ยกเครื่องปรับแผน แก้ปัญหา PM 2.5 แบบยั่งยืน
วันที่ 16 ต.ค. 2566 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง คณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ โดยมี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เป็นประธานคณะกรรมการ และมีกิตติรัตน์ ณ ระนอง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานคณะกรรมการ มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นกรรมการ พร้อมเห็นชอบ มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ปี 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ทบบทวนมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน บรรเทาและแก้ไขปัญหามลพิษอันเกิดจาก PM 2.5
- ยกระดับเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ปี 2567
- เสนอให้มีกลไกการบริหารจัดการทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่
- กลไกการบริหารจัดการระดับพื้นที่ในรูปแบบศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่งหมอกควัน และฝุ่นละอองในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ
มาตรการ แก้ฝุ่น PM 2.5 คุมเชิงพื้นที่ – ปิดป่าจุดเสี่ยง
- กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการแก้ปัญหา เน้นพื้นที่เผาซ้ำซาก 50%
- ลดการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรลงให้ได้ร้อยละ 50 หรือ 3.25 ล้านไร่จากปี 2566 ที่มีพื้นที่เผาไหม้ 66% หรือ 6.5 ล้านไร่ ทั้งใน 10 ป่าอนุรักษ์ และ 10 ป่าสงวนแห่งชาติ ด้วยการทำแนวกันไฟ และแนวกันคน
- จัดระเบียบการเก็บหาของป่า อนุญาตเฉพาะคนในพื้นที่ โดยต้องผ่านการลงทะเบียนรายบุคคลในพื้นที่
- ปิดป่าเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง
- ให้จัดการเชื้อเพลิงในช่วงเวลาที่เหมาะสม ตั้งจุดเฝ้าระวังเพื่อกระจายกำลังเจ้าหน้าที่เฝ้าป่า โดยเน้นป่าอนุรักษ์ต้องมีจุดตรวจและจุดสกัดเพื่อไม่ให้เกิดการลักลอบเผาป่า และใช้หมู่บ้านเครือข่ายดับไฟป่าหรืออาสาสมัครพิทักษ์อุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชรวมดับไฟป่า
- ลดจำนวนวันที่ฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานต้องลดลงเป็นรายภาค เช่น 17 จังหวัดภาคเหนือ จาก 40% เป็น 30% ขณะที่ กทม.-ปริมณฑล และ ภาคกลาง ลดลงจาก 20% เป็น 5% ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 10% เป็น 5%
มาตรการที่มาพร้อมกับ ‘การบังคับใช้กฎหมาย’
- บังคับใช้มาตรฐานน้ำมันยูโร 5 อย่างเป็นทางการ 1 มกราคม 2567 ในเมืองใหญ่
- มีมาตรการตรวจอย่างเข้มข้น ทั้งการเพิ่มจุดตรวจสอบ ตรวจจับควันดำให้ครอบคลุมพื้นที่วิกฤต เข้มงวดวินัยการจราจร ใช้อัตราโทษสูงสุด
- ดำเนินการเชิงรุกในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ห้ามไม่ให้มีการเผาเด็ดขาด
- ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน และจัดตั้งศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PHEOC) ในทุกระดับ
- ยกระดับการเจรจาให้เข้มข้นจากระดับภูมิภาคอาเซียนไปสู่ระดับทวิภาคี และใช้เงื่อนไขทางการค้า ใช้การสื่อสารเชิงรุกแจ้งเตือน และตั้งคณะกรรมการแห่งชาติ เพื่อสั่งการระดับชาติสู่ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดแบบถาวร
แจ้งเตือนประชาชน – ประกาศ WFH ลดฝุ่นรายวัน
กทม. มีการแจ้งเตือนในระกับท้องถิ่น และลดฝุ่นจากแหล่งกำเนิด ไม่ว่านะเป็นจากการจราจร การก่อสร้าง หากจำนวนวันและฝุ่นเกิน 15 เขต อยู่ในระดับสีแดง จะให้มีมาตรการทำงานที่บ้าน (Work From Home) โดยมีแนวทางการแจ้งเตือน 4 ระดับ-ส่ง SMS ถึงประชาชน ดังนี้
- ระดับที่ 1 รายงานประจำวัน
ให้รายงานสถานการณ์และผลการคาดการณ์ปริมาณ PM 2.5 ทุกวันของช่วงเวลา 14.00 น. เพื่อให้ประชาชนได้ทราบแนวทางการปฏิบัติตัวผ่านช่องทางเฟซบุ๊กของศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) และสื่อต่างๆ - ระดับที่ 2 รายงานประจำสัปดาห์
ให้รายงานการพยากรณ์สถานการณ์ฝุ่น 7 วันล่วงหน้า เพื่อให้ประชาชนสามารถวางแผนล่วงหน้าในการปฏิบัติตัวช่วงอาทิตย์นั้น โดยจะเป็นการรายงานร่วมกัน 4 หน่วยงาน คือ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ว่าราชการจังหวัด และกรมประชาสัมพันธ์ - ระดับที่ 3 รายงานกรณีพิเศษเมื่อมีเหตุการณ์วิกฤติ
หากสถานการณ์ PM 2.5 เข้าขั้นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีเหตุการณ์สำคัญ เช่น ปัญหาหมอกควันข้ามแดนเข้ามามีผลกระทบต่อประเทศไทย จะให้ ศกพ. รายงานสถานการณ์ต่อประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบและแนวทางการปฏิบัติตน - ระดับที่ 4 กรณีมีประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ
จะให้สื่อสารและจัดเสวนา ศกพ.จะเชิญนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆมาให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนผ่านช่องทางต่างๆ นอกจากนี้ให้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อเพิ่มการแจ้งเตือนประชาชนในระบบ SMS Alert มาใช้สำหรับแจ้งเตือนประชาชนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด
- พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- พ.ร.บ.ความหลากหลายทางชีวภาพ
แหล่งอ้างอิง
- https://www.mnre.go.th/oops/th/news/detail/165728/
- https://cado.mnre.go.th/th/news/detail/169850
- https://cado.mnre.go.th/th/news/detail/169852
- https://www.thaipbs.or.th/news/content/333665