นโยบายแก้หนี้ "คุณสู้ เราช่วย" เป็นเพียงมาตรการระยะสั้น แต่ยังไม่ตอบโจทก์มากพอในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ปัญหาใหญ่มาจากรายได้ไม่เพียงพอ แม้มีมาตรการช่วเหลือ ลูกหนี้ยังไม่สามารถกลับสู่ภาวะปกติได้ รัฐบาลควรดำเนินการระยะยาวและมีฐานข้อมูลเพียงพอ เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด
“ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย” เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่พูดถึงกันมาก โดยแง่ของเศรษฐกิจมหภาค วัดจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ดังนั้นในหลายประเทศจึงมีกระบวนการลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) หรือ Debt deleveraging ซึ่งแต่ละประเทศมีวิธีการต่างกัน และล่าสุดรัฐบาลพยายามหามาตรการลดหนี้
หนี้ครัวเรือนไทยไตรมาส 2/67 ลดต่ำสุดครั้งแรกในรอบเกือบ 5 ปี จากสถาบันการเงินเข้มปล่อยงวดสินเชื่อ ดูผิวเผินอาจเป็นเรื่องดี แต่อีกด้านความสามารถชำระหนี้ของคนไทยกำลังลดลง หลังปริมาณหนี้เสียเริ่มสูงขึ้น ปัจจัยทั้งหมดอาจบีบให้ลูกหนี้หันไปกู้เงินนอกระบบมากขึ้น ซึ่งจะสร้างปัญหาให้เศรษฐกิจในระยะยาว
เครดิตบูโร กางข้อมูลหนุนมาตรการแก้หนี้ของรัฐบาล ระบุหนี้ครัวเรือนรวม 13.6 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 0.5% ขณะที่หนี้เสียพุ่งเป็น 1.2 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 8.8% สินหนี้เสียจากสินเชื่อรถยนต์ บัตรเครดิต ไม่ขยับ แต่หนี้เอสเอ็มอี (SMEs) พุ่ง 20%
“หนี้” เป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดสรรทรัพยากรระหว่างปัจจุบันและอนาคต ทำให้เรามีทรัพยากรที่สมดุลระหว่างเวลามากขึ้น แต่หากสร้างหนี้มากเกินไปก็จะนำไปสู่ “ปัญหาหนี้” ที่จะส่งผลให้คนหรือสังคมมีความเป็นอยู่ที่แย่ลงในระยะยาว
ผู้ว่าธปท.มองปัญหาหนี้ของประเทศรุนแรงขึ้น เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ การแก้ปัญหาต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย และต้องขจัดอคติเพื่อหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน วิจารณ์นโยบายรัฐบาลที่ผ่าน ๆ มา มุ่งเน้นเห็นผลระยะสั้น ไม่คำนึงผลระยะยาว เป็นตัวซ้ำเติมวิกฤติหนี้ยืดเยื้อและแก้ไขยากขึ้นในอนาคต
ธ.ก.ส. สรุปนโยบายพักหนี้เกษตรกรระยะแรก มีเกษตรกรขอเข้าร่วม 1.85 ล้านราย จากเกษตรกรผู้มีสิทธิ 2.1 ล้านคน รวมมูลหนี้ 2.6 แสนล้านบาท
ธปท.เผยสถานการณ์หนี้ไทยยังแย่ต่อเนื่อง ตัวเลขหนี้เสีย หรือ NPL ในไตรมาส 2 ปี 67 ปรับเพิ่มขึ้นทั้งระบบ โดยเฉพาะหนี้เสียกลุ่มบัตรเครดิตและบ้านที่ขยับขึ้นมากสุด พร้อมจับตามการชำระหนี้ธุรกิจ SMEs และหนี้ครัวเรือน คาดอาจหนุนให้หนี้เสียทยอยเพิ่มขึ้นอีก
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% ต่อเนื่อง มองเศรษฐกิจไทยยังขยายตัว แต่จับตาใกล้ชิดสถานการณ์หนี้เสียที่แย่ลง หวั่นกระทบเศรษฐกิจประเทศ
สศช.รายงานเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 67 ขยายตัว 2.3% แต่คาดทั้งปีเติบโตลดลงเหลือ 2.8% มีแรงกดดันจากหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง สถาบันการเงินเข้มงวดสินเชื่อ ขณะที่ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอ
AMRO มองนโยบายการเงินไทยเหมาะสม แต่แนะให้ลดการขาดดุลการคลัง ด้วยการปฏิรูปจัดเก็บภาษี รองรับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และต้องปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพในระยะยาว ทำให้ตรงจุดและตามแผนที่วางไว้
หนี้ครัวเรือนกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของไทย เพราะสูงเกิน 90% ต่อจีดีพีมานานหลายปี และส่วนใหญ่เป็นหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งบั่นทอนการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาว ในขณะที่หากไปดูบางประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนา แม้มีหนี้ครัวเรือนระดับสูง แต่เป็นหนี้ที่ลงทุนเพื่ออนาคต
คนไทยกำลังเผชิญปัญหาในวัยเกษียณ เนื่องจากไม่มีความพร้อม โดยครัวเรือนที่มีผู้ใกล้วัยเกษียณเกิน 50 ปีและรายได้ต่ำมีสัดส่วนมากถึง 42% ต้องพึ่งพารายได้อื่น โดยเฉพาะผู้มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 50,000 บาท
หนี้ครัวเรือนในไตรมาสแรกปีนี้จะปรับลดลงเล็กน้อยจากระดับ 91% เพราะจีดีพีขยายตัว แต่ปัญหายังคงอยู่ เพราะหากระดับที่ทำให้เศรษฐกิจยั่งยืนแล้ว สัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะต้องไม่เกินระดับ 80% ของจีดีพี
มุมมอง ผู้ว่า ธปท. กับแรงปะทะทางการเมือง เป็นเรื่องปกติของธนาคารกลางทุกแห่ง โดยรัฐบาลส่วนใหญ่จะมีมุมมองแค่ระยะสั้นไม่คำนึงผลข้างเคียง พร้อมยอมรับว่าการที่นายกรัฐมนตรี นั่งควบตำแหน่ง รมว.คลัง ถือเป็นความท้าทายในการทำงานร่วมกัน
นโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ยังมีข้อถกเถียงในหลายประเด็นถึงเหตุผลและความจำเป็น แต่เบื้องหลังข้อถกเถียงต่อนโยบายแจกเงินดิจิทัลในครั้งนี้ คือ ฐานคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลย้ำว่าเศรษฐกิจ "วิกฤต" จำเป็นต้องมีการกระตุ้น ในขณะที่ฝ่ายค้านอย่างพรรคก้าวไกลมองว่ายังไม่ถึงขั้นวิกฤต
เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง แถลงความคืบหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หลังจากมีความล่าช้าจากที่คาดการณ์ไว้และเกิดกระแสวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นการแถลงในรายละเอียดครั้งแรกของนายเศรษฐาและยืนยันว่ารัฐบาลจะดำเนินการนโยบายนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ