ลืมมือถือแล้วกระสับกระส่าย เช็กฟีดโซเชียลฯ ตลอดเวลา ไถหน้าจอตอนกินข้าวกับที่บ้าน หรือต้องคอยตอบไลน์งานในวันหยุด พฤติกรรมคุ้นชินที่กลายเป็นโรคแห่งยุคสมัย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตโดยที่หลายคนยังไม่รู้ตัว เป็นปมปัญหาที่ต้องแก้ในระดับสังคม และนโยบาย เพื่อทวงคืนสมาธิที่ถูกขโมยไปก่อนจะทำให้ใจป่วย
ผลสำรวจสุขภาวะดิจิทัล เผยคนไทย 76% ไม่เคยหยุดใช้โซเชียลมีเดียแม้แต่วันเดียว ขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และสุขภาวะทางจิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ชี้ Gen Z สุขภาพกาย-จิตแย่สุด ขณะ Gen X เหนื่อย ต้องเชื่อมต่อโลกออนไลน์ตลอดเวล แนะเร่งเพิ่มทักษะดิจิทัลในกลุ่มเด็ก-เยาวชนเร่งด่วน เหตุยังไม่มีภูมิคุ้มกัน
ท่ามกลางปัญหาสุขภาพจิตที่ทวีความรุนแรง จนมีผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ต้องมีการปรับปรุง “กฎหมายสุขภาพจิต” ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองประชาชน และคุ้มครองผู้ป่วยจิตเวช รวมถึงกำหนดแนวทางส่งเสริมและป้องกันปัจจัยคุกคามสุขภาพจิตของคนไทย
คนไทยมีแนวโน้มป่วยสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรับการรักษา 2 ล้านคน แต่ผู้มีปัญหามากถึง 10 ล้านคน หรือกว่า 10% ของประชากร ทำให้มีผู้ไม่ได้รับการรักษาจำนวนมาก เผยผลสำรวจคนกรุง 7 ใน 10 หมดไฟทำงาน และสายด่วนกรมสุขภาพจิตกว่าครึ่งปรึกษาเรื่องความเครียด
ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในขณะที่จิตแพทย์และบุคลากรที่ทำงานด้านสุขภาพจิตในระบบบริการของรัฐยังมีจำนวนไม่มากนัก นำมาสู่ความพยายามเร่งผลิตจิตแพทย์ในหลายรูปแบบเพื่อรับมือสถานการณ์ผู้ป่วยจิตเวชที่เพิ่มมากขึ้น
คณะทำงานด้านสุขภาพจิตเห็นตรงกันว่า รัฐต้องสนับสนุนการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสุขภาพจิตที่กระจายอย่างทั่วถึง และทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนให้เกิดเป็นรูปธรรมในการจัดการแก้ปัญหาสุขภาพจิต
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 มีมติรับรองกรอบทิศทางนโยบาย (Policy Statement) สังคมไทยไร้ความรุนแรง เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน หลังพบสถานการณ์คนไทยเผชิญปัญหาสุขภาพจิตที่มีความหลากหลายและความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น
สุขภาพจิตคนไทย ยังคงเป้นปัญหาที่ใหญ่และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน Policy Watch นำบทวิเคราะห์ โดย สรัช สินธุประมา หัวหน้าทีมสื่อสารสาธารณะและนักวิจัย 101 PUB ที่สะท้อนถึงสถานการณ์ ปัญหา และความท้ายทายในการแก้ปัญหาสุขภาพจิตคนไทย