ThaiPBS Logo

ตายดี (สถานชีวาภิบาล)

"ตายดี" คือ การจากไปอย่างสงบ สบาย และสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสอดคล้องกับองค์การอนามัยโลกที่ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่ปี 2533 ซึ่งต่อมากระทรวงสาธารณสุขต่อยอดเป็น "นโยบายสถานชีวาภิบาล" เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องการดูแลแบบพึ่งพา ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง โดยครอบคลุมในทุกมิติ

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

สธ.บรรจุสถานชีวาภิบาล ในนโยบายกระทรวงสาธารณสุข 2567

วางแผน

สธ. บรรจุสถานชีวาภิบาลในนโยบาย Quick Win 100 วัน

ตัดสินใจ

อยู่ระหว่างการจัดตั้งศูนย์ชีวาภิบาลในโรงพยาบาลทุกระดับ

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินนโยบาย “ยกระดับ 30 บาทพลัส” ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2567 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกมิติด้านสุขภาพ โดยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวมถึงการดูแลรักษา ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพร่างกาย เพื่อเป้าหมาย “ประชาชนสุขภาพดี ประเทศไทยสุขภาพดี”

ตายดี,สถานชีวาภิบาล

 

“การจัดตั้งสถานชีวาภิบาล เป็นหนึ่งในนโยบายมุ่งเน้น เพื่อการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพา ผู้ป่วยระยะสุดท้าย รวมถึงผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ให้ได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวมครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ กาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ อย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้าน ชุมชน โดยไม่ถูกทอดทิ้งไว้เพียงลำพัง ลูกหลานสามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้ตามปกติ อันเป็นการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยนับจนวาระสุดท้ายของชีวิต” (คู่มือดำเนินการตามนโยบายสถานชีวิภิบาล 2024)

การดูแลแบบพึ่งพิงและครอบครัว เป็นการเชื่อมโยงการดูแลตั้งแต่ในโรงพยาบาล จนถึงชุมชน หรือ บ้าน แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระบบชีวาภิบาลโดยศูนย์ชีวาภิบาลในโรงพยาบาลและสถานชีวาภิบาลในชุมชน

ตามนโยบายชีวาภิบาล เป็นการบูรณาการระบบการดูแลแบบประคับประคอง/ระยะสุดท้าย (Palliative Care) ระบบการดูแลผู้สูงอายุ (Elderly Care) ระบบการดูแลระยะยาว (Long-Term Care) ผ่านทางงานตติยภูมิ ทุติยภูมิ และงานปฐมภูมิ ลงสู่กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงจัดระบบบริการดูแลที่บ้าน (Home Care และ Home Ward) และชุมชน โดยเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายบริการ

ทั้งนี้ คำจำกัดความสถานชีวาภิบาล มี 2 ระดับ ดังนี้

ศูนย์ชีวาภิบาลในโรงพยาบาล หมายถึง ศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างระบบชีวิภิบาลในโรงพยาบาล โดบบูรณาการระบบบริการดูแลผู้สูงอายุ การดูแลระยะยาว การดูแลประคับประคับประคอง/ระยะท้าย และเชื่อมโยงระบบริการปฐมภูมิ ตั้งแต่การดูแลในโรงพยาบาลจนถึงบ้านและชุมชน

สถานชีวาภิบาลในชุมชน หมายถึง สถานที่ให้การดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง และการดูแลประคับประคอง/ระยะท้าย ที่อยู่ในชุมชน มีมาตรฐานด้านสถานที่ ด้านความปลอดภัย และด้านบริการตามมาตรฐานของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ กรมอนามัย หรือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแล

ในปี พ.ศ. 2567 มีการขับเคลื่อนให้ทุกจังหวัดมี “สถานชีวาภิบาล” อย่างน้อย 1 แห่ง รวมถึงมีการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบาย “การสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมสูงวัย” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะท้ายโดยใช้พื้นฐานจากการดูแลประคับประคอง (Palliative Care) ที่จะช่วยลดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แก่ผู้ป่วยระยะท้ายโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

นโยบายการจัดตั้ง “สถานชีวาภิบาล” เป็นการสนับสนุนให้องค์กรภาคประชาชน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในระบบสุขภาพ โดยการร่วมจัดบริการการดูแล แบบประคับประคองและระยะท้าย เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพในระดับสากล โดยมีบุคลากรด้านสุขภาพเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดคุณภาพในการให้บริการอย่างเป็นระบบ มีการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

ที่มา:

สถานชีวาภิบาล

คู่มือดำเนินการตามนโยบายสถานชีวาภิบาล 2024 กระทรวงสาธารณสุข

แนวทางการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยโรคมะเร็ง

พัฒนาการการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของประเทศไทย

Policy Canvas

นโยบาย

ชีวาภิบาล

เจ้าภาพขับเคลื่อน

กระทรวงสาธารณสุข

คน/หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง

• กระทรวงสาธารณสุข
• สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
• กระทรวงมหาดไทย
• สำนักงานประกันสังคม
• กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
• สถานดูแลผู้สูงอายุเอกชน
• วัด

รายละเอียดนโยบาย /กิจกรรม

การบูรณาการงานดูแลผู้สูงอายุ (Elderly Care) การดูแลผู้ป่วยระยะยาว (Long term care) การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ผ่านบริการสุขภาพปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ รวมทั้งการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน และชุมชน โดยเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายบริการในพื้นที่ มีเป้าหมายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาว ผู้ป่วยระยะท้าย และการเข้าถึงการตายดี

เครื่องมือที่ใช้ เช่น กฎหมาย งบฯ ข้อมูล

– คู่มือการดำเนินงานนโยบายสถานชีวาภิบาล จากคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพ สาขาชีวาภิบาล
– พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12
– มาตรฐาน Nursing Home ชีวาภิบาล โดยกรมอนามัย
งบประมาณชุดสิทธิประโยชน์จาก สปสช.
ข้อมูลประเมินผลนโยบายจาก HDC

ประชาชนได้อะไรจากนโยบายนี้

• ผู้ป่วยเข้าถึงการจัดการปวดและอาการรบกวนความสุขสบาย
• ลดการถูกยื้อชีวิตในช่วงสุดท้าย การได้รับการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
• ลดค่าใช้จ่ายจากการยื้อชีวิตช่วงสุดท้ายในโรงพยาบาล
• ผู้ป่วยเสียชีวิตในสถานที่ที่ปรารถนา

ประชาชนเสียอะไรจากนโยบายนี้

• นโยบายการดูแลแบบประคับประคองที่ครอบคลุม ทั่วถึง เข้าถึงง่ายกว่านโยบายฟื้นฟูการรักษา (Intermediate care) เพิ่มความเสี่ยงที่ผู้ป่วยที่ยังสามารถฟื้นฟูสุขภาพและช่วยเหลือตนเองได้ กลายเป็นผู้ป่วยระยะยาวและระยะท้ายเร็วเกินไป
• หากรัฐบาลไม่ร่วมสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลที่บ้าน ผู้ป่วยและครอบครัวจะเป็นผู้ออกค่าใข้จ่ายเอง ส่งผลให้การดูแลที่บ้านมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

ประชาชนมีส่วนร่วมในนโยบายนี้ได้อย่างไร เช่น เวทีนโยบายสาธารณะ สมัชชาสุขภาพ ประชาพิจารณ์

• จัดเวทีสมัชชา เรียนรู้ระบบการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาว ผู้ป่วยระยะท้ายในท้องถิ่น ร่วมกับวันดูแลแบบประคับประคองสากล (World Heatlh Palliative Care Day)
• ร่วมเป็นผู้ให้การดูแล (Caregiver) เติมคนในระบบ Long term care
• ทำแผนดูแลสุขภาพล่วงหน้า (Advance Care Planning) ด้วยตนเอง โดยทำไว้ตั้งแต่ช่วงสุขภาพดีจนถึงป่วยระยะท้าย
• ร่วมจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพ โดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (กปท. หรือกองทุนตำบล) จัดกิจกรรมทำแผนดูแลล่วงหน้าและให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง

กลุ่มเป้าหมายของนโยบาย เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ

• ผู้สูงอายุ
• ผู้ป่วยระยะยาว
• ผู้ป่วยระยะท้าย
• พระสงฆ์อาพาธ ระยะยาว ระยะท้าย
• สมาชิกในครอบครัว

ที่มานโยบาย

• นโยบายหาเสียงเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล พ.ศ. 2566
• การประกาศนโยบายสาธารณสุข ประจำปี 2567

ใช้เงินหรือทรัพยากรจากที่ไหน

• เงินเดือนประจำของบุคลากรสุขภาพ
• กองทุน Long Term Care (สปสช.)
• กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระดับท้องถิ่น (สปสช.)
• งบประมาณจากท้องถิ่น
• กองบุญในชุมชน

ลำดับเหตุการณ์

  • คำแถลงนโยบายรัฐบาลของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ไม่ได้ระบุชัดถึงนโยบายชีวาภิบาล แต่รัฐบาลเดินหน้า "30 บาทรักษาทุกที่"  ดูเพิ่มเติม ›

    7 ต.ค. 2567

  • สถาบันเวชศาสตร์ฯ ผู้สูงอายุ แจ้งความคืบหน้านโยบายชีวาภิบาล ปีกงานผู้สูงอายุ

    8 ส.ค. 2567

  • การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบบสุขภาพ สาขาชีวาภิบาล รองปลัด สธ. ผู้ช่วยเลขา สปสช. กรมอนามัย ประกาศนโยบายสนับสนุนชีวาภิบาล โดยจัดทำคู่มือ มาตรฐานและแนวทางพัฒนาสถานชีวาภิบาลในชุมชนและองค์กรสงฆ์

    27 มิ.ย. 2567

  • รัฐบาลปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยแต่งตั้งนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็น รมต.สธ. แทน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว นโยบายสถานชีวาภิบาลได้ไปต่อ

    27 พ.ค. 2567

  • คำสั่งตั้งคณะอนุกรรมการ Service Plan ด้านการดูแลแบบประคับประคอง ใน คกก. Service Plan สาขาชีวาภิบาล แต่งตั้งโดยปลัด สธ. ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ

    23 พ.ค. 2567

  • ผลการดำเนินงานนโยบายชีวาภิบาล 6 เดือนแรก มีศูนย์ชีวาภิบาลใน รพ.ทุกระดับ ร้อยละ 78.52 จัดตั้งสถานชีวาภิบาลในชุมชนได้ 210 แห่ง ครอบคลุมทุกจังหวัด ให้การดูแลตามแผนการดูแลล่วงหน้าในผู้ป่วยประคับประคอง

    20 พ.ค. 2567

  • กรมการแพทย์สรุปความคืบหน้า นโยบายชีวาภิบาล ในรพ. คลินิผู้สูงอายุ การดูแลแบบประคับประคองและ home ward  ดูเพิ่มเติม ›

    7 พ.ค. 2567

  • พญ.ศรีญาดา พรรคเพื่อไทย ประกาศว่าสถานชีวาภิบาลจะต้องมีครบทุกตำบลในปี 2570 ในงานแถลงนโยบาย 10 เดือนที่ไม่รอ เติมต่อให้เต็ม 10

    3 พ.ค. 2567

  • สสส. สนับสนุนโครงการเมืองกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี ยกระดับชุมชนกรุณาสู่การพัฒนานโยบาย โดยอยู่ใน Flagship Program บูรณาการโครงการข้ามสำนัก

    1 เม.ย. 2567

  • มติ สปสช. ให้หน่วยงานนอก พรบ.สถานพยาบาล สามารถร่วมบริการชีวาภิบาลได้ เช่น วัด ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) เรือนจำ หน่วยงานให้คำปรึกษาภาคเอกชน  ดูเพิ่มเติม ›

    2 มี.ค. 2567

  • กมธ.สาธารณสุข พิจารณากำลังคนและสถานการณ์ชีวาภิบาล

    29 ก.พ. 2567

  • สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขของงบประมาณด้านชีวาภิบาล 393.33 ลบ. สำหรับขับเคลื่อนนโยบาย

    8 ก.พ. 2567

  • คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบแนวทางขับเคลื่อนสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายฯ รองรับสังคมสูงวัยอย่างมีส่วนร่วม หนุนเสริมนโยบาย ‘สถานชีวาภิบาล-กุฏิชีวาภิบาล’ ของรัฐบาล  ดูเพิ่มเติม ›

    16 พ.ย. 2566

  • คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับทิศทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาชีวาภิบาล

    30 ต.ค. 2566

  • ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ทำเนียบรัฐบาล นโยบายสถานชีวาภิบาล ถูกบรรจุเป็นวาระการหารือและประกาศนโยบาย นำเสนอเป้าหมาย  ดูเพิ่มเติม ›

    24 ต.ค. 2566

  • สธ.บรรจุสถานชีวาภิบาลในนโยบาย Quick Win 100 วัน โดยจัดตั้งสถานชีวาภิบาล จังหวัดละ 1 แห่ง,จัดตั้ง Hospital at Home จังหวัดละ 1 แห่งและจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุทุก รพ.  ดูเพิ่มเติม ›

    21 ก.ย. 2566

  • สธ.บรรจุสถานชีวาภิบาล ในนโยบายกระทรวงสาธารณสุข 2567

    9 ก.ย. 2566

  • เปลี่ยนชื่อนโยบายศูนย์ชีวาภิบาล เป็นสถานชีวาภิบาล ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยระยะสุดท้าย ครอบครัวไร้กังวล ลูกหลานวัยทำงานไม่เสียรายได้

    20 เม.ย. 2566

  • พรรคเพื่อไทยบรรจุนโยบายสร้างศูนย์ชีวาภิบาลดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในนโยบายเลือกตั้งหาเสียง 2566

    6 เม.ย. 2566

  • เครือข่ายพุทธิกา ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านการเรียนรู้เรื่องชีวิตและ ความตาย 18 องค์กร ร่วมกันจัดงาน Happy Deathday ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

    10 มิ.ย. 2560

  • ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่า กฎกระทรวงยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 12 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ไม่ขัดต่อกฎหมาย

    18 มิ.ย. 2558

  • ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข ประกาศนโยบายด้านสุขภาพสนับสนุนการจัดตั้งหน่วยงานและจัดสรรบุคลากรดูแลผู้ป่วยระยะท้ายทั่วประเทศ โดยมีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นแกนนำ

    20 ต.ค. 2557

  • สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับองค์กรยุทธศาสตร์ จัด สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะใน ระยะท้ายของชีวิต พ.ศ. 2557-2559

    18 ต.ค. 2556

  • สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย ร่วมกับ เครือข่ายพุทธิกา เริ่มดำเนินแผนงาน ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในช่วงท้ายของชีวิต สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

    21 ต.ค. 2556

  • สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย และ Asia Pacific Hospice Palliative Care Network (APHN) ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมนานาชาติ 10th Asia Pacific Hospice Conference 2013 ที่กทม. เป็นการประชุมวิชาการครั้งแรกใทย

    11 ต.ค. 2556

  • สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับสภาการพยาบาลและสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ จัดทำหลักสูตรและแนวทางการปฏิบัติทางการพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย โดยทั้งหมดแล้วเสร็จในปี 2558

    17 ก.ย. 2556

  • พยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง จัดตั้ง ชมรมพยาบาล แบบประคับประคอง (Thai Palliative Care Nurses Society, PCNS) ขึ้น มี รศ.ประคอง อินทรสมบัติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานชมรมฯคนแรก

    23 ก.ค. 2556

  • จัดตั้งศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมีบทบาทโดดเด่นในการจัดบริการผู้ป่วยแบบประคับประคองอย่างครบวงจร และมีบทบาทอย่างมากในการจัดฝึกอบรมให้แก่บุคลากรทางการแพทย

    10 ก.พ. 2553

  • พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    19 มี.ค. 2550

  • การเสียชีวิตของสุภาพร พงศ์พฤกษ์ เจ้าของ “บ้านถั่วพู” นักฝึกอบรม ครูสอนโยคะ นักแปลและนักเขียน แสดงให้เห็นว่า "การตายดี" เกิดขึ้นได้ที่บ้าน กลายเป็นต้นแบบการดูแลแบบประคับประคองในสังคมไทย

    18 ต.ค. 2546

  • การมรณภาพของพระธรรมโกษาจารย์ พุทธทาสภิกขุ ทำให้เกิดความสนใจความตายในพุทธศาสนา ที่มองว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ และตั้งคำถามกับวงการแพทย์ในการปฏิเสธความจำนงคปฏิเสธการรักษา

    8 ก.ค. 2536

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

สถานชีวาภิบาล
ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยระยะสุดท้าย ครอบครัวไร้กังวล ลูกหลานวัยทำงานไม่เสียรายได้
เป้าหมายตามนโยบาย
จัดตั้งสถานชีวาภิบาลในชุมชน, สร้างระบบชีวาภิบาลในทุกโรงพยาบาล ทั้งบ้านและชุมชน ผ่าน telemedicine, มีสถานชีวาภิบาลในทุกเขตสุขภาพ, สถานชีวาภิบาลในกทม. 7 เขตสุขภาพ และ มี Home ward ทุกจังหวัด

เชิงกระบวนการ

ดำเนินนโยบาย
กระทรวงสาธารณสุขบรรจุสถานชีวาภิบาล ในนโยบายกระทรวงสาธารณสุข 2567
บูรณาการหน่วยงาน
บูรณาการงานชีวาภิบาลระหว่างหน่วยงาน ทั้งสาธารณสุข มหาดไทย พัฒนาสังคม กทม. และสปสช.

เชิงการเมือง

นโยบาย Quik Win 100 วัน
จัดตั้งสถานชีวาภิบาล จังหวัดละ 1 แห่ง,จัดตั้ง Hospital at Home จังหวัดละ 1 แห่ง และจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุทุกโรงพยาบาล

อินโฟกราฟิก

Image 0Image 1Image 2Image 3Image 4Image 5Image 6

บทความ

ดูทั้งหมด
1 ปีนโยบาย “ชีวาภิบาล” หลายปัญหาที่ต้องสะสางสู่สิทธิตายดี

1 ปีนโยบาย “ชีวาภิบาล” หลายปัญหาที่ต้องสะสางสู่สิทธิตายดี

จากจุดเริ่มต้นของแนวคิดให้ทุกคนเข้าถึง “สิทธิการตายดี” สามารถใช้เวลาช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตให้จากไปอย่างไม่ทุกข์ทรมาน ยกระดับมาสู่ “นโยบายสถานชีวาภิบาล” ที่ดำเนินต่อเนื่องมาถึง 2 รัฐบาล แม้จะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น แต่ยังมีหลายปัญหาที่ยังสะดุด ต้องช่วยกันเร่งแก้เพื่อให้นโยบายเดินหน้าต่อได้

6 ข้อเสนอ สู่ 'สิทธิการตายดี'

6 ข้อเสนอ สู่ 'สิทธิการตายดี'

การออกแบบนโยบายที่เน้นเพิ่มปริมาณสถานชีวาภิบาล ทั้งที่ระบบหลักมีอยู่แล้ว สะท้อนถึงปัญหา “การขาดความเชื่อมโยง” นโยบายรัฐบาลกับคนทำงานด้านชีวาภิบาล ทำให้สายพานการทำงานเต็มไปด้วยอุปสรรคและความสับสน เปิด 6 ข้อเสนอ “นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์” ให้คนไทยเข้าถึงสิทธิการตายดีได้อย่างแท้จริง

นโยบายสถานชีวาภิบาล กับความท้าทายสู่ "สิทธิการตาย"

นโยบายสถานชีวาภิบาล กับความท้าทายสู่ "สิทธิการตาย"

ครบ 1 ปีนับตั้งแต่มีการแถลงเดินหน้า "นโยบายสถานชีวาภิบาล" จากรัฐบาล "เศรษฐา" สู่ "แพทองธาร" ล่าสุดมีศูนย์ชีวาภิบาลและคลินิกผู้สูงอายุในระบบโรงพยาบาล-สถานชีวาภิบาลชุมชน-บ้านชีวาภิบาลเพิ่มแล้วทั่วประเทศ Policy Watch ชวนมองโอกาสและทิศทางต่อจากนี้สู่ภาพฝัน "สิทธิการตายดี" อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์