ไทยเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงในใต้ที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด และมีความเปราะบางมากเป็นอันดับ 8 ของโลก ด้วยพื้นที่ชายฝั่งที่ยาว ระบบนิเวศที่เปราะบาง และความเสี่ยงต่อสภาพสภาพอากาศที่รุนแรง ทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีความเปราะบางมากอย่างยิ่ง
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม ทรัพยากรน้ำ และการท่องเที่ยว ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดพายุฤดูร้อน น้ำท่วม คลื่นความร้อน และภัยแล้งบ่อยครั้ง
เวิลด์แบงก์คาดอากาศร้อนกระทบจีดีพีไทยลด 10-20%
จากรายงานปี 2566 ของธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์เบื้องต้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี (GDP) ของไทย ลดลงมากถึง 10-20% ภายในปี พ.ศ. 2593 โดยครัวเรือนที่ยากจนสุดจะได้รับผลกระทบมากที่สุด หรือคิดเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลงปีละประมาณ 0.6% ระหว่างปี พ.ศ. 2566-2593
เมื่อเวลาผ่านไป อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ผลิตภาพทางการเกษตรและพื้นที่เพาะปลูกลดลง ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำทวีความรุนแรงขึ้น ทำลายความมั่นคงด้านอาหาร บีบให้เกิดการอพยพ และผลิตภาพแรงงานลดลง ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และการเปลี่ยนแปลงแผนสภาพอากาศ จะยิ่งเร่งให้เกิดการกัดเซาะของขายฝั่ง และจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ
แม้ประเทศไทยไม่ได้เป็นต้นเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่คาดว่าจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอีก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็น 0.74% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก และมีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวประชากรที่ 3.69 ตัน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ 4.47 ตันต่อหัวประชากร อย่างไรก็ตาม การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543
ทั้งนี้เป้าหมายในการก้าวไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในระดับโลก กลายเป็นโอกาสใหม่ของภาคการผลิตและส่งออก ในขณะที่การแข่งขัน เพื่อเข้าสู่ยุคคาร์บอนต่ำเริ่มทวีความสำคัญยิ่งขึ้นต่อการรักษาโครงสร้างการผลิตที่มีอยู่
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อเป้าหมายการเติบโตของประเทศไทย ซึ่งไทยมีเป้าหมายที่จะก้าวไปเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี พ.ศ.2580 แม้ยังไม่มีการศึกษาต้นทุนด้านสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันต่อประเทศไทยอย่างครบถ้วน แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ผลิตภาพทางเศรษฐกิจลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดความเสียหายต่อทุนทางกายภาพและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะทำให้การผลิตลดลง ผลิตภาพแรงงานอาจลดลงจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น หรืออุบัติการณ์ของโรคระบาด หรือความเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้น
แนวทางการพัฒนาสู่ยุคคาร์บอนต่ำ เพื่อรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ประเทศไทยเติบโต และพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน พร้อมกับเป็นการประกันว่าทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่จะยังคงอยู่จนถึงคนรุ่นต่อไปได้
การปรับตัวเพื่อรับมือกับความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว และปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ในระยะยาว และการจัดการเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปยุคคาร์บอนต่ำเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะสามารถช่วยประเทศไทยให้ลดต้นทุนที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศลงได้อย่างมาก โดยยังคงรักษาความสามารถในการแข่งขันเอาไว้
แนวทางเร่งด่วนจัดการสภาพอากาศ
ลดการเผชิญหน้า และความเสี่ยงต่อปัญหาร้ายแรงด้านสภาพภูมิอากาศ โดยการจำแนกการลงทุนที่สำคัญ เพื่อเตรียมโครงสร้างพื้นฐานให้เข้มแข็ง การสำรวจทางออกเชิงนโยบายในภาคเศรษฐกิจสำคัญ เช่น ภาคเกษตรกรรม สาธารณสุข การท่องเที่ยว เป็นต้น และการคุ้มครองประชาชนกลุ่มเปราะบางที่สุด
จัดการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคคาร์บอนต่ำ โดยการดำเนินงานตามนโยบาย และมาตรการที่จำแนกไว้ในยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย โดยเน้นการสร้างแรงจูงใจให้ภาพพลังงานและขนส่ง
ใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนผ่านระดับโลกไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยการปรับเปลี่ยนทิศทางเศรษฐกิจทั้งในแง่การค้า การลงทุน และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี
ใช้แนวทางในการวางแผนด้านสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม เพื่อจำแนกโอกาสสำหรับปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ และบทบาทเอกชน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
อากาศร้อนเสี่ยงทำลายประเทศหากไม่รีบรับมือ
หากไม่มีการดำเนินงานใด ๆ ความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศจะเพิ่มขึ้น ต้นทุนจากความเพิกเฉยถือว่าสูงเกินไป โดยสถานการณ์เช่นนี้จะทำให้เกิดความสูญเสียต่อต้นทุนของมนุษย์ ทำลายศักยภาพการเติบโตของประเทศ ในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับอุทกภัยครั้งใหญ่หลายครั้ง แต่ละครั้งส่งผลกระทบมากกว่า 20% ของพื้นที่ประเทศ อุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 ทำให้เกิดน้ำท่วม 8.5% ของพื้นที่ทางการเกษตรของประเทศ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยทำให้จีดีพีลดลง 14% โดยเฉพาะสำหรับภาคชน อีกทั้ง จีดีพียังมีการลดลงอีก 4.4% ในช่วงที่เกิดอุทกภัย และช่วงของการฟื้นฟูหลังจากนั้นด้วย
สำหรับผลกระทบด้านลบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และภาคเกษตรกรรมจะส่งผลกระทบต่อไปสู่ความก้าวหน้าในการดำเนินงานลดความยากจน เนื่องจากครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ มักต้องพึ่งพารายได้จากภาคเศรษฐกิจเหล่านี้ ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ภาคการท่องเที่ยวและการผลิต ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่แล้ว ปริมาณฝนที่ตกน้อยลงยังส่งผลให้มีการใช้น้ำจืดจากแหล่งน้ำใต้ดินจนมาเกินควร ทำให้แผ่นดินทรุดตัวลงอย่างช้า ๆ ในพื้นที่ลุ่มต่ำ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร
ทางเลือกและโอกาสของไทย
ไทยมีทางเลือกที่เป็นไปได้ในการรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ และได้มีการใช้มาตรการหลากหลาย เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในหลายกรณี โดยการแก้ปัญหาต้องอาศัยการขยายผล หรือการดำเนินงานตามาตรการรับมือที่มีอยู่อย่างเต็มที่ แทนที่จะพัฒนามาตรการใหม่ขึ้นมา โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว (BCG) ที่รัฐบาลไทยประกาศ เป็นขั้นตอนหนึ่งในแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดการเติบโตที่สามารถรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ มีความยั่งยืน และมีร่วมร่วมได้ แม้จะมีการประกาศพันธมิตรที่เข้มแข็งจากภาครัฐ แต่ยังจำเป็นต้องมีการปรับแผนและนโยบายให้สอดรับอย่างเป็นระบบกับวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและระเบียบ เพื่อผลักดันการลงทุนของภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้อาจต้องกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ธนาคารโลก คาดการณ์หากมีการเพิ่มการลงทุน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และเพื่อการรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ ด้วยการเพิ่มสัดส่วน 2.5% ของจีดีพี ไม่เพียงจะช่วยลดผลกระทบด้านลบของความเสื่อมโทรมทางสิ่งแล้วล้อมลง หรือช่วยให้ไทยมีความเข้มแข็งในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มการเติบโตรายไปได้เกือบ 0.2% ภายในสิ้นทศวรรษนี้
ประเทศไทยได้ประกาศพันธกิจที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ.2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608 ในที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564 หรือ คอป 26 (COP 26) โดยไทยมีการกำหนดแผนพัฒนาเชื่อเพลิงหมุนเวียนในภาคพลังงาน อย่างไรก็ดี ต้องมีการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2561 เพื่อให้เกิดการเร่งการเปลี่ยนผ่านที่มากขึ้น และต้องใช้กลไกราคาคาร์บอนในการสร้างแรงจูงในให้ภาคเอกชนลงทุนในเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ นอกเหนือจากการระดมความช่วยเหลือด้านการเงินเพิ่มเติม
การเปลี่ยนผ่านที่รวมเร็วระดับโลกไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ยังส่งกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งด้านการค้า การลงทุน และเทคโนโลยีที่มีอยู่ โดยเฉพาะผลกระทบต่อภาคส่งออกและการสร้างงาน อีกทั้งยังเป็นปัจจัยส่งเสริมการเติบอย่างรวดเร็วต่อความต้องการสินค้าและบริการคาร์บอนต่ำ แม้ปัจจุบันไทยจะยังไม่ได้รับผลกระทบมากจากมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) ของสหภาพยุโรป หรือ อียู (EU) แต่สถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในช่วงปลายทศวรรษนี้ เมื่อมีการขยาย CBAM ไปสู่สินค้าที่หลากหลายประเภทมากขึ้นจากเดิม
ปัจจุบันบริษัทของไทยยังล้าหลังบริษัทผู้ผลิตอื่น ๆ ในแง่ของการนำเทคโนโลยีและการปฏิบัติการสีเขียวมาใช้ โดยการลดลงของต้นทุนเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในตลาดที่สำคัญ ยังเป็นโอกาสใหม่ของการปรับปรุงด้านเทคโนโลยี หรือ Leapfrogging
ข้อเสนอ “เวิลด์แบงก์” ถึงรัฐบาลไทย รับมืออากาศเปลี่ยนแปลง
- เปลี่ยนจากแผนสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาที่แยกส่วน เป็นแนวทางการวางแผนอย่างเป็นองค์รวมอยู่ในแผนเดียวกัน การมีกรอบที่บูรณาการสอดคล้องและเป็นองค์รวม โดยมีความเป็นเจ้าของในการดำเนินงานของแต่ละกระทรวงจะช่วยสนับสนุนการติดตามความก้าวหน้า การตรวจสอบ และการวางแผนร่วมกันในการบริหารจัดการคุณภาพอากาศจะทำให้เกิดประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น
- เปลี่ยนจากระบบรวมศูนย์เป็นกระจายอำนาจ สำหรับงบประมาณเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการติดตามค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศในระบบงบประมาณ เพื่อกำหนดให้มีการใช้จ่ายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในงบประมาณของแต่ละกระทรวง
- จัดทำแผนฉบับสมบูรณ์และดำเนินงานตามแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (NAP) ของไทย เพื่อรับมือกับความท้าทายจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยแผน NAP มีการจำแนกประเด็นหลัก ประกอบด้วย ทรัพยากรน้ำ การเกษตร/อาหาร ภาคการท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติ และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ในแต่ละประเด็นเหล่านี้ แผน NAP จะใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญระดับชาติ ท้องถิ่น และภาคส่วน เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ในการจัดการกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
- ส่งเสริมภาคเกษตรที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และกลไกการเงินและผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ดี เกษตรกรไทยควรได้เข้าถึงพันธุ์พืชที่ให้ผลิตภาพสูง ให้ดอกผลเร็ว ทนภัยแล้ง และทนต่อศัตรูพืช นอกจากนี้การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่งในด้านการลงทุน มาตรการแทรกแซงเชิงนโยยายอาจสนับสนุนการลงทุนผ่านหลักประกันสินเชื่อที่เกี่ยวกับที่ดิน หรือผ่านนวัตกรรมทางการเงินอื่น ๆ
- นำกลไกราคาคาร์บอนมาใช้ผ่านระบบซื้อขายสินธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ETS) เพื่อช่วยกระตุ้นการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานคาร์บอนต่ำ โดยเฉพาะในภาคการผลิตไฟฟ้า โดยการแบกรับต้นทุนคาร์บอนอาจจะเป็นแรงจูงใจให้มีการเปลี่ยนผ่านจากการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
- ยกระดับเป้าหมายด้านพลังงานหมุนเวียน และกำหนดแรงจูงใจเชิงนโยบาย เพื่อการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน พลังงานทางเลือก และการจัดเก็บพลังงาน
อ้างอิง: World Bank Group แนวทางการพัฒนา: นโยบายเชิงลึกเพื่ออนาคตของประเทศไทย 2566