ครอบครัวเกษตรกรไทยที่มีเด็กและเยาวชน มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนมากถึง 19.6% อีกทั้งโรงเรียนพื้นที่ชนบทห่างไกลและเข้าถึงยาก ทำให้เด็กไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร และเลือกศึกษาในระดับไม่สูงมาก
ปัจจุบัน "ครอบครัว" มีความหลากหลาย ในแต่ละแบบจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของลูกแตกต่างกัน ผลการวิจัยเผยในครอบครัวที่มีเมียน้อยจะกระทบต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของเด็ก เช่นเดียวกับครอบครัวที่มีการตีลูก นักเศรฐศาสตร์ประเมินกระทบจีดีพีกว่า 2% คิดเป็นต้นทุนคนละกว่า 7 แสนบาท
นโยบายแจกแท็บเล็ตของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในอดีต ผ่านมา 10 กว่าปี รัฐบาลเพื่อไทยภายในการนำของนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ประกาศเดินหน้านโยบายนี้อีกครั้ง ด้วยเป้าหมาย 'เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา' และ 'ลดความเหลื่อมล้ำ' ทางการศึกษา ท่ามกลางรายละเอียดที่แตกต่างออกไปจากเดิม
นักเรียนอาชีวะเป็นภาพลักษณ์ของความรุนแรงในสังคมไทยมานานหลายปี ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจของเด็กในยุคปัจจุบันที่เลือกไปเรียนสายสามัญแทนสายอาชีวศึกษา ทำให้ไทยขาดแคลนแรงงงานทักษะมีฝีมือในอุตสาหกรรมสำคัญ และในขณะเดียวกันแรงงานดังกล่าวก็เป็นที่ต้องการสูงในต่างประเทศ
หลัง ศธ. แถลงผลประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) 2565 ซึ่งเป็นการวัดผลเกี่ยวกับเรื่องความคิดความอ่าน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทุก ๆ 3 ปี พบว่าอันดับของเด็กไทยต่ำสุดในรอบ 20 ปี Policy Watch รวบรวมความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อหวังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย
นโยบายแก้ปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการ ช่วยเหลือครูและบุคลากรที่ทำงานและเกษียณไปแล้ว พบมีหนี้สินรวมทั้งในและนอกระบบรวมกว่า 1.4 ล้านล้านบาท แม้ว่าจะมีมาตรการออกมา แต่ยังมีข้อท้าทายในการนำไปปฏิบัติ ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ กรรมการและที่ปรึกษา 101 PUB ได้วิเคราะห์ไว้ดังนี้
นโยบายการศึกษาที่แถลงหลัง พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับตำแหน่ง มุ่งเน้นไปที่การลดภาระครู เพื่อคืนครูสู่ห้องเรียน Policy Watch นำบทวิเคราะห์ โดย ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ กรรมการและที่ปรึกษา 101 PUB ที่สะท้อนว่านโยบายลดภาระงานครู (บางส่วน) ไม่พอคืนครูสู่ห้องเรียน
ปัญหาการศึกษาของไทยกำลังเข้าขั้นน่าเป็นห่วง สะท้อนผ่านดัชนีชี้วัดหลายตัว ทั้งจำนวนเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาที่เพิ่มขึ้นเป็นปีละกว่าแสนคน ไปจนถึงคะแนนสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) ที่ค่าเฉลี่ยคะแนนนักเรียนไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ย