การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดแรกของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เห็นชอบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของปีงบประมาณ เพื่อนำงบประมาณมาใช้แจกเงิน 10,000 บาท ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือ ดิจิทัลวอลเล็ต
ครม.อนุมัติและรับทราบตามข้อเสนอของณะกรรมการนโยบายและกำกับบริหารหนี้สาธารณะ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2567 ดังนี้
อนุมัติการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 3 ได้แก่ แผนการก่อหนี้ใหม่ ปรับเพิ่มสุทธิ 112,000 ล้านบาท จากเดิม 1,030,580.71 ล้านบาท เป็น 1,142,580.71 ล้านบาท
อนุมัติรายการเพิ่มเติมในการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 3 จำนวน 1 รายการ ได้แก่ เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม) และรับทราบการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 3 โดยปรับลด 12,603.87 ล้านบาท จากเดิม 2,042,314,06 ล้านบาท เป็น 2,029,710.19 ล้านบาท
1. คณะกรรมการฯ มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 เห็นชอบการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 3 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1.1
แผนการก่อหนี้ใหม่ ปรับเพิ่ม 112,000 ล้านบาท จากเดิม 1,030,580.71 ล้านบาท เป็น 1,142,580.71 ล้านบาท โดยเป็นแผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล (รัฐบาลกู้มาใช้โดยตรง) ปรับเพิ่ม 112,000 ล้านบาท ดังนี้
แผนการบริหารหนี้เดิม ปรับลด 12,603.87 ล้านบาท จากเดิม 2,042,314.06 ล้านบาท เป็น 2,029,710.19 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ปรับลดแผนการบริหารหนี้จากเดิม 49,054.00 ล้านบาท เป็น 36,450.13 ล้านบาทดังนี้
แผนการชำระหนี้ คงเดิมที่วงเงิน 454,168.87 ล้านบาท โดยระเบียบคณะกรรมการฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะพ.ศ. 2561 ข้อ 15 (3) กำหนดว่า หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแผนฯ ระหว่างปี กรณีโครงการพัฒนาหรือโครงการที่ไม่ได้บรรจุไว้ในแผนฯ ให้เสนอคณะกรรมการฯ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติคณะกรรมการฯ จึงอนุมัติโครงการพัฒนา โครงการ และรายการเพิ่มเติมในการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2567 ครั้งที่ 3 จำนวน1 รายการ ได้แก่ เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม) ดังนี้
ทั้งนี้ แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ฯ ในครั้งนี้อยู่ภายในกรอบกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับ คือ
พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ภายหลังการจัดทำแผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ปรับปรุงครั้งที่ 3 ประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะยังอยู่ภายใต้กรอบที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด ดังนี้
พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ภายใต้กรอบการดำเนินการที่กำหนด ดังนี้