ในช่วงกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ “แผนปฎิบัติการร่วมเพื่อสันติสุขแบบองค์รวม” (Joint Comprehensive Plan towards Peace, JCPP) ได้ถูกเปิดเผยในหน้าสื่อ ก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงแนวทางการพูดคุยฯภายใต้กรอบ JCPP
ความพยายามในการคลี่คลายปัญหา “ชายแดนใต้” ถูกเน้นหนักไปที่เรื่อง “ความมั่นคง” จนอาจกำลังจะละเลยเรื่อง “อัตลักษณ์” ของผู้คน ทั้งที่ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ และศาสนา เป็นสิ่งที่สวยงาม และเชื่อว่าอาจเป็นหนึ่งในใบเบิกทางที่จะนำไปสู่สันติภาพให้เกิดขึ้นได้จริง
ผ่านมา 20 ปี กับนายกรัฐมนตรี 8 คน แต่จนถึงวันนี้ ทำไมปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ยังไม่มีทิศทางว่าจะจบ ? และสันติภาพยังคงเป็นเป้าหมายที่เดินไปไม่ถึง ?
JCPP หรือ แผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม ที่คณะพูดคุยสันติสุขฝ่ายไทยและบีอาร์เอ็น เห็นชอบใน 3 หลักการ คือ การลดความรุนแรง การปรึกษาหารือกับประชาชน และการแสวงหาทางออกทางการเมือง นับว่าเป็นความหวังสร้างสันติสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ คาดว่าจะสามารถลงนามข้อตกลง ซึ่งเป็นครั้งแรกในปีนี้