ThaiPBS Logo

แก้หนี้

แก้หนี้โดยการ "ปรับโครงสร้างหนี้" เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมุ่งแก้ปัญหาสินเชื่อบ้านและรถยนต์ ซึ่งเป็นนโยบายต่อเนื่องจากรัฐบาลก่อนที่เน้นไปที่หนี้นอกระบบและหนี้เกษตรกร

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งในระบบและนอกระบบ โดยเฉพาะสินเชื่อบ้านและรถยนต์

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

ขั้นตอนดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศไว้

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ความคืบหน้าล่าสุด 5 ต.ค. 67

  • 5 ต.ค. 67 สมาคมธนาคารไทยร่วมกับภาครัฐ เตรียมออกมาตรการปรับโครงสร้างหนี้รายย่อย ที่วงเงินไม่สูง ในสินเชื่อบ้าน รถยนต์และเอสเอมอีขนาดเล็ก โดยจะได้รับการยกเว้นดอกเบี้ยหากดำเนินการตามเงื่อนไข
  • หนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล คือ “จะผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อบ้านและรถ ช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ภายใต้ปรัชญาที่จะไม่ขัดต่อวินัยทางการเงินและไม่ทำให้เกิดภาวะภัยทางจริยธรรม (Moral Hazard) ของผู้มีภาระหนี้สิน ควบคู่กับการเพิ่มความรู้ทางการเงินและส่งเสริมการออมในรูปแบบใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย โดยจะดำเนินนโยบายผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐธนาคารพาณิชย์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์”

จากปัญหาหนี้สินของครัวเรือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ดังจะเห็นได้จากหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ในสัดส่วนค่อนข้างสูงกว่า 90% ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากขาดกำลังซื้อ และ กระทบต่อคุณภาพชีวิตของครัวเรือนที่ติดหนี้สินจำนวนมาก

รัฐบาลที่ผ่านมา มีการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหานี้เป็น “รายกลุ่ม” และในบางกรณีในช่วงวิกฤติของประเทศ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมักจะออกมาตรการแก้หนี้ “ทั้งระบบ” อาทิ ในช่วงวิกฤติการเงินโลก และ เศรษฐกิจชะลอในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

แต่มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ประหนึ่งดาบสองคม เพราะอาจเกิดผลกระทบต่อสถาบันการเงินของประเทศ และอาจเกิดภาวะภัยทางจริยธรรม (Moral Hazard) ซึ่งในที่สุดก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม มาตรการสำคัญของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มุ่งเน้นไปที่การปรับโครงสร้างหนี้ โดยเฉพาะหนี้จากสินเชื่อบ้านและรถยนต์ ซึ่งพบว่าในช่วงที่ผ่านมา ลูกหนี้มีปัญหาผ่อนชำระอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าสถานการณ์หนี้เสียของสถาบันการเงินปรับเพิ่มสูงขึ้น

หนี้เสีย

การแก้ปัญหาหนี้ มีหลายวิธี แต่ที่เห็นว่าเป็นวิธีการที่สามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาว คือ การปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งทั้งฝ่ายลูกหนี้จะสามารถผ่อนชำระได้ ในขณะะที่เจ้าหนี้จะไม่ได้รับผลกระทบ เมื่อเทียบกับการเบี้ยวหนี้

ทั้งนี้ โครงการปรับโครงสร้างหนี้ ธปท.ร่วมกับสถาบันการเงิน เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2560 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

การปรับโครงสร้างหนี้คืออะไร?

จากความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจที่คนเราต้องเผชิญในเศรษฐกิจยุคใหม่ ทำให้ลูกหนี้มีความเสี่ยงจากรายรับไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่งที่ผ่านมา คนไทยมักจะกังวลเมื่อต้องไปเผชิญหน้ากับสถาบันการเงิน

แต่ทางแก้ไขต้องรีบดำเนินการ ไม่ควรปล่อยเวลาให้ผ่านไป โดยสิ่งแรกที่ลูกหนี้ต้องรีบดำเนินการคือ ติดต่อกับสถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้ที่มีอยู่

ธปท.ระบุว่า การปรับโครงสร้างหนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญากู้เงินที่เคยทำไว้กับเจ้าหนี้ได้อีกต่อไปได้ ด้วยการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ให้เหมาะสมกับรายรับที่ลดลงหรือความสามารถในการชำระหนี้ที่เปลี่ยนไป โดยที่ไม่ต้องรอให้เป็นหนี้เสีย (Non-Performing Loan : NPL) เพราะหากปล่อยปัญหาหนี้ไว้นานเกินไปอาจส่งผลเลวร้ายกว่าที่คิด เช่น ถูกฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ และหาทางออกได้ยากยิ่งขึ้น

ทางเลือกในการปรับโครงสร้างหนี้

สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ศึกษารูปแบบการปรับโครงสร้างหนี้ว่าแบบไหนเอื้อให้สามาระผ่อนชำระต่อไปได้ โดยมีหลายวิธี

1. ขอขยายเวลาชำระหนี้ หรือการยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไป ซึ่งจะทำให้ค่างวดลดลง เช่น สัญญาฉบับเดิมมีระยะเวลาการกู้อยู่ที่ 10 ปี ค่างวดอยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน ผ่อนชำระมาแล้ว 7 ปี เหลือระยะเวลาผ่อนอยู่ 3 ปี แต่เมื่อเริ่มผ่อนไม่ไหว จึงขอเจรจาขยายเวลาชำระหนี้กับเจ้าหนี้ออกไปจาก 3 ปีเป็น 5 ปี เพื่อให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนลดลงต่ำกว่า 10,000 บาท เพื่อลดภาระในการจ่ายค่างวดแต่ละเดือนให้แก่ลูกหนี้ได้

2. รีไฟแนนซ์ (refinance) คือ “การเปลี่ยนเจ้าหนี้”หรือการ “ปิดหนี้” จากเจ้าหนี้รายเดิมมาเป็นเจ้าหนี้รายใหม่หรือทำสัญญาใหม่กับเจ้าหนี้เดิมที่เงื่อนไขดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยถูกลง แล้วนำเงินที่ได้มาปิดหนี้ก้อนเดิมที่มีอยู่ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์ ควรคำนึงถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ค่าจดจำนอง ค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ ค่าประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเจ้าหนี้ การทำสัญญาใหม่ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้กับเจ้าหนี้

3. ขอลดอัตราดอกเบี้ย จะทำให้ค่างวดที่เราจ่ายในแต่ละเดือนสามารถนำไปตัดเงินต้นได้มากขึ้น หมดหนี้เร็วขึ้น ทั้งนี้ เจ้าหนี้อาจมีเงื่อนไขการพิจารณาอนุมัติปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่แตกต่างกัน เช่น พิจารณาจากอายุของลูกหนี้ ประวัติการผ่อนชำระ และความสามารถในการชำระหนี้หลังปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ดังนั้น ลูกหนี้ต้องเริ่มจากติดต่อสถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นเจ้าหนี้ก่อน เพื่อสอบถามแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ร่วมกัน จากนั้นลองศึกษาวิธีการหรือเงื่อนไขในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รูปแบบต่าง ๆ

ทั้งนี้ ควรประเมินความสามารถในการผ่อนชำระ และต้องไม่รับเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ทำไม่ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการผ่อนชำระหนี้ไม่ไหวตามมา

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • ทักษิณ ชินวัตร ระบุว่านางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแจ้งว่าในเดือนธ.ค.67 รัฐบาลจะออกมาตรการแก้ปัญหาหนี้

    14 พ.ย. 2567

  • สมาคมธนาคารไทย เตรียมออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย สำหรับลูกหนี้บ้าน รถยนต์และเอสเอ็มอีขนาดเล็ก

    5 พ.ย. 2567

  • เอกสารแถลงนโยบายรัฐบาล ระบุว่าจะมีการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์และที่อยู่อาศัย

    6 ก.ย. 2567

  • โครงการคลินิกแก้หนี้เดินหน้าเข้าสู่ “ระยะที่ 3” โดยได้ขยายขอบเขตให้สามารถแก้ไขหนี้บัตรที่มีเจ้าหนี้รายเดียว และหนี้บัตรที่อยู่ในกระบวนการของศาลและมีคำพิพากษาแล้ว

    1 ก.พ. 2563

  • โครงการคลินิกแก้หนี้ ระยะที่ 2 ขยายขอบเขตให้รวมลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ non-bank 19 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ

    15 พ.ค. 2562

  • สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) โดยการสนับสนุนของ ธปท. ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2560  ดูเพิ่มเติม ›

    1 มิ.ย. 2560

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ
เน้นสินเชื่อรถยนต์และบ้าน

เชิงกระบวนการ

สำรวจลูกหนี้
ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ธนาคารพาณิชย์และบริษัทบริหารสินทรัพย์

เชิงการเมือง

แก้ปัญหาลูกหนี้ได้
ให้ความรู้และการออมใหม่ ๆ เช่น หวยเกษียณ

บทความ

ดูทั้งหมด
มาตรการอุ้มลูกหนี้รายย่อย สร้างภาระมากกว่าตัวเงิน

มาตรการอุ้มลูกหนี้รายย่อย สร้างภาระมากกว่าตัวเงิน

มาตรการ "ลดภาระหนี้ของลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก" หรือ มาตรการกึ่งพักหนี้ สำหรับสินเชื่อบ้าน-รถยนต์-เอสเอ็มอี กำลังเพิ่มความเสี่ยงให้กับประเทศ ไม่ใช่ความเสี่ยงเรื่องเม็ดเงินที่ต้องเข้าไปใช้ในมาตรการ แต่เป็นความเสี่ยงจากการสร้างวัฒนธรรมเบี้ยวหนี้ หรือ Moral Hazard ที่จะส่งผลกระทบระยะยาว

พักดอกเบี้ยรายย่อย ช่วยลูกหนี้ "บ้าน-รถ-เอสเอ็มอี"

พักดอกเบี้ยรายย่อย ช่วยลูกหนี้ "บ้าน-รถ-เอสเอ็มอี"

ลูกหนี้รายย่อยเฮ! สมาคมธนาคารจับมือภาครัฐ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ สำหรับลูกหนี้รายย่อย สินเชื่อบ้าน รถยนต์ และเอสเอ็มอีขนาดเล็ก ที่มีปัญหาชำระหนี้ หากร่วมมาตรการตามเงื่อนไขจะยกเว้นดอกเบี้ย

เช็กกองทุนลดหย่อนภาษีปี 67 รายได้ปีละล้านไม่เสียภาษี

เช็กกองทุนลดหย่อนภาษีปี 67 รายได้ปีละล้านไม่เสียภาษี

กองทุนลดหย่อนภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือนในปี 2567 จะได้ลดหย่อนสูงสุดเท่าที่เคยมีมา เนื่องจากรัฐบาลปรับเกณฑ์กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (ESG) ใหม่ ลงทุนได้ถึง 300,000 บาทเมื่อรวมกับเพดานกองทุนลดหย่อนภาษีเดิมไม่เกิน 500,000 บาท ทำให้ลดหย่อนได้สูงสุด 800,000 บาท คนรายได้ปีละล้านแทบไม่เสียภาษี