ThaiPBS Logo

นโยบายการเงิน (Monetary Policy)

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินนโยบายการเงินผ่าน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยใช้เครื่องมือหลัก คือ ‘อัตราดอกเบี้ยนโยบาย’ เพื่อรักษาระดับราคาสินค้าและบริการ ไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็วเกินไปจนกระทบกับเศรษฐกิจ โดยกนง.มีการตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 ทำให้การกำหนดนโยบายการงินของไทย "ก้าวสู่ยุคใหม่"

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

เป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลางและเป้าหมายสำหรับปี 2567 ไว้ที่ 1-3%

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

  • นโยบายการเงิน คือ เครื่องมือของธนาคารกลางในการกำหนดต้นทุนการกู้ยืมหรือปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ โดยใช้ “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย” เป็นเครื่องมือ
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งรับผิดชอบในการกำหนดทิศทางของนโยบายการเงิน ประกอบด้วยกรรมการ 7 คน จากผู้บริหาร ธปท. 3 คน และจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 4 คน เป็นผู้กำหนดทิศทางนโยบายการเงิน ในแต่ละปี กนง.มีการประชุมหลายครั้งซึ่งถูกกำหนดวันไว้ล่วงหน้า และประชุมแต่ละครั้งใช้เวลา 2 วัน ก่อนประกาศผลประชุมให้สาธารณะทราบ

นโยบายการเงิน คือ เครื่องมือของธนาคารกลางในการกำหนดต้นทุนการกู้ยืมหรือปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งต้นทุนการกู้ยืมหรือปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ จะส่งผลต่อการทำงานของระบบเศรษฐกิจและราคาสินค้าและบริการอีกทอดหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ใช้ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายการเงิน

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นหนึ่งในคณะกรรมการหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งรับผิดชอบด้านการกำหนดทิศทางของนโยบายการเงิน โดยทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ ธปท. อย่างใกล้ชิดในการติดตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ การกำหนดทิศทางนโยบายการเงินของ กนง. จะพิจารณาจากข้อมูลต่าง ๆ ที่ ธปท. นำเสนอให้ทราบ จากนั้นจะนำข้อมูลดังกล่าวไปกลั่นกรองพิจารณาในที่ประชุม เพื่อกำหนดทิศทางของนโยบายการเงิน

นโยบายดอกเบี้ย

กนง.ที่ คณะกรรมการ ธปท. แต่งตั้งขึ้นภายใต้ พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. 3 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก 4 คน

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน

อำนาจหน้าที่ของ กนง. ระบุไว้อย่างชัดเจนในกฎหมาย ดังนี้

  • กำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินของประเทศ โดยคำนึงถึงแนวนโยบายแห่งรัฐ สภาวะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
  • กำหนดนโยบายการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา
  • กำหนดมาตรการที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายตาม (1) และ (2)
  • ติดตามการดำเนินมาตรการของ ธปท. ตาม (3) ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

พ.ร.บ. ธปท. ฉบับใหม่กำหนดให้ กนง. จัดทำเป้าหมายของนโยบายการเงินของปีถัดไปภายในเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อเป็นแนวทางให้แก่รัฐและ ธปท. ในการดำเนินการ เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคา โดยทำความตกลงร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและให้รัฐมนตรีเสนอเป้าหมายของนโยบายการเงินที่ได้ทำความตกลงร่วมนั้นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ และ กนง. มีหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกหกเดือน

ความถี่ในการจัดประชุมกนง.

ประมาณทุก 7-10 สัปดาห์ (ปีละ 6 ครั้ง) กนง. จะประชุมร่วมกันเพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจและการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะมีผลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อพิจารณากำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม ในการประชุม คณะเลขานุการจะรายงานข้อมูลล่าสุดทั้งด้านการเงิน การคลัง การต่างประเทศ และการผลิต ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่จะกระทบราคาสินค้า อาทิ ราคาน้ำมันโลก นโยบายการเงินของประเทศอื่นๆ หรือราคาสินค้าเกษตรโลกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อให้ กนง. หารือถึงความเป็นไปได้ในการประมาณการแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ

เป้าหมายนโยบายการเงิน

ธปท. ดำเนินนโยบายการเงินเพื่อให้บรรลุ 3 เป้าหมาย คือ เสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลาง เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน และเสถียรภาพของระบบการเงิน

ตัวแปรสำคัญในการดำเนินนโยบายการเงินคือ การปรับขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการ หรือ “อัตราเงินเฟ้อโดยอัตราเงินเฟ้อที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไปจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ธปท. จึงดำเนินนโยบายการเงินเพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมกับดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ และระบบการเงินมีเสถียรภาพ หรือที่เรียกว่า การดำเนินนโยบายการเงินโดยใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexible Inflation Targeting)

ภายใต้กรอบดังกล่าว ธปท. จะผสมผสานเครื่องมือเชิงนโยบาย ทั้งเครื่องมือนโยบายการเงิน มาตรการทางการเงิน มาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน มาตรการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน และมาตรการดูแลเงินทุนเคลื่อนย้าย เพื่อให้บรรลุทั้งสามเป้าหมายของนโยบายการเงิน เนื่องจากทุกเครื่องมือมีผลเชื่อมโยงกัน ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ โดยค่าเงินบาทถูกกำหนดโดยกลไกตลาด และ ธปท. จะเข้าดูแลในกรณีที่ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไป

ธปท. มีกระบวนการตั้งเป้าหมายของนโยบายการเงินอย่างไร ?

ธปท. จะจัดทำเป้าหมายของนโยบายการเงินแบบรายปี โดยจะทำนโยบายเงินล่วงหน้าสำหรับปีถัดไปในช่วงปลายปี ในกระบวนการตั้งเป้าหมายนโยบายการเงิน ธปท. จะทำความตกลงร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติภายในเดือนธันวาคมของทุกปี โดยจะกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อสำหรับปีถัดไปและสำหรับระยะปานกลางเอาไว้ หากอัตราเงินเฟ้อออกนอกกรอบเป้าหมาย ผู้ว่าการ ธปท. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่ออธิบายสาเหตุและแนวทางเพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับเข้าสู่เป้าหมาย รวมถึงระยะเวลาที่คาดว่าจะกลับเข้าสู่เป้าหมาย โดยเปิดเผยเนื้อหาในจดหมายให้ประชาชนทราบด้วย

ธปท. ตัดสินนโยบายการเงินอย่างไร ?

คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. เป็นผู้กำหนดนโยบายการเงินโดยใช้วิธีเสียงข้างมาก และเปิดเผยจำนวนคะแนนเสียงพร้อมกับผลการตัดสินนโยบายการเงินต่อสาธารณะ

ธปท. ติดตามและประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจอย่างไร ?

นโยบายการเงินใช้เวลาประมาณ 2 ปีถึงจะมีผลเต็มที่ต่อเศรษฐกิจ ธปท. จึงต้องมีการประเมินภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในอนาคตที่น่าเชื่อถือและครบถ้วนรอบด้าน โดยใช้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ เช่นข้อมูลเศรษฐกิจรายเดือนและเครื่องชี้เร็วด้านเศรษฐกิจ และ ข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการเชิงลึกทั่วประเทศ เพื่อให้การตัดสินนโยบายการเงินสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต

นอกจากภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ธปท. ยังติดตามข้อมูลภาวะการเงิน และข้อมูลเสถียรภาพของระบบการเงินในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ธุรกิจ ครัวเรือน สถาบันการเงิน รวมไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินโลก เพื่อให้ตัดสินนโยบายบนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • พิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) เดินทางมายื่นหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.)คัดค้านตั้ง กิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานบอร์ดธปท.

    18 พ.ย. 2567

  • การสรรหาประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนที่ 5 ได้เสร็จสิ้นแล้ว ประธานกรรมการคัดเลือกฯ จะเสนอชื่อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จากนั้นเสนอ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนทูลเกล้าฯแต่งตั้ง

    11 พ.ย. 2567

  • คณะกรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เลื่อนการประชุมเลือกประธานไปเป็นวันที่ 11 พ.ย.

    4 พ.ย. 2567

  • นักวิชาการและกลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม 227 คน ออกแถลงการณ์ แสดงความห่วงใยต่อการครอบงำธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยฝ่ายการเมืองเพื่อผลประโยชน์ระยะสั้น เพราะกระทบต่อเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือระยะยาว

    30 ต.ค. 2567

  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 ลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 2.25% ครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี   ดูเพิ่มเติม ›

    16 ต.ค. 2567

  • พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง นัดหารือกับเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในเรื่องการดูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่าเร็วและแรงในช่วงหลัง รวมทั้งพิจารณากรอบเงินเฟ้อ  ดูเพิ่มเติม ›

    24 ก.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ระบุ อาจมีการทบทวนเป้าหมายเงินเฟ้อใหม่ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)สามารถลดดอกเบี้ยได้

    13 มิ.ย. 2567

  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 คงดอกเบี้ย 2.50%  ดูเพิ่มเติม ›

    12 มิ.ย. 2567

  • ธปท.เผยแพร่รายงานนโยบายการเงิน ไตรมาส 1 ปี 2567  ดูเพิ่มเติม ›

    24 เม.ย. 2567

  • ผลการประชุมกนง.ครั้งที่ 2/2567 มีมติ5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี โดย 2 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%  ดูเพิ่มเติม ›

    10 เม.ย. 2567

  • ผู้ว่าธปท. ทำจม.เปิดผนึก ชี้แจงเงินเฟ้อต่ำกว่ากรอบล่างตามเป้าหมายนโยบายการเงิน  ดูเพิ่มเติม ›

    9 ก.พ. 2567

  • ผลการประชุมกนง.ครั้งที่ 1/2567 มีมติ5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี โดย 2 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%  ดูเพิ่มเติม ›

    7 ก.พ. 2567

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

เป้าหมายนโยบายการเงิน
รมว.คลัง และ กนง. มีข้อตกลงร่วมกันโดยกำหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 1-3% เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสำหรับระยะปานกลาง และเป็นเป้าหมายสำหรับปี 2567
ดูเพิ่มเติม ›

เชิงกระบวนการ

ข้อตกลงและรายงานผลของนโยบาย
กระทรวงการคลังและธปท.จะหารือร่วมกันเป็นประจำ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย และเพื่อดำเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินเป็นไปในทิศทางที่สอดประสานกัน

เชิงการเมือง

ดูแลเสถียรภาพราคา (เงินเฟ้อ)
กนง. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรมว.คลังทุก 6 เดือน หากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยยังคงอยู่นอกกรอบเป้าหมาย และจะรายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาเป็นระยะ

อินโฟกราฟิก

Image 0

บทความ

ดูทั้งหมด
สินเชื่อธอส.-ออมสิน "ซื้อ-ซ่อมแซม-แต่งบ้าน"

สินเชื่อธอส.-ออมสิน "ซื้อ-ซ่อมแซม-แต่งบ้าน"

รัฐบาลกระตุ้นตลาดอสังหาฯผ่านธนาคารรัฐ "ธอส.-ออมสิน" ทั้งซื้อที่อยู่อาศัย ซ่อมแซมและตกแต่งบ้าน คลังอัดฉีดก่อนสินปี ยื่นกู้ภายในปีนี้ วงเงินรวมเฉียดแสนล้านบาท ซื้อที่อยู่ไม่เกิน 7 ล้าน ซ่อม-แต่งบ้านไม่เกิน 5 ล้าน ดอกเบี้ยคงที่ 3% ยื่นกู้ภายในปี 68

ThaiESG กองทุนลดหย่อนภาษี สูงสุดปีละ 3 แสน

ThaiESG กองทุนลดหย่อนภาษี สูงสุดปีละ 3 แสน

ThaiESG กองทุนลดหย่อนภาษีเพื่อการออม ลดหย่อนสูงสุด 300,000 บาท ไม่รวมกองทุนเพื่อการลงทุนเกษียณเดิม ใช้ได้ใน 3 ปีภาษี 2567-2569 ทำให้หมวดลงทุนลดหย่อนภาษีเพิ่มสูงสุดถึง 500,000 บาท

เช็กรายการลดหย่อนภาษีปี 2567 ออม-ลงทุนได้ถึง 8 แสน

เช็กรายการลดหย่อนภาษีปี 2567 ออม-ลงทุนได้ถึง 8 แสน

ลดหย่อนภาษีปี 2567 มนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเหลือมากได้ลดหย่อนเพิ่มขึ้น จากมาตรการใหม่ 3 รายการ เพิ่มจากปีก่อน โดยเฉพาะกองทุน Thai ESG เพิ่มเป็น 300,000 บาท ที่ไม่รวมกับมาตรการลงทุนเดิม 500,000 บาท พร้อมอีก 2 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ "Easy E-Recipt และเที่ยวเมืองรอง"