ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชน มีจุดประสงค์เพื่อแก้ ม.256 และเพิ่มหมวด 15/1 ทำให้สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตได้ง่ายขึ้น แต่ยังมีรายละเอียดที่แตกต่างกันในหลายประเด็น
กว่า 4 ปี หลังจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงโดยเฉพาะจำนวนครั้งที่ต้องทำประชามติ เมื่อฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรมีประชามติ 2 ครั้งก็เพียงพอแล้ว ขณะที่อีกฝ่ายมองว่าควรทำประชามติ 3 ครั้งเพื่อความปลอดภัย
แม้ว่าการจัดทำ 'รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน' จะเป็นคำสัญญาของหลายพรรคการเมือง รวมไปถึงพรรครัฐบาลอย่างพรรคเพื่อไทย ดังที่ปรากฏในคำแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร แต่ทุกฝ่ายยังจำเป็นต้องจับตามองการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ในการประชุมร่วมของทั้งสองสภาที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้
บทความนี้ชวนผู้อ่านมองอุปสรรคในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ในไทยจากมุมมองที่กว้างขึ้น กล่าวคือ จากมุมการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก ซึ่งเสรีนิยมประชาธิปไตยไม่ได้เป็นบรรทัดฐานทางการเมืองอีกต่อไป ในขณะเดียวกัน ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสิ่งใดจะมาแทนที่
การทำประชามติเป็นเครื่องมือในการการตัดสินใจทางการเมืองที่นับว่าใหม่มากสำหรับประเทศไทย โดยเพิ่งมีการนำมาใช้จริงครั้งแรกในการเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550