การทำนโยบายที่เน้นประชานิยมเอาใจประชาชน สะท้อนถึงปัญหา "การมองสั้น" ของรัฐบาล และกำลังสร้างปัญหาให้ไทยในอนาคต โดยเฉพาะรายได้รัฐบาลของที่มีแต่ลดลง แต่กลับยังสร้างภาระหนี้เพิ่มมากขึ้น มีความเสี่ยงหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ครอบครัวเกษตรกรไทยที่มีเด็กและเยาวชน มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนมากถึง 19.6% อีกทั้งโรงเรียนพื้นที่ชนบทห่างไกลและเข้าถึงยาก ทำให้เด็กไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร และเลือกศึกษาในระดับไม่สูงมาก
สัญญาณเตือนวิกฤตทางการคลัง ย้อนดูการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลลดลงต่อเนื่องในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ท่ามกลางรายจ่ายประจำที่เพิ่มมากขึ้นจากสวัสดิการข้าราชการและสังคมสูงอายุ กำลังเสี่ยงกลายเป็นวิกฤตการคลังครั้งใหญ่ของไทยในอนาคตอันใกล้
มาอีกแล้ว ลดหย่อนภาษีกระตุ้นท่องเที่ยวเมืองรอง รัฐบาลออก 2 มาตรการทางภาษีให้กับเอกชน และนักท่องเที่ยวชาวไทย เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงโลว์ซีซัน คาดทำให้รัฐสูญรายได้ราว 1,781 ล้านบาท
ไทยเสี่ยงเจอภัยแล้งสลับกับน้ำท่วมฉับพลันที่รุนแรงมากขึ้นในแต่ละปี เนื่องจากวิกฤตสภาพอากาศสุดขั้ว นักวิจัยวิจัยเศรษฐกิจป๋วยฯ ชี้จะกระทบเศรษฐกิจไทยในทุกภาคส่วนตั้งแต่รากหญ้าไปจนถึงระดับบน เตือนทุกฝ่ายร่วมกันลดปล่อยก๊าศเรือนกระจก และปรับตัวเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
หนี้ครัวเรือนในไตรมาสแรกปีนี้จะปรับลดลงเล็กน้อยจากระดับ 91% เพราะจีดีพีขยายตัว แต่ปัญหายังคงอยู่ เพราะหากระดับที่ทำให้เศรษฐกิจยั่งยืนแล้ว สัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะต้องไม่เกินระดับ 80% ของจีดีพี
ผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีรายได้เลี้ยงชีพในวัยเกษียณ แต่ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” จ่ายสูงสุด 1,000 บาท/เดือน กลับไม่ได้ปรับขึ้นมากว่า 10 ปี ขณะที่ข้าวของแพงขึ้นทุกปี ทำให้ไม่เพียงพอกับ“ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ” และยังต่ำกว่าเส้นความยากจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดมีข้อเสนอจ่ายถ้วนหน้า 3,000 บาท จะเป็นไปได้แค่ไหน?
รัฐบาลเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง 5 ปี (2567-2571) โดยระบุเหตุผลว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เติบโต แต่ตามแผน งบปี 2568-69 ขาดดุลงบประมาณพุ่ง ท่ามกลางกระแสข่าวเพื่อนำมาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ออกมาใช้ให้ทันในปลายปีนี้ ส่งผลหนี้สาธารณะขยับขึ้นแตะ 67% ของจีดีพี
ครม.รับทราบผลมติคณะกรรมการค่าจ้าง และเตรียมประกาศในราชกิจจาฯ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท นำร่องพื้นที่ท่องเที่ยว 10 จังหวัด เริ่ม 13 เม.ย. 2567 เป็นต้นไป ซึ่งนับเป็นก้าวแรกในนโยบายขึ้นค่าแรงทั่วประเทศของรัฐบาล
คณะกรรมการค่าจ้าง เคาะปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ 400 บาท เฉพาะธุรกิจโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป นำร่องในพื้นที่ท่องเที่ยว 10 จังหวัด มีผล 13 เม.ย. 2567 เป็นต้นไป
เกษตรกรไทยกำลังติดหล่มการพัฒนา ทำให้มีรายได้และกำไรไม่เพียงพอเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยภาคเกษตรต่ำกว่านอกภาคการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังมีสิ่งชักจูงให้คนรุ่นใหม่ต่างละทิ้งงานภาคเกษตร ท่ามกลางแรงงานเกษตรในปัจจุบันที่มีอายุเฉลี่ยสูงและใกล้ออกจากตลาดแรงงานมากขึ้น