ThaiPBS Logo

ความปลอดภัยทางถนน

“อุบัติเหตุทางถนน” เป็นสาเหตุของความสูญเสียในหลายมิติ ทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ตลอดจนการขาดผลผลิตจากผู้เสียชีวิตหรือผู้พิการจากอุบัติเหตุ รวมมูลค่าความเสียหายมากถึง 5 แสนล้านบาทต่อปี

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

ดำเนินงานตามแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน ฉบับ 5

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

รัฐบาลตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหาที่ จึงประกาศให้ การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ เป็นวาระแห่งชาติ ในปี 2552 และต่อมาอีก 3 ปี ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.)  และจัดทำ แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนเพื่อเป็นกรอบแนวทางให้แต่ละภาคส่วนใช้ดำเนินงาน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 5 ฉบับ

  1. แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2552 – 2555
  2. แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2556 – 2559
  3. แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2560 – 2563
  4. แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2561 – 2564 (ศปถ.มีมติปรับแผนแม่บทฯ พ.ศ.2560 – 2563 เป็นแผนแม่บทฯ พ.ศ.2561 – 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี)
  5. แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565 – 2570 (ล่าสุด)

สำหรับแผนแม่บทฯ ฉบับ 5 จะเน้นแนวทางสากล “Safe System Approach” ในการลดอุบัติเหตุทางถนน เน้นการออกแบบระบบทั้งหมด คนรถถนนโครงสร้างการทำงาน ให้มีความปลอดภัยสูงสุด โดยมี 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ

  • มุ่งเป้าลดการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสของผู้ใช้รถใช้ถนน
  • ยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของยานพาหนะ
  • พัฒนาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและการเดินทางที่ยั่งยืน
  • พัฒนารากฐานโครงสร้างการทำงานด้านความปลอดภัยทางถนน

แผนแม่บทฯ ฉบับ 5 กำหนดเป้าหมายผู้เสียชีวิตจากอุบัตเหตุทางถนน  ไว้ที่ ​12 คนต่อแสนประชากร นับเป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะเป็นการตั้งเป้าหมายที่ลดลงมา กว่าครึ่งจากปีฐานในปี 2563 ที่ 27.2 คนต่อแสนประชากร

การเดินหน้าไปสู่เป้าหมายอยู่ที่การต่อยอดแผนแม่บทไปสู่  “Action Plan” ให้สอดคล้องกับแต่ละบริบทพื้นที่ การลดอุบัติเหตุทางถนนตามแผนแม่บทฯ จึงยากที่จะเห็นผล ซึ่งเป็นโจทย์ที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันผลักดันให้เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ

 

Policy Analysis Canvas

นโยบาย

ความปลอดภัยทางถนน

 

เจ้าภาพขับเคลื่อน

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.)

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย

คน/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

กรมทางหลวง

กรมทางหลวงชนบท

กรมการขนส่งทางบก

กระทรวงสาธารณสุข

หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น

รายละอียดนโยบาย/กิจกรรม

  • จัดการความเสี่ยงหรือภัยคุกคามของประเทศอย่างจริงจัง เร่งด่วน ครอบคลุมประเด็นผู้ใช้รถใช้ถนน โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง
  • จัดการความเสี่ยงอย่างจริงจัง เร่งด่วน ครอบคลุมยานพาหนะทุกประเภท โดยให้ความสำคัญกับยานพาหนะที่มีความเสี่ยงสูง
  • ปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยเอื้อต่อการสัญจรทุกรูปแบบอย่างยั่งยืน
  • สร้างรากฐานการทำงานด้านความปลอดภัยทางถนนของประเทศให้มีประสิทธิภาพ สามารถขับเคลื่อนการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างยั่งยืน

เครื่องมือที่ใช้

  • แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565 – 2570 (ฉบับที่ 5)
  • แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติ ประเด็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล

ประชาชนได้รับอะไรจากนโยบาย

การสัญจรทางถนนที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

ประชาชนเสียอะไรจากนโยบายนี้

อาจต้องปรับเปลี่ยนพฤติการณ์ใช้รถใช้ถนน เช่น การลดความเร็ว

ประชาชนมีส่วนร่วมในนโยบายนี้ได้อย่างไร

มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพชุมชนและท้องถิ่นด้านความปลอดภัยทางถนน

กลุ่มเป้าหมายของนโยบาย

  • ผู้ใช้รถจักรยานยนต์
  • ผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล
  • ผู้ใช้จักรยาน
  • ผู้ประกอบอาชีพขับรถ
  • ผู้โดยสาร
  • เยาวชน
  • คนเดินเท้า
  • ผู้สูงอายุ

ที่มานโยบาย

ประเทศไทยมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก  เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน 5 แสนล้านบาทต่อปี

ใช้เงินหรือทรัพยากรจากที่ไหน

  • งบประมาณของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง, กรมทางหลวงชนบท, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ กระทรวงสาธารณสุข
  • กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
  • งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • ทุนสนับสนุนจากโครงการความคิดริเริ่มเพื่อความปลอดภัยทางถนนทั่วโลก โดยมูลนิธิบลูมเบิร์ก (BIGRS)

ลำดับเหตุการณ์

  • คณะรัฐมนตรีให้กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้เรื่องความปลอดภัยของรถรับส่งนักเรียนเป็นนโยบายระดับชาติ

    7 พ.ย. 2566

  • คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 21 มกราคม ของทุกปี เป็น “วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน”

    17 ม.ค. 2566

  • คณะกรรมการนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน มีมติเห็นชอบแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565 – 2570

    20 ต.ค. 2565

  • คณะกรรมการนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน มีมติเห็นชอบแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2561 – 2564

    12 ก.พ. 2562

  • คณะกรรมการนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน มีมติเห็นชอบแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2556 – 2559

    24 ก.พ. 2558

  • ราชกิจจานุเบกษาประกาศจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ

    14 ม.ค. 2555

  • สำนักนายกรัฐมนตรีออกระเบียบ ว่าด้วยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554

    2554

  • คณะรัฐมนตรีกำหนดให้ระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for Road Safety)

    29 มิ.ย. 2553

  • คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2552 – 2555 โดยกำหนดให้งานความปลอดภัยทางถนนเป็นวาระแห่งชาติ

    29 ก.ย. 2552

  • คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางถนนของประเทศ (Thailand Road Safety Action Plan) พ.ศ. 2547 – 2551

    19 ต.ค. 2547

  • มีมติให้การดำเนินงานตามมาตรการและแผนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ ถือเป็นภารกิจสำคัญและจำเป็นต้องดำเนินการต่อเนื่องทุกปี

    21 มี.ค. 2549

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

แผนปฏิบัติ 5 ปี แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน ฉบับ 5 (พ.ศ. 2565 - 2570) เพื่อจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่มีความซับซ้อนและเชื่อมโยงปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมของผู้ขับขี่ สภาพถนน ยานพาหนะ การบังคับใช้กฎหมาย และการตอบสนองหลังเกิดเหตุ
เป้าหมายตามนโยบาย : 1. ลดอัตราการสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะกลุ่มผู้เดินทางซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง 2. ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของยานพาหนะทุกประเภท 3. พัฒนาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับการสัญจรทางถนน และมีทางเลือกการสัญจรที่ปลอดภัยสำหรับผู้เดินทางทุกรูปแบบ 4.4. วางรากฐานการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางถนนที่มีประสิทธิภาพ โดยมีแผนงานที่ใช้ได้จริง สามารถสนับสนุนให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกับทุกภาคส่วน มีกฎหมายที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยเทียบเท่าสากล มีการจัดสรรงบประมาณด้านความปลอดภัยทางถนนอย่างเพียงพอ และเกิดระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

เชิงกระบวนการ

กำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์
1. ลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในปี 2570 เหลือ 8,474 คน หรือ 12 คนต่อแสนประชากร 2. ลดจำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนนในปี 2570 เหลือ 106,376 คน

เชิงการเมือง

การสัญจรทางถนนที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

บทความ

ถนนลูกคลื่น กับปัญหากระจายอำนาจ

ถนนลูกคลื่น กับปัญหากระจายอำนาจ

ชีวิตประจำวันของคนกรุง เจอปัญหามากมาย แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หากพิจารณาลึกลงไป อาจเป็นปัญหาเดิมที่พูดกันมานาน นั่นคือ การกระจายอำนาจ ซึ่งการรวมศูนย์อำนาจการบริหาร ทำให้ไม่มีการแก้ไขปัญหา และหลายปัญหาเรื้อรัง หน่วยงานรัฐบาลกลางควรแบ่งภาระต่างให้กทม. และท้องถิ่นช่วยดูแล

พัฒนา “รถ-คน-ถนน-โครงสร้าง” ลดความสูญเสียบนถนนเขตเมือง

พัฒนา “รถ-คน-ถนน-โครงสร้าง” ลดความสูญเสียบนถนนเขตเมือง

อุบัติเหตุบนท้องถนน “เขตเมือง” ยังเป็นปัญหารุนแรง โดยเฉพาะ “จักรยานยนต์” ที่เป็นยานพาหนะหลักของความสูญเสีย และ “การจำกัดความเร็ว” ที่ควบคุมไม่ได้อย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนา “รถ-คน-ถนน-โครงสร้าง” ให้รองรับ หนุนเสริมการมีกลไกส่วนร่วม และกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น คือทางออกที่จะยกระดับความปลอดภัยถนนเมือง

ต้องคุมเข้มใบขับขี่จักรยานยนต์ ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน

ต้องคุมเข้มใบขับขี่จักรยานยนต์ ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน

อุบัติเหตุบนท้องถนน ที่ทำให้คนเสียชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุดในประเทศไทย มาจากจักรยานยนต์ชนมากที่สุด โดยมีอัตราเสียชีวิตทุก 37 นาที โดเฉพาะในช่วงเทศกาล สถิติความสูญเสียจะพุ่งสูงขึ้น ขณะที่พบว่าปัญหาการออกใบอนุญาตขับขี่จักรยานยนต์ยังมีปัญหาขาดความเข้มงวดและทักษะจำเป็นในการขับขี่ปลอดภัย