ThaiPBS Logo

แก้กฎหมายประมง

รัฐบาลประกาศนโยบาย "จะฟื้นชีวิตอุตสาหกรรมประมงให้กลับมาเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประชาชนอีกครั้งด้วยการแก้ไขข้อกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายให้เหมาะสมอันเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลให้อยู่กับประเทศอย่างยั่งยืน" โดยจะแก้กฎหมายที่รัฐบาลก่อนตกลงไว้กับสหภาพยุโรป (EU)

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

รัฐบาลเตรียมแก้กฎหมายและระเบียบการทำประมง

วางแผน

ครม.อนุมัติร่างแก้ไขพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2560 เสนอให้กฤษฎีกาตรวจทาน

ตัดสินใจ

กรรมาธิการอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชกำหนดประมง

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ความคืบหน้า (24 มิ.ย. 2567)

  • 24 มิ.ยัง. 2567 เวลา 22.00 น. (11.00 น. ตามเวลากรุงวอชิงตัน) กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี ค.ศ. 2024 (2024 Trafficking in Persons Report: 2024 TIP Report) ซึ่งเป็นการจัดระดับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำนวน 186 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ โดยในปีนี้ประเทศไทยยังคงได้รับการจัดระดับให้อยู่ในระดับ 2 (Tier 2) เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมาติดต่อกันเป็นปีที่ 3

การฟื้นฟูอุตสาหกรรมประมงของพรรคเพื่อไทย นับว่าเป็นพรรคการเมืองเดียวที่มีนโยบายด้านนี้เด่นชัด โดยประกาศว่า พร้อมทวงคืน “เจ้าสมุทร” ให้ประมงไทยกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ด้วยการแก้กฎหมายในช่วงคสช. ที่ออกกฎหมายตามข้อตกลง IUU

นโยบายประมง ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย

  • พรรคเพื่อไทยยังคงเดินหน้าผลักดันการแก้ไขปัญหาการประมงต่อไป จากความสำเร็จก้าวแรกในการเสนอร่าง พ.ร.บ. หากพรรคเพื่อไทยได้รับความสนับสนุนจากพี่น้องประชาชนให้เป็นรัฐบาล เรามีนโยบายที่พร้อมดำเนินการได้ทันที
  • ยกเลิก พ.ร.ก. ที่เป็นผลพวงรัฐประหารทันที และบังคับใช้ พ.ร.ก. ฉบับใหม่ที่ร่วมเขียนโดยพี่น้องชาวประมงตัวจริง เพราะการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ทำให้พี่น้องประชาชนต้องสูญเสียอาชีพ เสียรายได้ เป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจหลายแสนล้านบาท
  • เร่งเจรจาข้อตกลง IUU (Illegal, Unreported and Unregulated fishing) ใหม่โดยตรงกับสหภาพยุโรป (EU) เพื่อแก้ไขและปรับปรุงข้อตกลง โดยเคารพบทบัญญัติของกฎหมายทะเลและแผนปฏิบัติการขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) อย่างเป็นธรรมและโปร่งใส หากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลจากการสนับสนุนของประชาชน เราจะมีความน่าเชื่อถือในเวทีการเมืองโลก ทำให้การเจรจากับต่างชาติไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
  • ปลดล็อกประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก ไม่ต้องขออนุญาต ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียน ให้พี่น้องได้ทำมาหากินอย่างเท่าเทียม จากปัญหาความไม่เป็นธรรมทางกฎหมายที่ผ่านมาทำให้ประมงพื้นบ้านขนาดเล็กเหลืออยู่เพียง 600,000 ครัวเรือน จาก 22 จังหวัดที่มีประมงหล่อเลี้ยงชีวิต พรรคเพื่อไทยจะลดอุปสรรค ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ประกอบอาชีพอย่างเท่าเทียมอีกครั้ง
  • ฟื้นฟูเศรษฐกิจประมงและทรัพยากรทางทะเล ด้วยการกำหนดทิศทางพัฒนาการประมงอย่างยั่งยืน คืนโอกาสเรือประมงพาณิชย์ไทยที่หายไปกว่า 52 % และฟื้นศักยภาพทางทะเลไทยที่สูญเสียไป เราจะพัฒนาและอนุรักษ์การประมงไทยให้กลับมามั่นคงในระยะยาว

วันที่ 30 พ.ย. 2566 คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าของคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติตามที่คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติเสนอ

หลักการและเป้าหมายการทำงานของคณะกรรมการนโยบายฯ ให้เร่งแก้ปัญหาที่สืบเนื่องจากการทำประมงผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated fishing: IUU)

ขณะนี้สภาผู้แทนราษฎรกำลังอยู่ระหว่างการเสนอขอแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ซึ่งคณะกรรมการทั้ง 2 คณะ มีหน้าที่ในการสนับสนุนและจะต้องไม่ออกกฎระเบียบที่จะขัดกับการแก้ไขดังกล่าว

ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายฯ จำนวน 8 คณะ ดังนี้

  • คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (คำสั่งที่ 12/2564)
  • คณะอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการทำประมง และแรงงานในภาคประมง (คำสั่งที่ 13/2564)
  • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาคประมงและแรงงานในภาคประมง (คำสั่งที่ 4/2564)
  • คณะอนุกรรมการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (คำสั่งที่ 6/2564)
  • คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายในทะเลสาบสงขลา (คำสั่งที่ 7/2564)
  • คณะอนุกรรมการป้องกัน แก้ไขปัญหา และประสานการปฏิบัติกี่ยวกับผลกระทบของการทำประมงต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม (คำสั่งที่ 9/2564)
  • คณะอนุกรรมการวิชาการเพื่อจัดทำข้อมูลสนับสนุนการแก้ไขปัญหาผลกระทบของการทำการประมงต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (คำสั่งที่ 10/2564)
  • คณะกรรมการเฉพาะกิจเจรจาแก้ไขปัญหาผลกระทบของการทำประมงต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม (คำสั่งที่ 11/2564)

แต่งตั้งคณะทำงาน 1 คณะ โดยมีปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นประธาน เพื่อพิจารณาความจำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการใดในการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนและนโยบายระยะยาว

ให้กรมประมงไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2566 รวม 5 ประเด็น ดังนี้

  • ขอให้ยกเลิกการกำหนดให้เรือประมงติดวิทยุมดขาว2 แทนมดดำ ของกรมเจ้าท่า
  • ขอให้ปรับแก้ประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แรงงานต่างด้าวกลุ่มระยะเวลาอยู่อาศัยเกินกำหนดที่ได้รับอนุญาต (over stay) สามารถตรวจอัตลักษณ์และขอหนังสือคนประจำเรือแรงงานต่างด้าว (seabook) ได้
  • เร่งนำเรือออกนอกระบบ จำนวน 1,007 ลำ งบประมาณ 1,806 ล้านบาท (อยู่ในขั้นตอนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา)
  • ส่งเสริมกองเรือประมงนอกน่านน้ำใหม่
  • ลดโทษปรับให้เหมาะสมกับความเสียหายของความผิดรวมทั้งให้มีคณะทำงานศึกษาและดำเนินการในเรื่องการจัดตั้งระบบ One Stop Service เพื่อความรวดเร็วในการอนุญาตทำการประมง โดยมอบหมายให้ปลอดประสพ สุรัสวดี รับผิดชอบและไปดำเนินการต่อไป

ทบทวนบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายฯให้เหมาะสม โดยจะหารือกับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของคณะกรรมการนโยบายฯ

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • สหรัฐอเมริกา เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี ค.ศ. 2024 (2024 Trafficking in Persons Report: 2024 TIP Report) จำนวน 186 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ โดยในปีนี้ไทยยังคงได้รับการจัดระดับให้อยู่ในระดับ 2

    24 มิ.ย. 2567

  • ครม.เห็นชอบแต่งตั้งคณะทำงานฝ่ายไทย ของคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและคณะกรรมาธิการยุโรปในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU)  ดูเพิ่มเติม ›

    8 พ.ค. 2567

  • สำนักข่าวเทเลกราฟ รายงานว่า ไทยอาจถูกคว่ำบาตรจากสหภาพยุโรป (EU) เนื่องจากความกังวลในร่างกฎหมายประมงฉบับใหม่ที่ผ่อนปรนการทำประมง ซึ่งอาจนำไปสู่การค้าแรงงานมนุษย์ที่รุนแรงมากขึ้น  ดูเพิ่มเติม ›

    20 มี.ค. 2567

  • ครม.อนุมัติร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ... โดยยกเลิกฉบับเดิมในปี 2562  ดูเพิ่มเติม ›

    19 มี.ค. 2567

  • ที่ประชุมสภาฯ มีมติเอกฉันท์ 416 เสียง รับหลักการร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การประมง ที่ ครม.เสนอ และมีร่างกฎหมายในทำนองเดียวกันอีก 7 ฉบับที่ สส.เป็นผู้เสนอ รวม 8 ฉบับ  ดูเพิ่มเติม ›

    22 ก.พ. 2567

  • ครม. อนุมัติร่าง พ.ร.บ.แก้ไข พ.ร.ก.ประมง (เพิ่มเติม) 2560 ส่งให้กฤษฎีกาตรวจทาน โดยเห็นว่าไม่ขัดแย้งกับหลักการของการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing)  ดูเพิ่มเติม ›

    30 ม.ค. 2567

  • ครม. มีมติให้เพิ่มวันในการทำการประมงให้กับเรือประมง 1,200 ลำ   ดูเพิ่มเติม ›

    2 ม.ค. 2567

  • ประชุมคกก.แก้ไขปัญหาประมงทะเล ครั้งที่ 2/2566 อนุมัติเพิ่มวันทำประมง ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

    18 ธ.ค. 2566

  • คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเล แถลงเตรียมเสนอร่างกฎหมายให้ครม. พิจารณา

    30 พ.ย. 2566

  • ครม. รับทราบความคืบหน้าแก้ปัญหาของคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ

    28 พ.ย. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเล

    13 ก.ย. 2566

  • แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ระบุจ ะฟื้นชีวิตอุตสาหกรรมประมงให้กลับมาเป็นแหล่งรายได้ ด้วยการแก้ไขและบังคับใช้กฎหมายอย่างเหมาะสม  ดูเพิ่มเติม ›

    11 ก.ย. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ฟื้นฟูอุตสาหกรรมประมง
เพื่อแก้ปัญหาข้อกฎหมายในอุตสาหกรรมการประมง ที่ออกมาควบคุมการทำประมงของไทยจากรัฐบาลก่อน

เชิงกระบวนการ

ออกฎหมายการประมงฉบับใหม่
ร่างกฎหมายและเสนอครม. จากนั้นจะเสนอสภาผู้แทนราษฎร เพื่อผ่านร่างกฎหมาย

เชิงการเมือง

ปัญหาอุตสาหกรรมประมง
ยังมีข้อขัดแย้งต่อการทำประมงไทย ทั้งการใช้แรงงานและการจับปลาผิดกฎหมาย

บทความ

ดูทั้งหมด
อียูจับตาแก้กฎหมายประมงไทย ยันกระทบเจรจา FTA

อียูจับตาแก้กฎหมายประมงไทย ยันกระทบเจรจา FTA

คณะกรรมาธิการยุโรป โต้สภาที่ปรึกษาตลาดแห่งสหภาพยุโรป ยืนยันสหภาพยุโรปไม่ได้นิ่งนอนใจเฝ้าจับตาการแก้ไขกฎหมายการประมงอย่างใกล้ชิด ย้ำหากเป็นไปในทิศทางที่แย่ลงจะส่งผลกระทบ FTA

รัฐบาลผวาใบเหลืองประมง ฟื้นคณะทำงานเจรจาอียู

รัฐบาลผวาใบเหลืองประมง ฟื้นคณะทำงานเจรจาอียู

รัฐบาลตั้งทีมทำงานร่วม ไทย–อียู เจรจาปัญหาประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU หลังยุิติบทบาทไปกว่าปีครึ่ง คาดเร่งเจรจาก่อนประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-อียู หวั่นกระทบเจรจาเอฟทีเอ

ประมงไทยยังเสี่ยงละเมิดสิทธิมนุษยชน

ประมงไทยยังเสี่ยงละเมิดสิทธิมนุษยชน

สหรัฐรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทย ระบุไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ขณะที่สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมประมงยังมีความเสี่ยง จากการละเมิดและบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงอยู่ระหว่างการแก้กฎหมายที่รัฐบาลก่อนหน้านี้ออกมาเพื่อแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย ไร้การควบคุม หรือ IUU