ThaiPBS Logo

การปฏิรูปการศึกษา

นโยบาย ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ซึ่งจะมาแทนที่ฉบับเก่าปี พ.ศ. 2542 มุ่งสร้างระบบการศึกษาที่ครอบคลุมทุกช่วงวัยและหลักสูตรที่เท่าทันโลก รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างองค์กรทางการศึกษาให้สอดรับกับ “การปฏิรูปการศึกษา” ตามคำแถลงนโยบายของรัฐบาลเศรษฐา ล่าสุดยังอยู่ในขั้นตอนการประชาพิจารณ์

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ร่างกฎหมาย การศึกษาแห่งชาติ อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

ขั้นตอนดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศไว้

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ : จากรัฐบาลประยุทธ์ สู่รัฐบาลเศรษฐา

พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติเป็นมรดกตกทอดจากสมัยรัฐบาลประยุทธ์ ซึ่งร่างกฎหมายได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกา และกำลังจะเข้าวาระ 2 และ 3 แต่ประยุทธ์ประกาศยุบสภาก่อน ร่างกฎหมายจึงถูกปัดตกไป

ต่อมารัฐบาลเศรษฐาแถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่าจะดำเนินนโยบายปฏิรูปการศึกษาและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต แม้จะไม่มีการกล่าวถึง “พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ” แต่ทางสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ก็ได้รับลูกนโยบายปฏิรูปการศึกษา และนำร่างเก่าสมัยประยุทธ์มาทำประชาพิจารณ์ใหม่ เพราะหากเริ่มต้นร่างใหม่ จะไม่ทันวาระ 4 ปี ของรัฐบาลชุดนี้

สกศ. คาดว่าจะได้ข้อสรุปผลการประชาพิจารณ์ ภายในเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา ก่อนจะเสนอให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาต่อไป

ทำไมต้องมี พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ

อ้างอิงจางร่างสมัยรัฐบาลประยุทธ์ ได้กำหนดหลักการและเหตุผลไว้อย่างกว้าง ๆ โดยอ้างถึงมาตรา 54 ของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้รัฐมีหน้าที่จัดการศึกษาในทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ตลอดชีวิต ซึ่งต้องมีการจัดทำกฎหมายและแผนการศึกษาแห่งชาติ หรือ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติอย่างที่เห็น ทั้งนี้ ยังไม่มีหลักการและเหตุผลที่แน่ชัด ปรากฎในสมัยรัฐบาลเศรษฐา

หากอ้างอิงตามถ้อยแถลงนโยบายของรัฐบาลเศรษฐา จะพบว่า พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ต้องตอบ 5 เป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่ 

  1. แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอันเป็นต้นตอของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
  2. สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  3. กระจายอำนาจการศึกษาให้ผู้เรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้อย่างทั่วถึง
  4. จัดทำหลักสูตรและให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับความรู้ความสนใจของผู้เรียน
  5. ให้ความสำคัญต่อความมีคุณภาพของครูทั้งประเทศ ตลอดจนพัฒนาครูแนะแนว

พรบ. การศึกษาแห่งชาติจะเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อาทิ  

  • พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
  • พ.ร.บ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
  • พ.ร.บ. การศึกษาภาคบังคับ
  • พ.ร.บ. การอาชีวศึกษา 
  • พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน
  • กฎหมายลูก และกฎกระทรวงอื่น ๆ

หรือนี่จะเป็นหนังสือเล่มเก่าในปกใหม่?

ปัญหาคือ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฉบับสมัยประยุทธ์ถูกวิพากษ์ค่อนข้างมาก โดยมีมาตราที่เป็นประเด็นถกเถียงประมาณ 14 มาตรา จาก 110 มาตรา ทาง สกศ. จึงแยกกฎหมายที่ติดขัดเรื่องสิทธิประโยชน์ของบุคลากรไปอีกฉบับ จึงออกมาเป็น พ.ร.บ. 2 ฉบับ ได้แก่ 

  1. ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ เนื้อหาเน้นว่าทำอย่างไรให้ผู้เรียนมีคุณภาพ สอดคล้องกับบริบทโลก
  2. ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีเนื้อหาเน้นเรื่องโครงสร้างบุคลากรและสิทธิประโยชน์ที่ยังเป็นข้อขัดแย้ง

อย่างไรก็ดี ทางพรรคก้าวไกลตั้งข้อกังวลว่า พ.ร.บ. การศึกษาฉบับประยุทธ์มีการล็อกสเป็คผู้เรียน โดยเฉพาะในมาตรา 8 ที่กำหนดเป้าหมายให้เด็กในแต่ละช่วงวัย ต้องบรรลุคุณสมบัติประการต่าง ๆ รวมกว่า 100 ข้อ ทั้งยังมีการจัดตั้ง “ซูเปอร์บอร์ด” ที่ไม่มีตัวแทนนักเรียน ครู หรือผู้ปกครอง แต่กลับมีอำนาจกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ในร่างกฎหมายซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทุกคนในระบบการศึกษา ซ้ำร้ายกฎหมายยังไม่มีการประกันสิทธิและสวัสดิภาพของนักเรียน

นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยเองก็เคยลงประกาศคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ฉบับประยุทธ์ ไว้ว่า “เนื่องจากเนื้อหาไม่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของโลก อีกทั้งยังมีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดการรวบอำนาจจนเคยชินของพลเอกประยุทธ์”

ทั้งนี้ เนื้อหาภายในร่างทั้งหมดอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ โดย อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ระบุว่า ล่าสุดได้ตั้งคณะกรรมการยกร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยจะนำร่างเก่าในสมัยรัฐบาลที่แล้วนำมาทบทวนและแก้ไขเฉพาะในส่วนที่ขัดแย้ง เนื่องจากหลักการส่วนใหญ่ในร่างเดิม ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว 

เปิดเส้นทาง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ: สว. หมดวาระชะลอร่างกฎหมาย

  1. สกศ. นำพ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติสมัยประยุทธ์ มาทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนอีกครั้ง
  2. สกศ. คาดว่าจะได้ข้อสรุปผลการประชาพิจารณ์ ภายในเดือนพฤศจิกายน ก่อนเสนอที่ประชุม ครม.พิจารณา
  3. สกศ. นำความคิดเห็นประกอบเสนอร่างกฎหมายต่อ ครม. และกระบวนการนิติบัญญัติ
  4. มาตราไหนเป็นที่ถกเถียง สกศ. จะนำตัวอย่างการจัดการศึกษาของประเทศที่พัฒนาแล้ว มาเปรียบเทียบกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาด้วย
  5. เปิดให้ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ร่วมกันวิพากษ์อีกครั้งเพื่อหาข้อสรุป
  6. ปรับแก้รายละเอียดต่าง ๆ เสนอให้รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการพิจารณา
  7. เสนอที่ประชุม ครม. เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
  8. เสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาอีกครั้ง คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน ก่อนจะนำเข้าสู่สภาในการเปิดสมัยประชุมปี 2567
  9. แต่ร่าง พ.ร.บ. อาจถูกชะลอ เพราะการลงความเห็นจำเป็นต้องใช้เสียง สว. ซึ่งจะหมดวาระใน พฤษภาคม 2567 และจะมีการเลือกตั้ง สว. ช่วงปลายปี 2567
  10. เป็นไปได้ว่า ร่าง พ.ร.บ. อาจเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติได้ในปี 2568 และจะได้บังคับใช้เร็วที่สุดภายในปี 2569

 

แหล่งอ้างอิง

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • คณะรัฐมนตรี ( ครม.)มีมติเห็นชอบทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของชาติ ปี 2568 –2570    (ทิศทางการวิจัยทางการศึกษาฯ)ครั้งแรกของประเทศ

    13 พ.ค. 2568

  • พล.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. ลงนามเสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ เข้า ครม.

    31 พ.ค. 2567

  • นำร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ สมัยประยุทธ์ มาทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนอีกครั้ง

    6 พ.ย. 2566

  • พล.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. เป็นประธานการประชุมสภาการศึกษา พิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

    27 ต.ค. 2566

  • สภาการศึกษาตั้งคณะกรรมการยกร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

    8 ต.ค. 2566

ความสำเร็จของนโยบาย

อินโฟกราฟิก

Image 0

บทความ

ดูทั้งหมด
ตีกรอบทิศทางวิจัยการศึกษาแห่งชาติ แก้ปัญหางานวิจัย "ขึ้นหิ้ง"

ตีกรอบทิศทางวิจัยการศึกษาแห่งชาติ แก้ปัญหางานวิจัย "ขึ้นหิ้ง"

รัฐบาลกำหนดทิศทางวิจัยการศึกษาของชาติปี 2568-2570 ครั้งแรก แก้ปัญหางานวิจัยด้านการศึกษาไร้ทิศทาง สะเปะสะปะ ไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคม จนไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคม ตีกรอบ 4 ด้าน จัดระบบโครงสร้างการศึกษา เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาใหม่

พ.ร.บ.การศึกษาฉบับใหม่ รอมานาน 26 ปี..ยังต้องรอต่อไป

พ.ร.บ.การศึกษาฉบับใหม่ รอมานาน 26 ปี..ยังต้องรอต่อไป

ความหวังการปฏิรูปการศึกษาจากการผลักดัน พ.ร.บ.การศึกษาฉบับใหม่ ยังต้องรอต่อไป แม้มีความพยายามแก้ไขพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ที่ใช้มานาน 26 ปี เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาไทยในหลายด้าน แต่ร่างกฎหมายใหม่ยังไปไม่ถึงไหน ยังไม่ผ่านการพิจารณาของครม. และมีแนวโน้มไม่ทันใช้ในรัฐบาลนี้

จำนวนนักเรียนโรงเรียนนานาชาติเพิ่ม สวนทางนักเรียนไทยลด

จำนวนนักเรียนโรงเรียนนานาชาติเพิ่ม สวนทางนักเรียนไทยลด

ในปี 2568 ธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในไทยโต 9.7% ชะลอตัวจากปีก่อนหน้าเล็กน้อยจากจำนวนโรงเรียนนานาชาติที่เปิดใหม่ 8 โรงเรียน น้อยกว่าที่เปิดในปี 2567 อยู่ 5 โรงเรียน แต่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวไปสู่นอกกรุงเทพฯ มากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ที่จำกัดและการแข่งขันที่สูงในเมืองหลวง

ก.พ.ร.กำหนดตัวชี้วัดร่วมปี 68 ยกระดับผลประเมินเทียบ PISA

ก.พ.ร.กำหนดตัวชี้วัดร่วมปี 68 ยกระดับผลประเมินเทียบ PISA

ครม.มีมติเห็นชอบตัวชี้วัด Joint KPIs ใหม่ ของหน่วยงานราชการ ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยเพิ่มยกระดับผลการประเมินนักเรียนให้ได้ตามมาตรฐานของ PISA และมุ่งแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 รวมถึงยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการน้ำเพิ่มขึ้น

นโยบายที่ดี ต้องมีมิติจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์

นโยบายที่ดี ต้องมีมิติจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์

โดยปกติ การออกแบบนโยบายแต่ละที มักถูกคิดคำนึงถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นหลัก หลายนโยบายกลายเป็นแนวคิดที่แข็งกระด้าง เน้นการพัฒนาและตัวเลขเติบโตทางสถิติ แต่กลับมองข้ามความต้องการที่แท้จริงของประชาชนที่มีหัวจิตหัวใจในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง

คนหนีหลักสูตรการศึกษาไทย แห่ส่งลูกเรียนอินเตอร์

คนหนีหลักสูตรการศึกษาไทย แห่ส่งลูกเรียนอินเตอร์

นักเรียนไทยมีแนวโน้มลดลงตามจำนวนเด็กที่เกิดใหม่ลดลง ส่งผลโรงเรียนทยอยปิดตัว แต่ไม่ใช่กับโรงเรียนนานาชาติที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกปี เพราะหลักสูตรการศึกษาต่างประเทศมีความทันสมัย แตกต่างจากหลักสูตรไทย ผู้ปกครองที่มีทุนทรัพย์จึงนิยมส่งลูกไปโรงเรียนนานาชาติกันมากขึ้น