บทความ

ถอดรหัส แก้หนี้ครัวเรือนให้ยั่งยืนจากโครงการ “คุณสู้ เราช่วย”
โครงการ "คุณสู้ เราช่วย" เป็นอีกมาตรการเยียวยาความเดือดร้อนชาวบ้านในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ท่ามกลางเสียงสะท้อนปนความสงสัยว่า แก้ปัญหาได้อย่างถูกจุด มีประสิทธิภาพและยั่งยืนแค่ไหน

คนไทย 24 ล้านคนเสี่ยงจน?: โจทย์ใหญ่รัฐบาลลดความยากจนหลายมิติ
จากรายงานภาวะสังคมไตรมาสที่ 4/2567 ของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ไทยสามารถลดสัดส่วนคนจนหลายมิติ จากร้อยละ 20.08 ในปี พ.ศ. 2558 เหลือร้อยละ 8.76 ในปี พ.ศ. 2566 แต่ความท้าทายสำคัญคือมีจำนวนคนไทยอีกกว่า 24 ล้านคน ที่เสี่ยงต่อการเป็นคนจนหลายมิติ

เผยดัชนีความจนหลายมิติ(MPI) คนไทย"จน-เสี่ยงจน"เกือบครึ่งประเทศ
สศช. รายงาน "ดัชนีความยากจนหลายมิติ" หรือ MPI ระบุคนจนหลายมิติของไทยในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ลดลงกว่าครึ่ง แต่ความยากจนยังเป็นประเด็น"ท้าทาย" แม้สัดส่วนจะลดลง แต่คนจนมีมากถึง 7.17 ล้านคน และมีคนเสี่ยงเป็นคนจน "หลายมิติ" อีก 24.3 ล้านคน รวม 2 กลุ่มเกือบครึ่งประเทศจากประชากรในปีเดียวกัน 66.05 ล้านคน

ตีกรอบสถาบันการเงินปล่อยกู้ ต้องเป็นธรรม-รับผิดชอบลูกหนี้
ธปท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม เพิ่มประสิทธิภาพช่วยเหลือลูกหนี้ กระตุกพฤติกรรมมีวินัยทางการเงิน มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนให้กับสถาบันการเงินและธุรกิตสินเชื่อ ต้องรับผิดชอบต่อการปล่อยสินเชื่อ

ลูกหนี้ยื่นขอต่ำเป้า ขยายเวลา "คุณสู้ เราช่วย"
รัฐบาลขยายเวลา โครงการ “คุณสู้ เราช่วย“ ช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและเอสเอ็มอี จากกำหนดเดิมสิ้นสุด 28 ก.พ. ขยายถึง 30 เม.ย. พร้อมกับดึง Non-bank อัก 2 รายเข้าร่วมโครงการ คือ อิออนธนสินทรัพย์และเมืองไทยแคปปิตอล ขณะที่ผู้ยื่นขอยังไม่ถึงครึ่งจากเป้าหมาย

“คุณสู้ เรา (ควร) ช่วย (อย่างไร?)” เปลี่ยนมุมคิด...พิชิตหนี้อย่างยั่งยืน
เป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้นาน และเป็นหนี้ล้นพ้นตัว คือสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของคนไทยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ โดยไตรมาส 2 ของปี 2567 หนี้ครัวเรือนไทยทรงตัวอยู่ในระดับสูงถึง 89.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่คาดว่าจะไม่สร้างรายได้

คนไทยหนี้ท่วม มาจากรายได้ไม่พอ ต้องกู้นอกระบบ
นโยบายแก้หนี้ "คุณสู้ เราช่วย" เป็นเพียงมาตรการระยะสั้น แต่ยังไม่ตอบโจทก์มากพอในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ปัญหาใหญ่มาจากรายได้ไม่เพียงพอ แม้มีมาตรการช่วเหลือ ลูกหนี้ยังไม่สามารถกลับสู่ภาวะปกติได้ รัฐบาลควรดำเนินการระยะยาวและมีฐานข้อมูลเพียงพอ เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด

ตอบข้อสงสัยพักหนี้รายย่อย “คุณสู้ เราช่วย” ลูกหนี้ได้อะไร?
โครงการ "คุณสู้ เราช่วย" เป็นมหกรรมแก้หนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจ SMEs ด้วยการตัดเงินต้น พักดอกเบี้ย 3 ปี และปิดจบหนี้ แต่โครงการนี้มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ขึ้นกับประเภทของลูกหนี้ ดังนั้นยังมีข้อสงสัยอีกมากเกี่ยวกับเงื่อนไขและลูกหนี้จะได้อะไร และได้ประโยชน์จริงหรือ?

เช็กเงื่อนไข"คุณสู้ เราช่วย" มหกรรมแก้หนี้รายย่อย เริ่มลงทะเบียน 12 ธ.ค.
“คุณสู้ เราช่วย” โครงการแก้หนี้รายย่อย 2.1 ล้านบัญชี ยอดหนี้รวม 8.9 แสนล้านบาท ทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้ธุรกิจขนาดเล็ก SMEs โดยจะลดต้นและพักดอกเบี้ยนาน 3 ปี เปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค. 67

ยืดเวลาชำระหนี้ต้มยำกุ้ง สิ่งที่ต้องแลกกับอุ้มหนี้รายย่อย
รัฐบาลเล็งลดนำส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟู FIDF ของธนาคารพาณิชย์ เพื่อชดเชยการพักดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้บ้าน รถยนต์ และธุรกิจ ที่เป็นหนี้เสียไม่เกิน 1 ปี ล่าสุด ธปท.เผยกำลังหาข้อสรุปที่ชัดเจนกับกระทรวงการคลัง ยอมรับลดส่งเงินเข้ากองทุนฯกระทบยืดจ่ายหนี้จากวิกฤตต้มยำกุ้งตั้งแต่ปี 40

แก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ต้องใช้นโยบายเพิ่มรายได้
“ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย” เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่พูดถึงกันมาก โดยแง่ของเศรษฐกิจมหภาค วัดจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ดังนั้นในหลายประเทศจึงมีกระบวนการลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) หรือ Debt deleveraging ซึ่งแต่ละประเทศมีวิธีการต่างกัน และล่าสุดรัฐบาลพยายามหามาตรการลดหนี้

คนไทยชำระหนี้ได้ลดลง บีบกู้เงินนอกระบบมากขึ้น
หนี้ครัวเรือนไทยไตรมาส 2/67 ลดต่ำสุดครั้งแรกในรอบเกือบ 5 ปี จากสถาบันการเงินเข้มปล่อยงวดสินเชื่อ ดูผิวเผินอาจเป็นเรื่องดี แต่อีกด้านความสามารถชำระหนี้ของคนไทยกำลังลดลง หลังปริมาณหนี้เสียเริ่มสูงขึ้น ปัจจัยทั้งหมดอาจบีบให้ลูกหนี้หันไปกู้เงินนอกระบบมากขึ้น ซึ่งจะสร้างปัญหาให้เศรษฐกิจในระยะยาว

SMEs เผชิญวิกฤติหนี้ เอ็นพีแอลพุ่ง 20%
เครดิตบูโร กางข้อมูลหนุนมาตรการแก้หนี้ของรัฐบาล ระบุหนี้ครัวเรือนรวม 13.6 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 0.5% ขณะที่หนี้เสียพุ่งเป็น 1.2 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 8.8% สินหนี้เสียจากสินเชื่อรถยนต์ บัตรเครดิต ไม่ขยับ แต่หนี้เอสเอ็มอี (SMEs) พุ่ง 20%

มาตรการอุ้มลูกหนี้รายย่อย สร้างภาระมากกว่าตัวเงิน
มาตรการ "ลดภาระหนี้ของลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก" หรือ มาตรการกึ่งพักหนี้ สำหรับสินเชื่อบ้าน-รถยนต์-เอสเอ็มอี กำลังเพิ่มความเสี่ยงให้กับประเทศ ไม่ใช่ความเสี่ยงเรื่องเม็ดเงินที่ต้องเข้าไปใช้ในมาตรการ แต่เป็นความเสี่ยงจากการสร้างวัฒนธรรมเบี้ยวหนี้ หรือ Moral Hazard ที่จะส่งผลกระทบระยะยาว

พักดอกเบี้ยรายย่อย ช่วยลูกหนี้ "บ้าน-รถ-เอสเอ็มอี"
ลูกหนี้รายย่อยเฮ! สมาคมธนาคารจับมือภาครัฐ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ สำหรับลูกหนี้รายย่อย สินเชื่อบ้าน รถยนต์ และเอสเอ็มอีขนาดเล็ก ที่มีปัญหาชำระหนี้ หากร่วมมาตรการตามเงื่อนไขจะยกเว้นดอกเบี้ย

เช็กกองทุนลดหย่อนภาษีปี 67 รายได้ปีละล้านไม่เสียภาษี
กองทุนลดหย่อนภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือนในปี 2567 จะได้ลดหย่อนสูงสุดเท่าที่เคยมีมา เนื่องจากรัฐบาลปรับเกณฑ์กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (ESG) ใหม่ ลงทุนได้ถึง 300,000 บาทเมื่อรวมกับเพดานกองทุนลดหย่อนภาษีเดิมไม่เกิน 500,000 บาท ทำให้ลดหย่อนได้สูงสุด 800,000 บาท คนรายได้ปีละล้านแทบไม่เสียภาษี

ดอกเบี้ยกำลังขาลง จากเศรษฐกิจชะลอ-การเงินโลก
กนง.ปรับลดดอกเบี้ย 0.25% ทำให้ตลาดมองว่าแบงก์ชาติกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากการเมือง หากประเมินจากเหตุผลในการปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้อาจจะต่างไปจากเดิมบ้าง เพราะทิศทางเศรษฐกิจแทบไม่เปลี่ยน แต่ทิศทางการเงินโลกและแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ทำให้ทิศทางดอกเบี้ยในประเทศกำลังเข้าสู่ขาลง

กนง.ลดดอกเบี้ย 0.25% ครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี
มติ กนง.ลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี เหลือ 2.25% ต่อปี มองสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ และช่วยบรรเทาภาระหนี้ครัวเรือน พร้อมจับตาหนี้เสียอย่างใกล้ชิด ปฏิเสธเจอแรงกดดันจากการเมืองให้ลดดอกเบี้ย ขณะที่สำนักวิจัยระบุลดดอกเบี้ยสวนทางตลาด

ก่อหนี้มากเกินตัวเป็นภาระสังคมในอนาคต
“หนี้” เป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดสรรทรัพยากรระหว่างปัจจุบันและอนาคต ทำให้เรามีทรัพยากรที่สมดุลระหว่างเวลามากขึ้น แต่หากสร้างหนี้มากเกินไปก็จะนำไปสู่ “ปัญหาหนี้” ที่จะส่งผลให้คนหรือสังคมมีความเป็นอยู่ที่แย่ลงในระยะยาว

นโยบายหวังผลระยะสั้น ทำสังคมไทยติดกับดักหนี้
ผู้ว่าธปท.มองปัญหาหนี้ของประเทศรุนแรงขึ้น เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ การแก้ปัญหาต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย และต้องขจัดอคติเพื่อหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน วิจารณ์นโยบายรัฐบาลที่ผ่าน ๆ มา มุ่งเน้นเห็นผลระยะสั้น ไม่คำนึงผลระยะยาว เป็นตัวซ้ำเติมวิกฤติหนี้ยืดเยื้อและแก้ไขยากขึ้นในอนาคต

เศรษฐกิจไทยยังไหว กนง.ไม่รีบลดดอกเบี้ย แต่ห่วงหนี้เสียปูด
รายงานประชุม กนง. ส่งสัญญาณไม่รีบปรับลดอัตราดอกเบี้ย ประเมินเศรษฐกิจไทยขยายตัวเข้าสู่ระดับศักยภาพ และเงินเฟ้อขยับเข้ากรอบล่างเป้าหมายปลายปี 67 แต่กังวลหนี้เสียเริ่มขยายวงไปยังกลุ่มรายได้สูง พร้อมเฝ้าระวังกระทบเศรษฐกิจ

ลูกหนี้ผิดนัดพุ่ง แบงก์ขยับตั้งสำรอง 5.1 หมื่นล้านบาท
ธปท.เผยสถานการณ์หนี้ไทยยังแย่ต่อเนื่อง ตัวเลขหนี้เสีย หรือ NPL ในไตรมาส 2 ปี 67 ปรับเพิ่มขึ้นทั้งระบบ โดยเฉพาะหนี้เสียกลุ่มบัตรเครดิตและบ้านที่ขยับขึ้นมากสุด พร้อมจับตามการชำระหนี้ธุรกิจ SMEs และหนี้ครัวเรือน คาดอาจหนุนให้หนี้เสียทยอยเพิ่มขึ้นอีก

กนง.ผวาหนี้เสีย ฉุดเศรษฐกิจไทย มึนลงทุนเอกชนทรุด
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% ต่อเนื่อง มองเศรษฐกิจไทยยังขยายตัว แต่จับตาใกล้ชิดสถานการณ์หนี้เสียที่แย่ลง หวั่นกระทบเศรษฐกิจประเทศ

เศรษฐกิจไทยอาการหนัก หนี้เสียขยับขึ้นทั้งระบบ
หนี้เสียไทยยังคงเป็นปัญหาที่เรื้อรังต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แต่ดูเหมือนจะไม่ดีขึ้น ล่าสุดข้อมูลเครดิตบูโร เผยหนี้เสียไตรมาส 1 ปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้นทั้งระบบภาคธุรกิจ และบุคคคลธรรมดา

หนี้ครัวเรือน-สังคมสูงวัย ฉุดเศรษฐกิจไทยโตต่ำ
ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยพูดกันมานาน แต่ยังไม่มีรัฐบาลไหนแก้ไขได้ เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว รัฐบาลในแต่ละยุคก็มักจะใช้มาตรการกระตุ้นระยะสั้น แต่จากสถานการณ์หลังโควิด-19 หลายประเทศพื้นตัวเร็ว แต่ไทยยังย่ำแย่ สะท้อนให้เห็นปัญหารุนแรงขึ้นจากปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงและสังคมสูงอายุ ฉุดบริโภคในประเทศ

ส่องประเทศพัฒนาแล้ว ทำไมหนี้ครัวเรือนไทยจึงน่ากลัว
หนี้ครัวเรือนกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของไทย เพราะสูงเกิน 90% ต่อจีดีพีมานานหลายปี และส่วนใหญ่เป็นหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งบั่นทอนการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาว ในขณะที่หากไปดูบางประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนา แม้มีหนี้ครัวเรือนระดับสูง แต่เป็นหนี้ที่ลงทุนเพื่ออนาคต

หนี้ครัวเรือนลด "ทางเทคนิค" ต่ำกว่า 91% จากจีดีพีโต
หนี้ครัวเรือนในไตรมาสแรกปีนี้จะปรับลดลงเล็กน้อยจากระดับ 91% เพราะจีดีพีขยายตัว แต่ปัญหายังคงอยู่ เพราะหากระดับที่ทำให้เศรษฐกิจยั่งยืนแล้ว สัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะต้องไม่เกินระดับ 80% ของจีดีพี

แก้หนี้ทั้งระบบ ไม่มีอะไรใหม่
การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2566 แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามรณรงค์ว่าเป็นมาตรการ "แก้หนี้ทั้งระบบ" แต่หากใครที่ติดตามมาตรการแก้ปัญหาของรัฐบาลก่อนหน้านี้ ก็จะพบว่าแทบไม่มีอะไรใหม่ เพราะล้วนแต่เป็นมาตรการเดิม ๆ บางมาตรการเป็นเรื่องที่หน่วยงานรัฐดำเนินการอยู่แล้ว