ThaiPBS Logo

ยาเสพติด

นโยบายยาเสพติดแนวใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของนโยบายปราบปรามยาเสพติดของไทย เนื่องจากผู้การจำแนก "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย" ทำให้ไม่ต้องรับโทษหนักเป็น "ผู้ค้า" อีกต่อไป และกระทรวงสาธารณสุข มีบทบาทสำคัญของนโยบายยาเสพติดแนวใหม่

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

แก้ไขพระราชบัญญัติติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 กำหนดให้ผู้ป่วยเป็นผู้เสพ

วางแผน

กำหนดปรมาณถือครองยาบ้าที่ถือว่าเป็น ผู้เสพ หรือ ผู้ค้า

ตัดสินใจ

ขั้นตอนดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศไว้

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

ภาพรวม

อ่านเพิ่มเติม

ความเคลื่อนไหวล่าสุด 19 ก.ย. 2567

25 มิ.ย.68 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องสมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ.2568 ใช้ควบคุม “ช่อดอกกัญชา” เน้นทางการแพทย์ ผู้ประกอบการต้องเป็นไปตามเงื่อนไข มีใบอนุญาต และสั่งจ่ายให้เฉพาะผู้มีใบรับรองแพทย์เท่านั้น มีผลบังคับใช้ 26 มิ.ย.เป็นต้นไป

19 ก.ย. 2567  นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบนโยบายในการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ครั้งที่ 2/2567 มีมติใน 3 ประเด็น

  1. เห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ระดับจังหวัดปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดย 25 จังหวัดเร่งด่วน ขยายการปฏิบัติ 76 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร 8 เป้าหมาย ดำเนินการ 5 จุดเน้นการปฏิบัติ 15 แนวทาง 4 ตัวชี้วัด ภาพรวม Re-xray
  2. เห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการดำเนินงานป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นคำสั่งเดิมที่นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการ
  3. เห็นชอบการกำหนดพื้นที่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนพื้นที่เพิ่มเติม โดยขออนุมัติประกาศพื้นที่ปฏิบัติการเพิ่มเติม ในปี 2568 พื้นที่ในจังหวัดตาก 3 อำเภอชายแดน ได้แก่ อ.อุ้มผาง อ.แม่ระมาด และอ.ท่าสองยาง เพิ่มเติมจากพื้นที่เดิม 2 อำเภอ คือ อ.พบพระ และ อ.แม่สอด รวมทั้งจัดตั้ง “หน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคเหนือ (นบ.ยส.35) และชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นบ.ยส.24)

นโยบาย “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” เป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายยาเสพติดครั้งสำคัญของรัฐบาล หลงจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 108/2557 ลงวันที่ 21 ก.ค. 2557 มีเจตนารมณ์ให้โอกาสแก่ผู้ต้องสงสัยว่าใช้ยาเสพติดสามารถเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู โดยไม่ถือว่ามีความผิด

นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดของโลก ค.ศ. 2016 ได้มีมติและนโยบายใหม่ต่อปัญหายาเสพติดว่าแท้ที่จริงแล้วปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องของสุขภาพ ระบบสาธารณสุข อาชญากรรม สิทธิมนุษยชน และความยากจน

ดังนั้น ให้มีการแก้ปัญหายาสพติดโดยมุ่งเน้นด้านสาธารณสุข เน้นการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยแบบบูรณาการ คำนึงถึสิทธิมนุุษยชนอย่างครอบคลุม

นโยบายพรรคเพื่อไทย: “ปราบปรามผู้ผลิตและผู้ขาย” “เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย”

  • ยาเสพติดกับเพื่อไทยอยู่ร่วมกันไม่ได้
  • “ปราบปรามผู้ผลิตและผู้ขาย” อย่างเต็มรูปแบบรวมไปถึงการ “ยึดทรัพย์” ของผู้ผลิตและผู้ขาย
  • เปิดการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดน เพื่อเข้าจัดการทำลายแหล่งผลิตยาเสพติดอย่างถาวร
  • เร่งพัฒนาเศรษฐกิจแนวชายแดน สร้างงาน สร้างเงิน สร้างรายได้ สร้างทางเลือกให้ประชาชน เพื่อดึงคนออกจากวงจรการค้ายาเสพติดอย่างถาวร

“เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย” บำบัดผู้ติดยาเสพติดอย่างทั่วถึง นำการบำบัดทางจิตวิทยาที่ทันสมัยมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการกลับไปใช้ยาเสพติดอีกครั้ง ทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นผู้สร้างโอกาส สร้างรายได้แก่ครอบครัวอย่างมั่นคง คืนชีวิตพี่น้องลูกหลานกลับคืนสู่ครอบครัว

ที่มา:

ทีมาของนโยบายยาเสพติดแนวใหม่

ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

ลำดับเหตุการณ์

  • ราชกิจจาฯ ประกาศกฎกระทรวงควบคุม "ช่อดอกกัญชา" มีผล 26 มิ.ย.68  ดูเพิ่มเติม ›

    26 มิ.ย. 2568

  • สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข เซ็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม(กัญชา) พ.ศ.2568 คุมช่อ-ดอกกัญชาใช้เพื่อการแพทย์ มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. เป็นต้นไป

    24 มิ.ย. 2568

  • สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข ระบุอนาคตกัญชาควรกลับไปเป็นยาเสพติด ปัดเป็นเกมการเมืองหลังภูมิใจไทยถอนตัวรัฐบาล ชี้เป็นปัญหาเรื้อรัง ซึ่งได้รับการร้องเรียนจำนวนมาก

    24 มิ.ย. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุ นโยบายของพรรคเพื่อไทยจะเร่งกำหนดกัญชาให้ใช้เพื่อทางการแพทย์เท่านั้น

    23 มิ.ย. 2568

  • ผลเปิดรับฟังความเห็น (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ..ฉบับใหม่ เห็นด้วย 59% ไม่เห็นด้วย 41%  ดูเพิ่มเติม ›

    15 มิ.ย. 2568

  • ครม.อนุมัติร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตนำเข้า ใบอนุญาตส่งออก การออกใบแทนใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต รวมทั้งลดและยกเว้นค่าธรรมเนียม หลังถอดกระท่อมจากยาเสพติดให้โทษ

    17 ธ.ค. 2567

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ครั้งที่ 2/2567 ประกาศปราบปรามยาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติและเป็น 1 ใน 10 นโยบายเร่งด่วน

    19 ก.ย. 2567

  • พรรคภูมิใจไทยเดินหน้านโยบายออกพระราชบัญญัติงเสริมการวิจัย พัฒนา ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย รวมถึงกัญชาเพื่อการแพทย์และสุขภาพ

    4 ก.ย. 2567

  • ประกาศกฎกระทรวง ครอบครองยาบ้า 1 เม็ด ยาไอซ์ 100 มิลลิกรัม ถือเป็นผู้เสพ (จากเดิม 5 เม็ดและ 500 มิลลิกรัม ตามลำดับ)  ดูเพิ่มเติม ›

    17 มิ.ย. 2567

  • ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ ไม่เกิน มีปริมาณไม่เกิน 1 หน่วยการใช้  ดูเพิ่มเติม ›

    11 มิ.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ประชุมติดตามการแก้ไขปัญหายาเสพติด ย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น ใช้ทุกวิถีทางในการปราบปรามยาเสพติด ให้รายงานความคืบหน้าภายใน 90 วัน  ดูเพิ่มเติม ›

    8 พ.ค. 2567

  • ราชกิจจานุเบกษาประกาศกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติด ยาบ้า 5 เม็ดเป็นผู้เสพ  ดูเพิ่มเติม ›

    10 ก.พ. 2567

  • ประกาศใช้พระราชบัญญัติ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2554 กำหนดให้ผู้เสพคือผู้ป่วย  ดูเพิ่มเติม ›

    27 ก.ย. 2545

  • ประกาศใช้ พระราชบัญญัติ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534

    20 พ.ย. 2534

  • ประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2519 และกำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรียกโดยย่อว่า"สำนักงาน ป.ป.ส."

    16 พ.ย. 2519

  • รัฐบาลประกาศให้ยกเลิกการเสพฝิ่น แต่ปัญหายาเสพติดก็มิได้หมดไป กลับปรากฏว่ามียาเสพติดชนิดใหม่ ที่รุนแรงกว่าฝิ่น คือเฮโรอีน  ดูเพิ่มเติม ›

    1 ธ.ค. 2501

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

สัดส่วนของผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดต่อประชากร
ผูู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่เกิน 8 คน ต่อประชากร 1,000 คน
ร้อยละของคดีอาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดลดลง
คดีอาชญากรรม ที่มีผู้กระทำความผิด เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดลดลงอย่างต่อเนื่อง

เชิงกระบวนการ

ความพึ่งพอใจของประชาชน
ประชาชนมีความพึงพอใจและความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงาน ป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด อย่างน้อยร้อยละ 80

บทความ

ดูทั้งหมด
เปิดกัญชาเสรี เพิ่มผู้ป่วยมากกว่าประโยชน์

เปิดกัญชาเสรี เพิ่มผู้ป่วยมากกว่าประโยชน์

หลังประเทศไทยปลดล็อก “กัญชาเสรี” ทำให้กัญชากลับมาอยู่ในบัญชียาเสพติดอีกครั้ง หลังจากไม่มี พ.ร.บ.ควบคุมชัดเจน ทำให้เกิด “สุญญากาศกฎหมาย” แต่ในช่วง 3 ปี แห่งนโยบายกัญชาเสรี พบว่ามีผู้ป่วยจากพิษกัญชา โรคจิต และการเสพติดเพิ่มขึ้นหลายเท่า ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยนอก-ใน โดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยว

"กัญชาเสรี"สะดุดการเมือง กลับมาเป็น "ยาเสพติด"

"กัญชาเสรี"สะดุดการเมือง กลับมาเป็น "ยาเสพติด"

"กัญชาเสรี" หรือ ปลดกัญชาออกบัญชียาเสพติด ไปไม่ถึงฝั่ง เมื่อ "สมศักดิ์ เทพสุทิน" รมว.สาธารณสุขจากพรรคเพื่อไทย ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ถึงกัญชากลับมาเป็นยาเสพติดอีกครั้ง หลังผ่านไป 3 ปี ตั้งแต่ปลายสมัยรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์

ปฏิรูประบบบำบัดยาเสพติด โอนภารกิจ ‘กรมการแพทย์’ สู่ ‘กรมสุขภาพจิต’

ปฏิรูประบบบำบัดยาเสพติด โอนภารกิจ ‘กรมการแพทย์’ สู่ ‘กรมสุขภาพจิต’

การถ่ายโอนภารกิจด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดจาก “กรมการแพทย์” ไปสู่ “กรมสุขภาพจิต” นับเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญในระบบสาธารณสุขไทย

สธ.คุมสารสกัดกัญชา/กัญชง ต้องขอใบอนุญาต

สธ.คุมสารสกัดกัญชา/กัญชง ต้องขอใบอนุญาต

ครม.ไฟเขียวร่างร่างกฎกระทรวงสาธารณสุข นําเข้า-ส่งออก ขาย ครอบครอง สารสกัดจากกัญชาหรือกัญชง ตามกฎหมายยาเสพติด เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ต้องขออนุญาต โดยใบอนุญาตมีอายุ 3 ปี

อดีต ปัจจุบัน อนาคต นโยบายกัญชา

อดีต ปัจจุบัน อนาคต นโยบายกัญชา

หลังปลดล็อกออกจากบัญชียาเสพติดมาเพียง 2 ปีรัฐบาลเศรษฐา กำลังจะนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดอีกครั้ง แม้ว่าจะมีพรรคภูมิใจไทย ที่เคยผลักดันกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด ในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ร่วมรัฐบาลนี้ด้วยก็ตาม

นับถอยหลังดึงกัญชา กลับเข้าบัญชียาเสพติด

นับถอยหลังดึงกัญชา กลับเข้าบัญชียาเสพติด

กระทรวงสาธารณสุขยุค "สมศักดิ์ เทพสุทิน" มีความมั่นใจการนำ "กัญชา" กลับเข้าสู่บัญชียาเสพติดอีกครั้ง หลังมีการใช้นโยบายกัญชาเสรีกว่าหนึ่งปี เนื่องจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศควบคุมกัญชา มีผู้แสงความเห็นมากเป็นประวัติการกว่าแสนครั้ง เกือบ 80% เห็นด้วยกับการนำกัญหากลับมาบัญชียาเสพติดอีกครั้ง