ซอฟต์พาวเวอร์ ต้องใช้เวลายาวนานหลายสิบปีกว่าจะประสบความสำเร็จ ผ่านนโยบายและยุทธศาสตร์ระยะยาว ไทยควรเรียนรู้แนวคิดและเคล็ดลับจากประเทศต้นแบบอย่าง สหรัฐฯ เกาหลี และญี่ปุ่น เพื่อย่นเวลาสร้างซอฟต์พาวเวอร์ให้สำเร็จเร็วขึ้น
เมื่อต้นทุนทางวัฒนธรรมของคนในชุมชนจาก “ภูเขา” ทอดยาวถึง “ทะเล” ตั้งแต่เหนือจรดใต้ เดินทางเข้าสู่ใจกลางเมือง เพื่อนำเสนอศักยภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนที่หลากหลาย พร้อมเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนและหาทางเชื่อมต่อเข้ากับแนวทางของ 11 อุตสาหกรรม นำมาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ซอฟต์พาวเวอร์
ซอฟต์พาวเวอร์ เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องการผลักดันสินค้า และวัฒนธรรมต่าง ๆ ของไทย ให้เป็นซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไปสู่สายตาชาวโลก ผ่านการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม แต่ชาวบ้านและกลุ่มชนชาติพันธุ์ทั่วทุกมุมของไทย ก็สามารถช่วยสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ได้ ด้วยการพัฒนาสินค้าท้องถิ่น หรือ “รอว์พาวเวอร์”
เปิดเหตุผลที่นโยบายพาวเวอร์แห่งชาติ ใช้อุตสาหกรรมหลัก 11 สาขา เป็นตัวขับเคลื่อนหลักผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ของไทยไปสู่ต่างประเทศ ยกระดับทักษะแรงงาน และพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้หลุดพ้นกำดักรายได้ปานกลาง
1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) หนึ่งในนโยบายขับเคลื่อนซอฟพาวเวอร์แห่งชาติ ผ่านการอบรมหลักสูตร 225 หลักสูตรของ 11 อุตสาหกรรมซอฟพาวเวอร์ รัฐบาลหวังยกระดับแรงงานไทยให้มีทักษะสูง หนุนเศรษฐกิจประเทศเติบโต และพาคนไทยหลุดกับดักรายได้ปานกลาง
รัฐบาลเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเรียนหลักสูตร “1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์” หรือ “OFOS” เพิ่มทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ 11 ด้าน เริ่มสมัคร 28 มิ.ย.นี้ สามารถดู 225 หลักสูตร และวิธีการลงทะเบียนได้ผ่านออนไลน์
ประธานคณะอนุกรรมฯด้านการท่องเที่ยว เผยกลยุทธ์พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไทยให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายฉบับซอฟต์พาวเวอร์ กระจายนักท่องเที่ยวไปแหล่งอื่น ๆ ยกระดับสินค้าท้องถิ่นให้น่าดึงดูด ยอมรับแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้ายทายของไทย แนะรัฐเร่งฟื้นฟูร่วมกับภาคเอกชนไปสู่การพัฒนาท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านหนังสือ กางแผนผลักดันหนังสือไทยให้เป็นซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการแปลหนังสือไทยส่งออกไปต่างประเทศ และตั้งสถาบันหนังสือแห่งชาติ เพื่อจัดการด้านความรู้
เกมไม่ใช่เรื่องของเด็กอีกต่อไป เพราะอุตสาหกรรมนี้สร้างมูลค่าในเศรษฐกิจมากถึง 3.8 หมื่นล้านบาท/ปี แต่รายได้กลับไปไม่ค่อยถึงผู้พัฒนาเกมไทย ถือเป็นโจทย์ใหญ่ในแผนการผลักดันเกมไปสู่ซอฟพาวเวอร์
"ซอฟต์พาวเวอร์" ได้เวลาคิกออฟ หลังเตรียมการมานานกว่า 8 เดือน รัฐบาลจัดงานใหญ่ "THACCA SPLASH" โชว์ศักยภาพเศรษฐกิจสร้างสรรค์เต็มพิกัด พร้อมเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนกว่า 200 หลักสูตร เพื่อพัฒนาคนป้อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หวังผลักดันให้ประเทศพ้นกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง
ในต่างประเทศมีการทำซอฟพาวเวอร์อย่างจริงจังมาตั้งแต่ยุคสงครามโลก และก่อตั้งประเทศ ซึ่งอาจเป็นตัวอย่างให้ไทยในการขับเคลื่อนซอฟพาวเวอร์ที่ถือเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลที่กำลังผลักดันอย่างเต็มที่ แต่อาจผิดทาง และกำลังเสียงบประมาณอย่างสูญเปล่า
การผลักดัน Soft Power ไทยสู่เวทีระดับโลก เป็นอีกนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพื่อไทยที่พยายามปลุกปั้นเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชน แม้จะมีการขับเคลื่อนเริ่มตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแล แต่ก็ยังมีอีกหลายโจทย์ที่ต้องช่วยกันขบคิดเพื่อให้ทุกองคาพยพเดินไปในทิศทางเดียวกัน
Soft Power ถูกนำขึ้นมาพูดถึงในสภาอีกครั้ง ในการอภิปรายร่างงบประมาณปี 2567 โดยอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล สส.ก้าวไกล ชี้ว่าการตั้งงบยังมีความ 'สะเปะสะปะ' พร้อมแนะมาตรการ 5 ข้อที่รัฐบาลควรทำ ด้าน Rocket Media Lab ได้แปลงเอกสารและเปิดเผยงบประมาณของนโยบายดังกล่าว พบงบด้านประชาสัมพันธ์-อีเวนต์มากที่สุด
กระแสเรียกร้องให้คุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์มีเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีร่างกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้จากสภาชนเผ่าพื้นเมือง ภาคการเมือง และภาคประชาชน Policy Watch นำบทวิเคราะห์ โดย อภินันท์ ธรรมเสนา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ที่สะท้อนถึงสถานการณ์ ความท้าทาย และโอกาสของ พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ในปัจจุบัน