เปิดโครงสร้าง ‘บ้านหลังใหม่’ จัดการอากาศสะอาด
การพิจารณา ร่างกฎหมายอากาศสะอาด กำลังเข้าสู่ช่วงสำคัญในชั้นกรรมาธิการวิสามัญฯ กับการหลอมรวมเนื้อหาจาก 7 ร่าง เพื่อทำให้เนื้อหาที่ออกมาสมบูรณ์ที่สุดและสามารถออกแบบกลไกการทำงานเพื่อติดตามการป้องกันมลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“เงื่อนไข-ความเสี่ยง” ต้องรู้ ก่อนลงทุน Thai ESG
ตลาดทุนไทยอยู่ในภาวะซบเซา หลังนักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นและตราสารหนี้ไทยรวมครึ่งปีแรก 2567 ทะลุ 1.8 แสนล้านบาท ทำให้ล่าสุดรัฐบาลปรับเงื่อนไขใหม่ของกองทุน Thai ESG ลดเวลาถือครองสั้นลง และเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษี เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนนำเงินมาลงทุนในตลาดทุนไทยมากยิ่งขึ้น
ลดภาษีเงินได้ ดึงแรงงานทักษะสูงกลับบ้าน
รัฐบาลเคาะมาตรการเชิญชวนแรงงานไทยทักษะสูงในต่างแดน กลับเข้ามาทำงานในไทยเพื่อช่วยพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ด้วยการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทเอกชน มีผลถึงปี 2572
เอลนีโญฉุดผลผลิตเกษตร สัญญาณเตือนจากโลกร้อน
สัญญาณเตือนกระทบจากเอลนีโญ ผลผลิตภาคเกษตรที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลดลงถ้วนหน้า ทั้งสาขาพืชและประมง ส่งผลให้จีดีพีไตรมาส 2 ปี 2567 ติดลบ แต่คาดว่าครึ่งปีหลังดีขึ้นจากเอลนีโญสิ้นสุดลง
ชำแหละ ร่าง พ.ร.บ. สุขภาพจิต ฉบับใหม่
ท่ามกลางปัญหาสุขภาพจิตที่ทวีความรุนแรง จนมีผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ต้องมีการปรับปรุง “กฎหมายสุขภาพจิต” ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองประชาชน และคุ้มครองผู้ป่วยจิตเวช รวมถึงกำหนดแนวทางส่งเสริมและป้องกันปัจจัยคุกคามสุขภาพจิตของคนไทย
สธ. ออกจากระบบ ก.พ. แก้ปัญหาแพทย์-พยาบาล ขาดแคลน
ปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ขาดแคลน นับเป็นปัญหาสำคัญที่ภาครัฐพยายายามหาทางแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในสาเหตุสำคัญคือกลไกการบรรจุเป็นข้าราชการที่ตำแหน่งมีจำนวนจำกัดและไม่ยืดหยุ่น แนวคิดการปลดล็อกออกจากระบบ ก.พ. จึงเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่สังคมกำลังจับตาว่าสุดท้ายจะแก้ปัญหาที่คาราคาซังมาได้นานได้หรือไม่
ซอฟต์พาวเวอร์ “ต้องใช้เวลา” ส่องต้นแบบจากต่างแดน
ซอฟต์พาวเวอร์ ต้องใช้เวลายาวนานหลายสิบปีกว่าจะประสบความสำเร็จ ผ่านนโยบายและยุทธศาสตร์ระยะยาว ไทยควรเรียนรู้แนวคิดและเคล็ดลับจากประเทศต้นแบบอย่าง สหรัฐฯ เกาหลี และญี่ปุ่น เพื่อย่นเวลาสร้างซอฟต์พาวเวอร์ให้สำเร็จเร็วขึ้น
จริงหรือ? ทส.รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
การรับรู้ของคนทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมเลวร้ายลงทุกปี แต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของไทยในปีที่ผ่านมา กลับระบุว่าดีขึ้นและทรงตัว ไม่มีด้านใดที่เลวร้ายลง
หนี้ครัวเรือน-สังคมสูงวัย ฉุดเศรษฐกิจไทยโตต่ำ
ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยพูดกันมานาน แต่ยังไม่มีรัฐบาลไหนแก้ไขได้ เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว รัฐบาลในแต่ละยุคก็มักจะใช้มาตรการกระตุ้นระยะสั้น แต่จากสถานการณ์หลังโควิด-19 หลายประเทศพื้นตัวเร็ว แต่ไทยยังย่ำแย่ สะท้อนให้เห็นปัญหารุนแรงขึ้นจากปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงและสังคมสูงอายุ ฉุดบริโภคในประเทศ