวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงให้ได้รับการดูแลช่วยเหลือ รวมทั้ง บูรณาการการดำเนินงานสุขภาพจิตผ่านพระราชบัญญัติสุขภาพจิต และพระราชบัญญัติยาเสพติด
    • กลไกการเงินการคลัง ที่มุ่งผลักดัน 3 กองทุนสุขภาพในการกําหนดชุดสิทธิประโยชน์ที่หลากหลาย ด้านสุขภาพจิตและจิตเวช และครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร ตลอดจนสร้างความมั่นคงและความเข้มแข็งทางการเงิน ให้กับหน่วยบริการจิตเวช และศูนย์สุขภาพจิต
    • กลไกเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างงานสุขภาพจิตกับเครือข่ายในเขตสุขภาพ และ กทม. และสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายต่างประเทศ เครือข่ายนอกกระทรวง และเครือข่ายระบบปฐมภูมิ ในการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยมีชุมชนเป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ร่วมสร้างสังคมสุขภาพจิตดี

8. เร่งพัฒนาระบบและโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพจิตดิจิทัลให้ครอบคลุมทุกมิติ (Digital Transformation)

  • แนวทาง A-B-C-D-E-F ได้แก่
    • การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI)
    • การพัฒนาระบบคลังข้อมูล ขนาดใหญ่ (Big Data)
    • การประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud Computing
    • การพัฒนาแพลตฟอร์มระบบ สุขภาพจิตดิจิทัล (Digital Platform)
    • การพัฒนาระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (EMR)
    • การพัฒนาศูนย์กลางข้อมูล ด้านการเงิน (Financial Data Set)

ตลอดจนพัฒนาความรู้และทักษะบุคลากรให้พร้อมเปลี่ยนผ่านสู่ระบบสุขภาพจิตดิจิทัลอย่างยั่งยืน 

แหล่งอ้างอิง

 

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพจิต จัดงาน ‘Hack ใจ - เพราะสุขภาพใจเป็นเรื่องของทุกคน’ รวบรวมไอเดียการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ผ่านกระบวนการ Hackathon ครั้งแรกในไทย และเตรียมขับเคลื่อนไปสู่นโยบายต่อไป  ดูเพิ่มเติม ›

    2 มี.ค. 2567

  • สช. ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2566 ภายใต้ประเด็นหลัก “ความเป็นธรรมด้านสุขภาพ โอกาสและความหวังอนาคตประเทศไทย"  ดูเพิ่มเติม ›

    21 ธ.ค. 2566

  • นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ประชุมขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ประเด็นสุขภาพจิตและยาเสพติด

    16 ธ.ค. 2566

  • นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสมัชชาสุขภาพจิตนิสิตนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพและเยาวชน ประจำปีการศึกษา 2566 (White coat’s Mental Health Assembly)  ดูเพิ่มเติม ›

    12 พ.ย. 2566

  • นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต มอบนโยบายการพัฒนางานสุขภาพจิต ประจำปี 2567 รวม 8 ประเด็น

    11 ต.ค. 2566

  • นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

    9 ต.ค. 2566

  • นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สธ. เดินหน้าแผน Quick Win 100 วัน ลดปัญหาสุขภาพจิต-ยาเสพติด ชูตั้งศูนย์มินิธัญญารักษ์ดูแลผู้ป่วยจิตเวชครบวงจรทุกจังหวัด

    9 ต.ค. 2566

  • นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สธ. มอบนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าระบบสุขภาพไทยติด 1 ใน 5 ของโลก

    22 ก.ย. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

เพิ่มหอผู้ป่วยจิตเวช (มินิธัญญารักษ์)
มีครบทุกจังหวัด
เพิ่มกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด
มีครบทุกอำเภอ
เพิ่มการบริการ Telemedicine
มีโรงพยาบาลให้บริการครอบคลุมทุกจังหวัด

เชิงกระบวนการ

บุคลากรทางการแพทย์เพิ่มและกระจายตัวทั่วถึง
เวลารอคิวเข้ารับการบำบัดลดลง

เชิงการเมือง

ภาพรวมสุขภาพจิตของคนไทย
ร้อยละผู้ที่มีความเสี่ยงมีแนวโน้มลดลงในทุกช่วงวัย

บทความ

ดูทั้งหมด
พฤติกรรมยุคดิจิทัลทำสุขภาพจิตแย่ แก้ที่เราหรือใคร?

พฤติกรรมยุคดิจิทัลทำสุขภาพจิตแย่ แก้ที่เราหรือใคร?

ลืมมือถือแล้วกระสับกระส่าย เช็กฟีดโซเชียลฯ ตลอดเวลา ไถหน้าจอตอนกินข้าวกับที่บ้าน หรือต้องคอยตอบไลน์งานในวันหยุด พฤติกรรมคุ้นชินที่กลายเป็นโรคแห่งยุคสมัย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตโดยที่หลายคนยังไม่รู้ตัว เป็นปมปัญหาที่ต้องแก้ในระดับสังคม และนโยบาย เพื่อทวงคืนสมาธิที่ถูกขโมยไปก่อนจะทำให้ใจป่วย

เช็กสุขภาวะทางดิจิทัล 2567 แต่ละ Gen เป็นอย่างไร ?

เช็กสุขภาวะทางดิจิทัล 2567 แต่ละ Gen เป็นอย่างไร ?

ผลสำรวจสุขภาวะดิจิทัล เผยคนไทย 76% ไม่เคยหยุดใช้โซเชียลมีเดียแม้แต่วันเดียว ขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และสุขภาวะทางจิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ชี้ Gen Z สุขภาพกาย-จิตแย่สุด ขณะ Gen X เหนื่อย ต้องเชื่อมต่อโลกออนไลน์ตลอดเวล แนะเร่งเพิ่มทักษะดิจิทัลในกลุ่มเด็ก-เยาวชนเร่งด่วน เหตุยังไม่มีภูมิคุ้มกัน

ชำแหละ ร่าง พ.ร.บ. สุขภาพจิต ฉบับใหม่

ชำแหละ ร่าง พ.ร.บ. สุขภาพจิต ฉบับใหม่

ท่ามกลางปัญหาสุขภาพจิตที่ทวีความรุนแรง จนมีผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ต้องมีการปรับปรุง “กฎหมายสุขภาพจิต” ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองประชาชน และคุ้มครองผู้ป่วยจิตเวช รวมถึงกำหนดแนวทางส่งเสริมและป้องกันปัจจัยคุกคามสุขภาพจิตของคนไทย