ThaiPBS Logo

การทูตแบบสมดุล

รัฐบาลจะสร้างบทบาทในเวทีโลก ให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ อย่างสมดุล ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่รุนแรงขึ้น

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

รัฐบาลจะรักษาจุดยืนไม่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างประเทศ และเน้นการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

  • 24 ต.ค. 67 การประชุม BRICS หรือ BRICS Plus Summit ครั้งที่ 4  ณ เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย ได้เพิ่มประเทศใหม่ 13 ประเทศเป็นหุ้นส่วนของกลุ่ม หรือเป็นพันธมิตร แต่ยังไม่ใช่สมาชิกอย่างเป็นทางการ ประกอบด้วย ไทย แอลจีเรีย เบลารุส โบลิเวีย คิวบา อินโดนีเซีย คาซัคสถาน มาเลเซีย ไนจีเรีย ตุรกี ยูกันดา อุซเบกิสถาน และเวียดนาม
  • 10 ต.ค. 67 ประเทศไทยได้เลือกให้เป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ วาระปี พ.ศ. 2568-2570 (United Nations Human Rights Council: UNHRC) จากการลงคะแนนเลือกตั้งในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ  โดยจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิก UNHRC ตั้งแต่ 1 ม.ค. 68  โดยจะมีวาระ 3 ปี ร่วมกับประเทศต่าง ๆ รวม 18 ประเทศ คือ ไทย เบนิน โบลิเวีย โคลอมเบีย ไซปรัส เช็ก คองโก เอธิโอเปีย แกมเบีย ไอซ์แลนด์ เคนย่า หมู่เกาะมาร์แชลล์ เม็กซิโก มาเซโดเนียเหนือ กาตาร์ สเปน เกาหลีใต้ และสวิตเซอร์แลนด์

คำแถลงนโยบายของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต่อรัฐสภา เมื่อ 12 ก.ย. 67 ระบุว่า “รัฐบาลของดิฉันจะแปลงความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอำนาจไปสู่ยุทธศาสตร์ที่จะเสริมสร้างโอกาสให้ประเทศไทยและเกื้อกูลผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนมากที่สุด ดังนี้

1. รัฐบาลจะรักษาจุดยืนของการไม่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างประเทศ(Non-Conflict) และจะดำเนินความสัมพันธ์กับนานาประเทศอย่างจริงใจและสร้างสรรค์ในกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศและบรรทัดฐานสากล โดยมีผลประโยชน์ของชาติเป็นแกนกลางสำคัญ และมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับนานาประเทศเพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่งคั่งร่วมกัน (Active Promoter of Peace and Common Prosperity) เพื่อให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่แห่งโอกาสสำหรับคนไทยและชาวต่างชาติ เพื่อดึงดูดแรงงานทักษะสูง ผู้ประกอบการและนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายเข้ามาเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย

2. รัฐบาลจะเดินหน้าสานต่อนโยบายการทูต เศรษฐกิจเชิงรุก และการสร้าง Soft Power เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยเฉพาะตลาดใหม่ ๆ เพื่อเสริมสร้างโอกาสความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ และแก้ไขปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระบบทวิภาคี (Bilateral) และพหุภาคี (Multilateral)และเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศคู่ค้าสำคัญยกระดับมาตรฐานของประเทศ เพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีโลกและเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่รัฐบาลของดิฉันจะสานต่อจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา

ทั้งนี้ รัฐบาลของเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่ารัฐบาลจะสร้างบทบาทในเวทีโลก ให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ อย่างสมดุล ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ กระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และรักษาบทบาทนำของประเทศไทยในภูมิภาคและอนุภูมิภาค รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ องค์กรทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงของประเทศไทย รัฐบาลจะไม่ละเลยเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • BRICS หรือ BRICS Plus Summit ครั้งที่ 4 ณ เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย ได้เพิ่มประเทศใหม่ 13 ประเทศ รวมไทย เป็นหุ้นส่วนของกลุ่ม หรือเป็นพันธมิตร

    24 ต.ค. 2567

  • ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ วาระปี พ.ศ. 2568-2570 (United Nations Human Rights Council: UNHRC)  ดูเพิ่มเติม ›

    10 ต.ค. 2567

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 45 (แบบไม่เป็นทางการ) ที่ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ (National Convention Centre: NCC) เวียงจันทน์ สปป.ลาว

    9 ต.ค. 2567

  • มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ ยำในถ้อยแถลงในการอภิปรายทั่วไปของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 79 (UNGA79) ที่นครนิวยอร์ก บทบาทไทยเป็นมิตรกับทุกประเทศ  ดูเพิ่มเติม ›

    28 ก.ย. 2567

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ย้ำจุดยืนเดิมจากนโยบายรัฐบาลชุดก่อน

    17 ก.ย. 2567

  • ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศแต่งรัฐมนตรี โปรดเกล้าฯ ‘มาริษ เสงี่ยมพงษ์’ เป็นรมว.ต่างประเทศคนใหม่   ดูเพิ่มเติม ›

    1 พ.ค. 2567

  • ปานปรีย์ พหิทธานุกร รมว.การต่างประเทศ ยื่นหนังสือขอลาออก จากตำแหน่ง หลังถูกปรับเหลือออกจากรองนายกฯ

    28 เม.ย. 2567

  • ลอร์ดแคเมอรอน แห่งชิปปิงนอร์ตัน รมว.ต่างประเทศสหราชอาณาจักร และ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ร่วมลงนามทวิภาคีหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ Thailand - UK Strategic Partnership Roadmap   ดูเพิ่มเติม ›

    20 มี.ค. 2567

  • หวัง อี้ สมาชิกกรมการเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกลางด้านกิจการต่างประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรมว.ต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าพบนายกฯ  ดูเพิ่มเติม ›

    29 ม.ค. 2567

  • ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ และ หวัง อี้ สมาชิกกรมการเมือง รมว.ต่างประเทศจีน ลงนามความตกลงยกเว้นวีซ่าผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาและหนังสือเดินทางกึ่งราชการ  ดูเพิ่มเติม ›

    28 ม.ค. 2567

  • เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกาเข้าพบ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล ย้ำถึงความเป็นพันธมิตรระหว่างทั้งสองประเทศ

    26 ม.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 4 ผ่านระบบการประชุมทางไกล

    25 ม.ค. 2567

  • นายกฯร่วมประชุมสุดยอด ASEAN-Japan ระหว่างวันที่ 14-18 ธ.ค. 2566 ณ กรุงโตเกียว

    25 ธ.ค. 2566

  • เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 30 (2023 APEC Economic Leaders’ Meeting) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ณ นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

    12-19 พ.ย. 2566

  • นายกฯ และคณะ หารือทวิภาคีในโอกาสเดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน – คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council: GCC) ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

    20 ต.ค. 2566

  • ร่วมการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง ครั้งที่ 3 (Belt and Road Forum for International Cooperation: BRF) และเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างเป็นทางการ

    16 ต.ค. 2566

  • นายกฯ และคณะเดินทางเยือน สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมุ่งที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้เป็นหุ้นส่วนที่มองไปข้างหน้าและย้ำความมุ่งมั่นในการร่วมมือกับสิงคโปร์ทั้งในระดับทวิภาคีและอาเซียน

    12 ต.ค. 2566

  • นายกฯ และคณะ เดินทางเยือน สหพันธรัฐมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคี และผลักดันความร่วมมือด้านต่าง ๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรม

    11 ต.ค. 2566

  • นายกฯ และคณะ เดินทางเยือน บรูไนดารุสซาลาม อย่างเป็นทางการ ได้มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคี และประเด็นสำคัญระดับภูมิภาคและโลก

    10 ต.ค. 2566

  • นายกฯ และคณะ เดินทางเยือน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างเป็นทางการ

    8 ต.ค. 2566

  • นายกฯ และคณะ เดินทางเยือน ราชอาณาจักรกัมพูชา อย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของสมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา

    28 ก.ย. 2566

  • นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 ใน ช่วงสัปดาห์ผู้นำ (UNGA78 High-level Week) ที่ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

    18 ก.ย. 2566

  • แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา

    11 ก.ย. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

นโยบายไม่เป็นกลาง
รักษาจุดยืนของการไม่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง ไม่ได้เป็นนโยบายที่เป็นศัตรู

เชิงกระบวนการ

ความร่วมมือระหว่างประเทศ
ร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระบบทวิภาคี (Bilateral) และพหุภาคี (Multilateral)

เชิงการเมือง

เป้าหมายนโยบาย
นโยบายการต่างประเทศเพื่อประชาชน และ มีเป้าหมายชัดเจนเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ ใช้มิติการต่างประเทศเข้ามาช่วยส่งเสริมนโยบายภายในประเทศ

บทความ

ดูทั้งหมด
เทียบ"Trump Effect" จาก "อเมริกาเฟิสต์" ถึง "ยุคทองของอเมริกา"

เทียบ"Trump Effect" จาก "อเมริกาเฟิสต์" ถึง "ยุคทองของอเมริกา"

จับตา "Trump Effect" หลังทรัมป์สาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง 20 ม.ค. 68 ทั้งนโยบายการค้าแบบกลับด้าน จากสงครามการค้ารอบใหม่ และนโยบายความมั่นคงท่ามกลางสถานการณ์สงครามและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลก

ระวัง! ควันหลง สงครามการค้าสหรัฐ-จีน

ระวัง! ควันหลง สงครามการค้าสหรัฐ-จีน

สภาพัฒน์ประเมิน 4 แนวทางที่ 'ทรัมป์' ประธานนาธิบดีคนใหม่สหรัฐฯ ใช้เป็นช่องทางขึ้นภาษีสินค้าจีน คาดเริ่มมีผลใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เผยในอดีตสงครามการค้าหนุนสหรัฐฯนำเข้าสินค้าไทยมากขึ้น แต่ไทยก็นำเข้าสินค้าจีนมากขึ้นเช่นกัน

นโยบายทรัมป์เริ่มออกฤทธิ์ปี'68 กระทบหนักปี'69

นโยบายทรัมป์เริ่มออกฤทธิ์ปี'68 กระทบหนักปี'69

ผลกระทบจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ มีการวิเคราะห์ในหลายด้าน แต่ล่าสุด EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ประเมินผลกระทบทั้งเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอย่างรอบด้าน ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวกว่าที่ประเมินไว้ หากสหรัฐฯเปิดสงครามการค้าอย่างดุเดือด ซึ่งคนไทยเคยเจอมาแล้วในสงครามการค้าครั้งก่อน